โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เตือนภัย! ผู้ปกครอง ฝืนใจลูก ถ่ายรูปลงโซเชียล ดันเจอคุกคามออนไลน์เพียบ

Khaosod

อัพเดต 15 มี.ค. 2564 เวลา 13.23 น. • เผยแพร่ 15 มี.ค. 2564 เวลา 13.02 น.
คิดก่อนถ่าย (1)
เตือนภัย! ผู้ปกครอง ฝืนใจลูก ถ่ายรูปลงโซเชียล ดันเจอคุกคามออนไลน์เพียบ

ผู้ปกครอง บังคับลูก ถ่ายรูปลงโซเชียล ดันเจอคุกคามออนไลน์เพียบ ข้อแนะนำ ผู้ปกครองควรเคารพสิทธิ์ในร่างกายลูก หากละเมิดผิดกฎหมาย-มีโทษ

เมื่อวันที่ 15 มี.ค.64 โซเชียลมีเดียทวิตเตอร์ มีการแชร์ภาพบันทึกหน้าจอของคลิปวิดีโอหนึ่ง ที่เป็นภาพเยาวชนหญิง ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้ปกครองของเยาวชนคนดังกล่าว เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์จากชาวเน็ตอย่างหนักว่ามักจะบังคับฝืนใจลูก ให้ถ่ายภาพหรือคลิปวิดีโอ และให้เยาวชนคนดังกล่าวแต่งกายที่โตเกินวัย เพื่อที่ผู้ปกครองจะนำภาพไปลงโซเชียลมีเดีย เนื่องจากเยาวชนคนดังกล่าว มีหน้าตาที่สวยน่ารัก ทำให้มีชาวเน็ตชื่นชอบและติดตามเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าชาวเน็ตจะทักท้วงให้ผู้ปกครองระมัดระวัง และเคารพสิทธิในร่างกายของบุตรสาว แต่ผู้ปกครองของเยาวชนคนดังกล่าว กลับเพิกเฉยต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ และยังคงลงรูปภาพและคลิปวิดีโอของบุตรสาวอย่างต่อเนื่อง แต่ต่อมาเกิดการคุกคามเกี่ยวกับเพศในโซเชียลมีเดียเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเยาวชนคนดังกล่าวได้เติบโตจนเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว ทำให้ชาวเน็ตได้พยายามเรียกร้องให้ผู้ปกครองหยุดละเมิดสิทธิในร่างกายของบุตรสาวอีกครั้ง

Twitter

ทั้งนี้ ข้อแนะนำ สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่ต้องการลงรูปภาพ หรือสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับลูก มีข้อควรระวัง เช่น ควรเคารพสิทธิของเด็กในการจะโพสต์ภาพหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเด็ก ถ้าจำเป็นหรือตัดสินใจโพสต์ควรคัดสรรเนื้อหาที่เหมาะสมในการโพสต์

หากเด็กเริ่มรู้ความ ควรถามเด็กก่อนเผยแพร่ภาพ ว่าตัวเด็กเองชอบหรือไม่ชอบอย่างไร เด็กควรมีสิทธิในการอนุญาตก่อนโพสต์ และ ก่อนโพสต์ภาพหรือข้อมูลอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับตัวเด็ก ควรคำนึงถึงอนาคตของเด็ก และควรแทนความรู้สึกของตัวเองลงไป ว่าถ้าหากเป็นตัวเองจะชอบโพสต์นั้นหรือไม่เมื่อโตขึ้น

YouTube

ทั้งนี้ ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเด็กแก่สาธารณะ ควรตั้งค่าให้เป็นส่วนตัว หรือตั้งค่าให้เห็นเฉพาะกลุ่ม ผู้ที่เห็นข้อมูลหรือโพสต์ที่เกี่ยวกับเด็กควรเป็นคนที่ไว้ใจได้ เช่น ญาติ คนรอบข้าง ควรละเว้นการเผยแพร่ข้อมูลให้กับบุคคลแปลกหน้า

สำหรับประเทศไทย มี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ที่ใช้มามากกว่า 10 ปี ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เช่น มาตรา 22 การคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก มาตรา 23 ที่บัญญัติถึงบทบาทของผู้ดูแลเด็กในการพัฒนาและการปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ มาตรา 26 ที่บัญญัติถึงการห้ามมิให้บุคคลต่างๆ กระทำต่อเด็ก ทั้งการทำร้ายร่างกาย การไม่ดูแลจนเด็กมีความประพฤติไม่เหมาะสม ฝ่าฝืนถือเป็นความผิดที่มีโทษ เช่นเดียวกับมาตรา 27 ที่มีโทษทางอาญา หากเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กจนส่งผลกระทบต่อเด็ก นอกจากนี้ ยังเป็นความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อีกด้วย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 4

  • Sasi ♡♥
    แม่อยากถ่าย คงเพราะคนดูเยอะ รายได้โฆษณาดีค่ะ
    16 มี.ค. 2564 เวลา 07.00 น.
  • Achilles
    แม่จั้ดง่าว ติดโซเชียล
    15 มี.ค. 2564 เวลา 14.26 น.
  • 老頑童
    ไม่น่ามีลูก
    15 มี.ค. 2564 เวลา 14.11 น.
  • Thanatpoom Phookhaw
    แบบนี้พ่อแม่น่าจะมีความผิดด้วยนะครับ บังคับขืนใจบุตรตนเอง
    15 มี.ค. 2564 เวลา 13.44 น.
ดูทั้งหมด