โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

#แพทองธารโมเดล วิโรจน์ ฉะ คนเป็นนายกฯ ใช้ช่องว่างทางกฎหมายซะเอง

TOJO NEWS

อัพเดต 27 มี.ค. เวลา 15.45 น. • เผยแพร่ 27 มี.ค. เวลา 08.50 น. • Admin_Tojo
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

วิโรจน์ ชี้ปมการเสียภาษีของนายกฯ การใช้กลวิธีออกตั๋ว PN ทำให้รัฐเสียประโยชน์

ผู้สื่อข่าวโตโจ้นิวส์รายงานว่า นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

ตามกฎหมายแบบตรงไปตรงมา หากเจ้าของกิจการที่เป็นพ่อแม่ ต้องการโอนหุ้นของบริษัทให้กับลูก ส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ลูกที่เป็นผู้รับ จะต้องจ่าย ภาษีการรับให้ ในอัตรา 5%

การที่ลูกใช้กลวิธี ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋ว PN ที่ไม่มีกำหนดการชำระเงิน ไม่มีดอกเบี้ย ให้พ่อแม่ โดยอ้างว่านี่ไม่ใช่การรับให้ แต่เป็นการซื้อหุ้นแบบซื้อเชื่อ โดยที่ไม่มีกำหนดว่าจะจ่ายเงินกันเมื่อไหร่ ช่องว่างทางกฎหมายที่เรียกว่า แพทองธารโมเดล นี้ จำเป็นต้องมีการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการและเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสรรพากรอย่างเร่งด่วน เพราะถ้าแพรทองธารโมเดลถูกกฎหมาย ประชาชน ที่เขากำลังจะโอนหุ้น โอนทรัพย์สิน โอนที่ดินให้กับลูก ลูกที่เป็นผู้รับให้ จะได้ใช้วิธีการนี้ เพื่อหลีกเลี่ยง การจ่ายภาษีการรับให้ ซึ่งอาจจะทำให้กรมสรรพากร ไม่สามารถจัดเก็บภาษีการรับให้ได้อีกเลย

อะไรที่ถูกกฎหมายโดยชอบธรรม ผู้ที่กระทำจะสามารถทำได้อย่างเปิดเผย บอกต่อได้ ขยายผลรณรงค์ให้ประชาชนทำเพิ่มได้ ยิ่งประชาชนทำมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผลดีต่อสาธารณะ อย่างเช่น การลดหย่อนภาษี ด้วยการซื้อประกันชีวิต ซื้อ SSF RMF ThaiESG เป็นต้น เพราะยิ่งประชาชน ใช้สิทธิ์นี้ในการลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้น รัฐก็จะประหยัดงบประมาณในการดูแลประชากรในวัยเกษียณ และประชาชนที่ประสบกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รวมทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมการออม และการลงทุน ไม่ตราสารหนี้และตราสารทุนอีกด้วย

ที่ผมยืนยันว่า แพทองธารโมเดล เป็นช่องว่างทางกฎหมาย ก็เพราะว่า หลายคนที่บอกว่า ใครๆเขาก็ทำกัน แต่เราไม่แปลกใจเหรอครับว่า คนที่เขาทำแบบนี้กันไม่มีคนกล้าแสดงตัวเลย และการใช้ตั๋ว PN เพื่อเปลี่ยน จากการรับให้ ให้เป็นการซื้อหุ้น โดยที่ไม่มีกำหนดการจ่ายเงิน ไม่มีดอกเบี้ย แบบนี้ มองอย่างไรก็ไม่เกิดประโยชน์แก่สาธารณะ ในทางกลับกัน ยังเป็นการทำให้รัฐไม่สามารถจัดเก็บภาษีการรับให้ได้ ยิ่งทำมากเท่าไหร่ ประเทศชาติมีแต่จะเสียผลประโยชน์

อะไรที่เป็นช่องว่างทางกฎหมาย ที่มีผู้แสวงหาผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม คนที่เป็นนายกรัฐมนตรี หากพบช่องว่างสิ่งที่ควรทำคือ การเร่งรัดออกกฎหมาย หรือหามาตรการ ในการปิดช่องว่างทางกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียแก่รัฐ

ไม่ใช่การที่นายกรัฐมนตรี กลับใช้ช่องว่างทางกฎหมายนั้น ในการตักตวงหาผลประโยชน์เสียเอง

การอธิบายต่อสังคมว่า นายกไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เพียงแค่ใช้ช่องว่างทางกฎหมายในการเลี่ยงจ่ายภาษี และปิดปากประชาชนด้วยประโยคที่ว่า "ดิฉันเสียภาษีมากกว่าคุณแน่นอน" ประชาชนผู้เสียภาษี เราสามารถยอมรับเหตุผลแบบนี้กันได้จริงๆ หรือครับ

#เพื่อไม่พลาดข่าวสารดีๆ อย่าลืมกดติดตามพวกเรา TOJO NEWS