นัก ปวศ.มอง ‘ครูกายแก้ว’ โยงป๊อปคัลเจอร์ ใครอยากเชื่อก็ไม่เสียหาย แต่ ‘ไม่เกี่ยว’ นครวัดนครธม
นับตั้งแต่รูปปั้น “ครูกายแก้ว” ที่มีรูปร่างกึ่งมนุษย์กึ่งนก มีปีก เล็บยาวสีแดง และเขี้ยวสีทอง หรือที่หลายคนรู้จักว่า “พ่อใหญ่ บรมครูผู้เรืองเวทย์” ติดคานสะพานลอยคนข้าม ถนนรัชดาภิเษกขาเข้า ก่อนถึงซอยรัชดาภิเษก 36 เล็กน้อย ทำให้การจราจรติดขัด จนถึงวันนี้ “สายมู (เตลู)” ที่ศรัทธาอยู่แล้ว หรือเพิ่งรู้จัก ได้ทวีความสนใจ “ครูกายแก้ว” มากยิ่งขึ้น
โดยเมื่อวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา มีพิธีบวงสรวงเบิกเนตร “ครูกายแก้ว” พร้อมพิธีบวงสรวงใหญ่ บริเวณแยกรัชดาตัดลาดพร้าว ซึ่งมีประชาชนสนใจจำนวนมาก ทำให้รถติดยาวเหยียด
ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ดร.วิราวรรณ นฤปิติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้แปล “เทวา มนตรา คาถา เกจิ : ไสยศาสตร์สมัยใหม่” เปิดเผยกับ “มติชนออนไลน์” ถึงพลังศรัทธา “ครูกายแก้ว” ว่า น่าจะเป็นเรื่อง “ป๊อปคัลเจอร์” มากกว่า
วงเล็บย่อยอีกว่า “เกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อ” ที่นำเรื่องบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเชื่อมโยงจินตนาการกับเรื่องเล่า ผูกโยงให้เป็นเรื่องเทพเทวดาที่บันดาลความมั่งคั่ง ความโชคดีให้กับคนที่กราบไหว้
“กระแสป๊อปคัลเจอร์ช่วงนี้นิยมบูชาเครื่องราง ของคลัง เพื่อความร่ำรวย โชคลาภ ทรัพย์สินเงินทอง อาชีพ คู่ครอง กำลังเป็นที่นิยม จึงคล้ายกับมาผสม ผูกโยงกับเรื่องเล่า สามารถเป็นไปได้ทั้งหมด จินตนาการออกมาเป็นรูปร่างหน้าตาแบบนี้ เป็นผู้ชายตัวใหญ่ มีปีก มีเขี้ยว” ดร.วิราวรรณกล่าว
ฉะนั้น กรณีที่เล่าต่อๆ กันว่า พระธุดงค์รูปหนึ่งไปทำสมาธิที่ปราสาทนครวัดนครธม ประเทศกัมพูชา ต่อมาได้มอบ “ครูกายแก้ว” ให้กับลูกศิษย์ กระทั่งมีการวาดภาพและหล่อขึ้นมาเป็นรูปร่างดังปัจจุบัน ดร.วิราวรรณจึงมองว่า คนที่เชื่อเรื่องนี้อาจนำมาเชื่อมโยงกันเอง เพราะยุคพระนคร คนนับถือศาสนาพุทธมหายาน และไม่ค่อยมีร่องรอยเรื่องแบบนี้เท่าไหร่
ดร.วิราวรรณกล่าวอีกว่า ส่วนตัวมองว่าไม่เสียหายหากมีการสร้างความเชื่อ หรือเทพเทวดาองค์ใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เหมือน “ครูกายแก้ว” ก็เพิ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น คล้ายกับในอดีตที่เราเคารพ นิยมบูชา “จตุคามรามเทพ” ก็เป็นไปตามยุคสมัยที่อาจลืมเลือนไปเมื่อเกิดจินตนาการใหม่ หรือเหมาะสมกับยุคสมัยมากกว่า
“ในอนาคตก็อาจเกิดขึ้น อาจมีครูกายอื่นๆ มาแทน คิดว่าไม่แปลกใจและไม่ใช่เรื่องเสียหาย ถ้ามองในเชิงวัฒนธรรมก็เป็นความนิยมในช่วงเวลานั้นๆ” ดร.วิราวรรณกล่าว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ความเห็น 39
แฟรงค์
BEST
เพ้อเจ้อ เลอะเทอะ
14 ส.ค. 2566 เวลา 14.58 น.
nu007
BEST
มันเป็นวิธีการหาเงินของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งลองนึกดูว่าถ้ามีคนเช่ามากๆเข้าจะทำเงินได้มหาศาลคล้ายๆกับยุคจตุคามปั่นกระแสจนถึงขีดสุดแล้วผู้จำหน่ายก้อกอบโกยกินกันอิ่มหมีพีมัน
14 ส.ค. 2566 เวลา 17.17 น.
ไปกันใหญ่.....เกิดมาไม่เคยได้ยิน
ยุคนี้ยิ่งเละเทะ.....พวกหัวเสทั้งหลาย...งมงายสุดขั้ว
14 ส.ค. 2566 เวลา 15.16 น.
δɳ੨੨૫
ที่พึ่งคนโง่
14 ส.ค. 2566 เวลา 16.13 น.
Punnittha
ทำมัยเอาไปไว้ตรงนั้นอ่ะคะไม่สมควรและไม่เหมาะสมเลยที่นั้นมีแต่องค์เทพ(ไม่มาม่านะ)
14 ส.ค. 2566 เวลา 14.17 น.
ดูทั้งหมด