โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

Jurassic world เมืองไทย พบกับไดโนเสาร์กว่า 500 สายพันธุ์ในสวนนงนุชพัทยา

TOJO NEWS

อัพเดต 08 มิ.ย. 2566 เวลา 16.43 น. • เผยแพร่ 08 มิ.ย. 2566 เวลา 09.43 น. • tareeya

สำหรับใครที่กำลังหาสถานที่เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายในเมืองกรุง หรือกำลังหาสถานที่เที่ยวให้เด็ก ๆ บทความนี้จะพาคุณไปเพลิดเพลินกับ "หุบเขาไดโนเสาร์" ที่อยู่ภายในสวนนงนุชพัทยา

"สวนนงนุชพัทยา" ได้การยอมรับให้เป็น 1 ใน 10 สวนสวยที่สุดในโลก จากหลายเว็บไซต์ดังทั่วโลก ด้วย “ฝีมือคนไทย” ของ “คุณกัมพล ตันสัจจา” ประธานสวนนงนุชพัทยา ถ่ายทอดประสบการณ์จากการเรียนรู้ ฝึกฝน พัฒนา อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการเดินทางไปต่างประเทศเพื่อดูสวนต่าง ๆ จากทั่วโลก นำมาพัฒนาสรรสร้างด้วยจินตนาการของท่าน โดยคำนึงถึงทุกคนในครอบครัว ต้องมีความสุขเมื่อได้มาที่แห่งนี้

สไปโนซอรัส (Spinosaurus)
สไปโนซอรัส (Spinosaurus)
  • สไปโนซอรัส (Spinosaurus) ไดโนเสาร์ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับจระเข้ พบซากดึกดำบรรพ์ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา ตัวอย่างที่พบครั้งแรก เชื่อว่าพวกมันยืนและเดินด้วย 2 ขา และใช้ชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาภายหลังกว่า 100 ปี ได้ศึกษาและค้นพบชิ้นส่วนต่าง ๆ มากขึ้น ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในส่วนขาหลัง จึงพบว่าพวกมันมีขาหลังที่สั้นมาก จึงคิดว่า มันไม่น่าเดินด้วย 2 ขา แต่ใช้ 4 ขาแทน และอาจใช้ชีวิตในน้ำเป็นหลัก ล่าสุดได้ค้นพบส่วนหางของมัน ซึ่งมีลักษณะเป็นครีบ คล้ายกับใบพาย ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสำหรับการอยู่ในน้ำเป็นหลัก

เมื่อปี พ.ศ. 2559 สวนนงนุชพัทยา ได้ทำการปรับแต่งพื้นที่บริเวณรอบข้างสวนฝรั่งเศสใหม่ในลักษณะของหุบเขา เพื่อที่จะตกแต่งด้วยต้นไม้ และปูนปั้น จึงทดลองปั้นไดโนเสาร์ชนิดแรกขึ้นในสวน คือ ไทรเซอราทอปส์ ก่อนจะมีเพิ่ม 2 -3 ตัว ผลปรากฏว่านักท่องเที่ยวให้ความสนใจเข้ามาถ่ายรูป และชื่นชอบในงานฝีมือปูนปั้นไดโนเสาร์เป็นอย่างมาก

อัลโลซอรัส (Allosaurus)
อัลโลซอรัส (Allosaurus)
  • อัลโลซอรัส Allosaurusไดโนเสาร์นักล่า ขนาดทั่วไปมีความยาวประมาณ 8.5 เมตร (29 ฟุต) สูงจากพื้นถึงไล่ประมาณ 3.2 เมตร แต่ก็มีพบขนาดใหญ่ที่สุดมากกว่า 10 เมตร มีหน้าตาคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ มีปุ่มเขาขนาดเล็กเหนือดวงตา ขากรรไกรทรงพลังมีฟันเรียงราย

ด้วยสาเหตุนี้ทำให้สวนนงนุชพัทยา ได้สร้างเป็น ”หุบเขาไดโนเสาร์” สัตว์ล้านปี ด้วยความมุ่งมั่น ภายใต้ความคิดที่ว่า “ไดโนเสาร์ทุกตัว ทุกสายพันธุ์ จะต้องเหมือนของจริง” ประหนึ่งอยู่ในโลกของไดโนเสาร์ของจริง หุบเขาไดโนเสาร์แห่งนี้ได้ทำการเปิดให้ชมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2559

โอวิแรปเตอร์ (Oviraptor)
โอวิแรปเตอร์ (Oviraptor)
  • โอวิแรปเตอร์ เป็นไดโนเสาร์ที่มีหงอนเป็นเอกลักษณ์ ปากของมันออกแบบมาเพื่อจิกกินไข่ ยาว 2 เมตร พบที่มองโกเลีย มีการค้นพบฟอสซิลของมันอยู่กับลูกในรังของมัน ในท่ากกไข่ หลายชุด เป็นหลักฐานที่ระบุว่ามันเป็นไดโนเสาร์ที่เลี้ยงลูกของมันอย่างดี ฟอสซิลในท่า

หุบเขาไดโนเสาร์ (Dinosaur Valley) เรียกได้ว่าไฮไลต์สำคัญของที่นี่ เพราะมีการปั้นไดโนเสาร์เสมือนจริงกว่า 500 สายพันธุ์ เป็นพื้นที่สำหรับคนหลงรักไดโนเสาร์ เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย เรียกว่าเป็นการจำลองพื้นที่ Jurassic World ให้มาอยู่ในเมืองไทยกันเลยทีเดียว

Triassic ไทรแอสซิก
Triassic ไทรแอสซิก
  • Herrerasaurus มีชีวิตอยู่ในช่วงต้น ของยุค Triassicพบในทวีฟอเมริกาใต้ เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในยุคไทรแอสสิค ความ ยาว 5 เมตร คล้ายนก ฟันมีลักษณะแหลมคม คอสั้น กระดูกต้นขายาว กว่ากระดูกหน้าแข้ง มีนิ้วเท้า 4 นิ้ว กระดูกสะโพกชิ้นหน้าเอียงไปทางด้านหลังค่อนข้าง คล้ายกับไดโนเสาร์ที่มีสะโพกเหมือนนก ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าเฮอร์รีรา

การเข้ามาที่หุบเขาไดโนเสาร์แห่งนี้ให้บรรยากาศเสมือนจริงมาก เพราะนอกจากรูปร่างของไดโนเสาร์แล้ว ยังมีเสียงที่เปล่งคำรามออกมาได้สมจริงสุด ๆ

บรรยากาศภายในหุบเขาไดโนเสาร์
บรรยากาศภายในหุบเขาไดโนเสาร์

สำหรับใครที่มาพัทยา อย่าลืมแวะมาเที่ยว "สวนนงนุช" ที่จะพาคุณไปท่องเที่ยวกับสวนธรรมชาติ และเรียนรู้กับสายพันธุ์ไดโนเสาร์ สามารถเดินท่องเที่ยวเองได้แบบเต็มอิ่ม หรือใช้บริการรถชมรอบสวนของที่นี่ได้เลย สวนนงนุชพัทยาเปิดให้บริการทุกวันไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา 8.00 น. – 18.00 น.

สามารถติดตามข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ nongnoochpattaya

ถ้าชอบบทความนี้อย่าลืมแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้อ่าน

และอย่าลืมกดติดตาม Tojo News เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสาร ดี ๆ

https://today.line.me/th/v2/publisher/102232

ติดต่อลงบทความโฆษณาได้ที่ 064 973 0361

#TojoNews #กัมพลตันสัจจา #nongnoochpattaya #DinosaurValley

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0