สัมภาษณ์พิเศษ นักศึกษาไทยคนเดียว ที่ได้ทุนจาก “แอปเปิ้ล”ในปีนี้ ประสบการณ์ 2ปีแต่เขียนแอป 2วัน มาดูว่า 18ชม.แห่งความพยายามตอบแทนอะไรน้องฟิล์มบ้าง?
หลังจากคนแรกเมื่อปี 2015 ได้ดีไปแล้ว ทุนแอปเปิ้ลมีที่นั่งแค่ 350 คนคัดเลือกจากทั่วโลก หมายถึงการเป็น 1 ใน 350 นักพัฒนาที่ได้รับทุนไม่ใช่เรื่องง่าย น้องฟิล์ม หรือ นายพัชรพล จอกสมุทร ทักทายซีอย่างเป็นมิตร แววตาตื่นเต้นหน่อยๆ ฉายแววว่า เค้ารู้สึกประหลาดใจและ ภูมิใจอย่างมากกับการได้รับทุนของแอปเปิ้ลเพื่อร่วมงาน WWDC 2019 ที่สหรัฐอเมริกาในปีนี้ แน่นอน การได้เป็น”คนไทย”คนเดียวที่ถูกคัดเลือกได้ทุนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องที่น้องฟิล์มวางแผนมาแล้วระยะใหญ่ๆก่อนส่งผลงาน
ความตั้งใจของน้องฟิล์ม แฝงด้วยอุดมการณ์อยากทำค่าย iOS สอนเด็กมัธยมปลายเขียนแอป หลังค้นพบว่า พื้นฐานเด็กเขียนโปรแกรมแบบนี้ได้น้อย ทั้งที่ “การเขียนโค้ดเป็นเรื่องสนุก”เป็นกระบวนการฝึกการคิดขั้นพื้นฐาน ซึ่งแอปที่เป็นผลงานที่ทำให้ได้ทุนนั้นในเวลาในการจัดทำแค่ 2 วันแบบไม่หลับไม่นอน โดยเน้น”การทำเกมส์เข้าถึงกลุ่มนักเรียน” เกมที่ส่งคือ โปรแกรมสอนเด็กเขียนโค้ดด้วยการลากปลาวาฬเดินเลี้ยวซ้ายขวา
ถึงจะยังเรียนอยู่ แต่ก็มีประสบการณ์เขียนแอปมือาชีพมาหลากหลาย มีประสบการณ์ 2ปี ในการเขียน CODING ที่จริงก็ตามกติกาของแอปเปิ้ลว่าคนส่งผลงานเข้าประกวดต้องเป็นบุคลากรSTEM ต้องเป็นนักเรียน ในขณะที่น้องฟิล์มถนัดเขียนแอปประเภทการศึกษา และยังเรียนพวกคอร์สออนไลน์ฟรีเองเป็นการศึกษาเพิ่มเติมเสมอ เช่นใน APPLE iBOOK : intro to Swfit Playground , STAMFORD COURSE ENGLISH Ver. โดยการเรียนในห้องเรียนเป็น”การปูพื้นฐานที่สำคัญเท่านั้น”มันอาจจะไม่ได้ใช้ทางตรงแต่เสริม”การเรียนรู้ต่อของเราให้เอาไปใช้ได้เร็ว”ตัวเราต้องศึกษาขวนขวายนอกห้องเรียนเองด้วย
น้องฟิล์มมองว่า “เทรนด์ต่อไปคือ การทำแพทเทิร์นโปรโมชั่นเฉพาะตัวคน” การเรียนรู้ผู้ใช้เพื่อจัดทำ”โปรโมชั่นแบบไม่ซี้ซั้วะ” ตรงคน ไม่ใช่แค่ตรงกลุ่ม รวมทั้ง เรื่อง “ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน” (PRIVACY) สำคัญมากเพราะเรามักกลัวข้อมูลตัวเองหลุดออกไป ซึ่งขัดกับโลก AI/Machine Learning เพราะในมุมของนักพัฒนายิ่งมี “ข้อมูลมาก” เหมือน”ทองในโลกไอที” ยิ่งทำอะไรได้เยอะมาก “นักพัฒนาต้องไม่ส่งข้อมูลผู้ใช้ออกไปนอกเครื่อง ต้องเขียนแอปทำงานในตัวเครื่องเป็นคนจัดการเอง” สิ่งที่พอรู้ได้คือ ไม่ใช่นาย ก.ซื้ออะไร แต่เป็น “กลุ่มเป้าหมายแบบนี้ ชอบซื้อของแบบนี้คู่กับแบบนี้”
พี่สอนน้อง : ฟิล์มฝากบอกน้องๆทุกคนที่อยากเจริญรอยตามว่า “การเรียนรู้จากประสบการณ์ คือการลงมือทำ หรือลองทำดู เขียนเล่นก็ได้ประสบการณ์ไม่ต้องลงแอปสโตร์ก็ได้ อย่ากลัวว่าจะทำออกมาไม่เป็นชิ้นเป็นอัน” ลองทำดูอาจจะชอบและ จัดประกายไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆให้เกิดกับวงการนักพัฒนาไทยได้ สิ่งที่น้องฟิล์มเอาดีทาง การทำแอปบน iOS เป็นเพราะว่า คนเขียนแอปบนiOS มีน้อยกว่าเยอะเห็นโอกาส เพราะคนเขียนแอปแอนดรอยด์เยอะมาก แอนดรอย์บางกติกาทำได้ในแอนดรอยด์ทำไม่ได้ใน iOS… แถมต้องคิดรอบคอบมากเพราะแอนดรอย์มีหลายยี่ห้อและมีหลายขนาดจอ เวลาเขียนแอปบนแอนดรอยด์ “เหมือนการเข้าป่า” ในขณะที่เขียนแอป iOS เหมือน “เข้าสวนสนุก” ปิดอยู่ในนั้นแต่ชัดว่าต้องทำอะไร