โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

โชคชะตาพลิกผันของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อไทย

Thairath Money

อัพเดต 22 มี.ค. เวลา 03.03 น. • เผยแพร่ 22 มี.ค. เวลา 02.48 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

เศรษฐกิจโลกในไตรมาส 2/2025 กำลังเข้าสู่ภาวะ "Reversal of Fortune" หรือโชคชะตาที่พลิกผันชัดเจนขึ้น โดยสหรัฐฯ ซึ่งเคยเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับการชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่จีนแสดงสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนขึ้น

หลังผ่านปีใหม่มา 1 เดือน สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจการลงทุนเริ่มเป็นลบ ผลทั้งจากภาพเศรษฐกิจโลกล่าสุดเริ่มชะลอตัว และสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น โดยในส่วนเศรษฐกิจโลกนั้น ดัชนี PMI โลกในเดือน ม.ค.2568 แสดงให้เห็นการชะลอตัวของกิจกรรมทางธุรกิจลงต่ำสุดในรอบ 1 ปี

สหรัฐซึ่งพึ่งพิงการบริโภคถึง 70% ของ GDP เริ่มเห็นสัญญาณเปราะบางขึ้น ยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. ดิ่งหนักสุดรอบ 2 ปี โดยหดตัว -0.9% ลดลงใน 9 จาก 13 หมวดสินค้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้บริโภคที่กำลังเผชิญเงินเฟ้อและดอกเบี้ยสูง ทำให้หันไปพึ่งบัตรเครดิตและการก่อหนี้มากขึ้น เศรษฐกิจเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ Mild Stagflation

ในทางตรงกันข้าม จีนซึ่งเคยเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจอย่างหนักกำลังแสดงสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น ขับเคลื่อนโดยนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเข้มข้นผ่านการขาดดุลการคลังที่สูงที่สุดในรอบสามทศวรรษ รัฐบาลจีนได้ตั้งเป้าหมาย GDP ที่ 5% พร้อมทั้งออกพันธบัตรพิเศษระยะยาวมูลค่า 1.3 ล้านล้านหยวน

สิ่งที่ทำให้เกิด reversal of fortune ได้แก่ นโยบายการค้าของทรัมป์มีความเสี่ยงมาแรงและเร็วเกินคาด ล่าสุด มาตรการภาษีศุลกากรที่ทรัมป์ประกาศแล้ว ได้แก่

  • ประกาศเก็บภาษีนำเข้าจากเม็กซิโกและแคนาดา 25% ก่อนจะชะลอการเก็บไป 1 เดือน
  • เก็บภาษีนำเข้าจากจีน 10% ในสินค้าทุกชนิด ทำให้จีนประกาศเก็บภาษีสินค้าสหรัฐตอบโต้ที่อัตรา 10-15%
  • ประกาศขึ้นภาษีเหล็กและอลูมิเนียม 25% กับทุกประเทศ
  • เตรียมประกาศมาตรการภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ในวันที่ 2 เม.ย.

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนกำลังทวีความรุนแรง อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์จาก Goldman Sachs และ INVX ระบุว่าแม้ทรัมป์จะดำเนินนโยบายการค้าที่เข้มงวดต่อไป แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังมีโอกาสหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยได้ หากผลกระทบรวมของนโยบายภาษีไม่เกิน -1.1% ของ GDP ซึ่งยังต่ำกว่าการคาดการณ์การเติบโตที่ 1.9% ในปีนี้

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

ด้านเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงด้านลบที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ไตรมาส 4/2567 ขยายตัวเพียง 3.2% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 3.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ปรับฤดูกาล) ขยายตัวเพียง 0.4% ชะลอลงจาก 1.2% ในไตรมาสก่อน สะท้อนความเปราะบางของเศรษฐกิจ

ความเสี่ยงสำคัญคือนโยบาย Reciprocal Tariffs ของทรัมป์ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อการส่งออกของไทย เนื่องจากปัจจุบันไทยมีการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐในอัตราเฉลี่ย 8.2% ขณะที่สหรัฐเก็บภาษีสินค้าไทยเพียง 2.4% ดังนั้น สหรัฐอาจเพิ่มภาษีอีก 5.8% เพื่อให้เท่าเทียมกับไทย ซึ่งหากเกิดขึ้น อาจทำให้ GDP ไทยลดลง 0.5-0.6% และทำให้เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวเหลือเพียง 2.0% จากประมาณการเดิม 2.5% โดยคาดว่าการส่งออกจะหดตัว 1.0%

สงครามการค้าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปสหรัฐ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องจักรกล รวมถึงสินค้าเกษตรต่าง ๆ

ในส่วนของกลยุทธ์การลงทุน เราแนะนำ Selective Buy โดยในช่วงสั้นเรามอง SET จะฟื้นตัวได้บ้าง หลังดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงแรง 16%YTD แย่สุดในตลาดหุ้นทั่วโลกแล้ว เนื่องจากถูกกดดันทั้งจากกังวลสงครามการค้าและขาดปัจจัยหนุนในประเทศ อย่างไรก็ดีมองว่าแรงขายในภาพรวมน่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากมีความชัดเจนของมาตรการลดหย่อนภาษีกองทุน ThaiESGX ทั้งนี้ เราแนะนำกลยุทธ์การลงทุนแบบ "Selective Buy" ใน 3 ธีมหลักที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว:

  • หุ้นที่คาดเป็นเป้าหมาย ThaiESGX จาก SET50 ที่น่าสนใจ ได้แก่ ADVANC BBL BDMS CPALL PTT ส่วนหุ้น SET100 ที่น่าสนใจ ได้แก่ AP BCH BTG
  • หุ้นปันผลคุณภาพดี ที่จ่ายปันผลต่อเนื่องอย่างน้อย 20 ปีขึ้นไป มี SETESG Rating ตั้งแต่ระดับ A-AAA แนะนำ AP KTB BBL SPALI KBANK
  • หุ้น Undervalued จาก SET100 ที่มีคุณสมบัติฐานะการเงินแข็งแกร่ง Valuation ไม่แพง และคาดกำไรปี 2568 ยังเติบโตได้ แนะนำ CPALL BDMS MTC MINT BTG

ขอให้นักลงทุนโชคดี

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : Thairath Money
- LINE Official : Thairath