โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

พบแล้ว วัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายจากโรงไฟฟ้าปราจีน

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

อัพเดต 19 มี.ค. 2566 เวลา 06.52 น. • เผยแพร่ 19 มี.ค. 2566 เวลา 13.36 น.

จากกรณีที่ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า วัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 สูญหายจากโรงไฟฟ้าที่ปราจีนบุรี ของบริษัทเนชั่นแนลเพาเวอร์ แพลนท์ 5 A บริเวณนิคมอุตสาหกรรม 304 อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี โดยสารกัมมันตภาพรังสีซีเซียม 137 จะถูกห่อหุ้มด้วยสารตะกั่วล้อมรอบ และหุ้มด้วยท่อเหล็กกลมขนาด 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว น้ำหนัก 25 กิโลกรัมอีกชั้น ใช้เป็นเครื่องมือวัดระดับของขี้เถ้าในไซโลของโรงไฟฟ้า ได้ติดตั้งใช้งานตั้งแต่ปี 2538

พบแล้ว วัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายจากโรงไฟฟ้าปราจีน
พบแล้ว วัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายจากโรงไฟฟ้าปราจีน

ล่าสุด วันนี้ (18 มี.ค. 66) มีรายงานว่า พบแล้ว ซีเซียม-137 โดยพบอยู่โรงหลอมเหล็ก ต.หนองกี่ ปราจีน ถูกบดอัด เตรียมหลอมในช่วงเย็นนี้ (19 มี.ค. 66) ถือว่าเป็นความโชคดีที่พบเจอก่อน ตอนนี้เจ้าหน้าที่สั่งปิดกั้นพื้นที่แล้ว

สำหรับวัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าปราจีน ก่อนหน้านี้มีการให้ข้อมูลเพื่อเตือนว่า หากใครพบเห็น "ห้ามจับหรือเข้าไปใกล้" เด็ดขาด

ลักษณะทางภายภาพของ "แท่งแคปซูลที่ห่อสาร"

  • แท่งทรงกระบอก
  • ทำด้วยโลหะสูง 8 นิ้ว
  • เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว
  • ฐาน ทำด้วยแผ่นโลหะทรงสี่เหลี่ยมด้านเท่าเชื่อมติดอยู่
  • น้ำหนัก 25 กิโลกรัม

ลักษณะทางภายภาพของ "สารซีเซียม-137"

  • เป็นของแข็งคล้ายผงเกลือ
  • สามารถฟุ้งกระจายได้ เมื่อแตกออกจากแคปซูลที่ห่อหุ้มไว้
พบแล้ว วัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายจากโรงไฟฟ้าปราจีน
พบแล้ว วัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายจากโรงไฟฟ้าปราจีน

อันตรายที่จะเกิดขึ้นจาก "สารซีเซียม-137"

  • หากสัมผัสในช่วงเวลาสั้นๆ อาจจะไม่มีผลต่อร่างกายที่ชัดเจน
  • แต่หากสัมผัสในระยะเวลานานและปริมาณสูงขึ้นจะเริ่มมีผลต่อร่างกาย
  • ทำให้เกิดผื่นแดงตามผิวหนัง ผมร่วง แผลเปื่อย
  • อาจทำให้ผิวหนังของผู้สัมผัสเกิดอาการเน่าภายใน 3 วัน ในกรณีที่รังสีมีความเข้มข้น
  • หากสัมผัสในปริมาณสูงและยาวนาน อาจเกิดพังผืดที่ปอด เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เกิดต้อกระจกขึ้นในนัยน์ตา ซึ่งอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0