โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ลูกจะอยู่กับใคร… ในวันที่ต้องหย่าร้าง?

Mood of the Motherhood

อัพเดต 23 ก.ย 2563 เวลา 18.02 น. • เผยแพร่ 24 ก.ย 2563 เวลา 00.30 น. • Features

เมื่อความสัมพันธ์ของคุณพ่อคุณแม่เริ่มสั่นคลอน และจำเป็นที่จะต้องยุติบทบาทการเป็นสามีภรรยาด้วยการเลิกราและหย่าร้าง แต่หน้าที่การเป็นพ่อแม่ไม่มีวันสิ้นสุดลงได้ คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วลูกล่ะ ควรจะอยู่กับใคร…

สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการตัดสินใจแยกทางกันของคุณพ่อคุณแม่ก็คือลูก เพราะไม่ว่าพ่อหรือแม่ต่างก็รักและเป็นห่วงลูกไม่น้อยไปกว่ากัน

แต่อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรเปิดศึกแย่งชิงลูก หรือแสดงความขัดแย้งและพยายามเอาชนะกันให้ลูกเห็น แต่ควรร่วมมือกันประคับประคองจิตใจ ของลูก หาข้อตกลงที่ลงตัว และมองถึงประโยชน์ที่ลูกจะได้รับเป็นที่ตั้งเสมอ

และนอกเหนือจากการตกลงกันเองระหว่างคุณพ่อคุณแม่แล้ว หน้าที่การรับผิดชอบลูกหลังจากคุณพ่อคุณแม่แยกทางหรือหย่าร้างกันยังถูกระบุไว้ในข้อกฎหมาย เพื่อให้ทุกอย่างมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนี้

กรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้จะมีชื่อคุณพ่อในสูติบัตรของลูก แต่ก็จะถือว่าเป็นบุตรนอกสมรสหรือบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายของคุณพ่อ และลูกจะตกเป็นบุตรชอบด้วยตามกฎหมายของคุณแม่เพียงผู้เดียว (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546)

กรณีที่พ่อแม่จดทะเบียนสมรสและหย่าร้างกันด้วยความสมัครใจ

คุณพ่อและคุณแม่สามารถใช้อำนาจปกครองลูกร่วมกันได้ และต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือ ระบุผู้มีอำนาจปกครองลูก แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถตกลงกันได้ จะตกเป็นหน้าที่ของศาลเป็นผู้ชี้ขาด เพื่อป้องกันปัญหาแย่งชิงตัวเด็กในภายหลัง การมีสิทธิในตัวลูกอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น หากคุณพ่อหรือคุณแม่ มีพฤติกรรมเป็นไปในทางที่ไม่เหมาะสม ศาลจะมีอำนาจในการสั่งให้เปลี่ยนผู้ปกครองได้ หลังจากหย่าร้างกันแล้ว ฝ่ายที่ไม่ได้เป็นผู้เลี้ยงดูลูกไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ คุณแม่ หรือปู่ย่าตายายจะยังคงมีสิทธิในการติดต่อกับเด็กได้ตามสมควร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นสำคัญ ค่าอุปการะเลี้ยงดูลูก หากไม่ได้ตกลงกันในสัญญา สามารถให้ศาลเป็นผู้กำหนดได้ โดยศาลจะคำนึงผลประโยชน์ของเด็กเป็นที่ตั้ง

กรณีที่มีการจดรับรองบุตร

การที่จดรับรองบุตร จะทำให้กรณีที่พ่อและแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่พ่อมีความประสงค์ที่จะให้ลูกเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จะทำให้ลูกมีสิทธิ์ได้รับมรดกจากคุณพ่อได้

แต่ถ้าหากว่าคุณพ่อต้องการที่จะเป็นผู้เลี้ยงดูลูกด้วยตัวเอง ต้องร้องขอเปลี่ยนอำนาจการปกครองจากคุณแม่มาเป็นคุณพ่อเสียก่อน (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1566 (5))

โดยศาลจะพิจารณาตามสมควร โดยอิงจากผลประโยชน์ที่ลูกจะได้รับจากคุณพ่อหรือคุณแม่ คนใดคนหนึ่งมากที่สุด

สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือลูกจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของแม่เสมอ ไม่ว่าจะมีการจดทะเบียนสมรสหรือไม่ แต่ลูกจะเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของพ่อ ก็ต่อเมื่ออยู่ในเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

มีการจดทะเบียนสมรสเกิดขึ้น ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังจากที่ลูกเกิด มีการจดทะเบียนรับรองบุตร โดยคุณพ่อต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักงานเขต ภายใต้ความความยินยอมของคุณแม่และลูกด้วย ศาลพิพากษาว่าลูกเป็นบุตรชอบด้วยตามกฎหมาย ในกรณีที่คุณพ่อต้องการมีสิทธิ์โดยชอบธรรมในการเลี้ยงดูบุตร แต่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อ 1 และ 2 ได้ ก็สามารถยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาและตัดสินให้พ่อเป็นผู้มีสิทธิ์เลี้ยงดูลูกได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0