โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2566 ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

อัพเดต 16 ก.พ. 2566 เวลา 02.08 น. • เผยแพร่ 16 ก.พ. 2566 เวลา 08.52 น.

วิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2566 ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น

ทางด้านกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ที่มีรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์สามารถต่อภาษีรถออนไลน์ได้ เพื่อความสะดวกและลดการแอร์อัด จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปติดต่อที่สำนักงานขนส่งฯ ก็สามารถต่อภาษีรถได้ผ่านทางเว็บไซต์ e-Service และทางแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ดังต่อไปนี้

วิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2566

รถยนต์ที่สามารถต่อภาษีออนไลน์ จะต้องผ่านการตรวจสอบสภาพรถจากสถานตรวจสอบสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อน ได้แก่ รถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก และรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล จดทะเบียนไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก เป็นรถจดทะเบียนจังหวัดใดก็ได้ และรถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี โดยสามารถชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน สามารถยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านออนไลน์ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยวิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

  • ทางเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
  • ทางแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
  • วิธีจ่ายภาษีผ่านทางเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th มีขั้นตอน ดังนี้

เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th

ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่)

Log-in เข้าสู่ระบบ

ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ที่เมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”

กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี

กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกันตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (กรณี พ.ร.บ.ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน) หรือสามารถซื้อพ.ร.บ.ได้จากระบบ

เลือกช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง ได้แก่

1. ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ตกับธนาคาร/สถาบันการเงิน)

2. ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (เป็นผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA , Master Card)โดยธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารกรุงเทพ เป็นผู้ให้บริการรับตัดบัตร

3. ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือ Application ของธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ

กรณีชำระเงินยังไม่สำเร็จ/ยังไม่ได้ชำระเงิน สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”

สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลข กรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงิน โดยคลิกที่ ปุ่มเครื่องหมายพิมพ์ จะแสดงรายละเอียดการชำระเงินเป็นราย Reference

กรมการขนส่งทางบก จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่กรอกผ่านหน้าเว็บไซต์

เจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ

วิธีจ่ายภาษีแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax มีขั้นตอนดังนี้

แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax

ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น DLT Vehicle Tax สำหรับผู้ที่ใช้งานครั้งแรก

กรอกข้อมูลชื่อ-นามสกุล อีเมล เลขประจำตัวประชน และเบอร์โทรศัพท์ แล้วกดปุ่ม "กดเพื่อรับรหัส OTP"

กรอกรหัส OTP ที่ได้รับจากอีเมล แล้วกดยืนยัน

ตั้งรหัส PIN 6 หลัก

เมื่อลงทะเบียนเสร็จแล้ว กดเมนู "ชำระภาษีรถ"

เลือกรูปแบบชำระภาษี

กรอกข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชนหรือ เลขทะเบียนนิติบุคคลผู้ครอบครองรถ

เลือกประเภทรถที่ต้องชำระภาษีและ กรอกข้อมูลทะเบียนรถ

กรอกข้อมูลประกันภัยรถ (พ.ร.บ.)

เลือกรับเครื่องหมายการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ทั่วไปหรือตู้ kiosk เฉพาะในกรุงเทพมหานคร

เลือกช่องทางการชำระเงินได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ SCB Easy App และ QR ชำระเงิน

ต่อภาษีรถยนต์ช้าหรือขาดต่อทะเบียน มีความผิด โดนโทษอะไรบ้าง

หากต่อทะเบียนรถล่าช้า จะต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือนของค่าต่อทะเบียน ถ้าขาดต่อทะเบียนเกิน 3 ปี รถคันนั้นๆ จะถูกระงับการใช้งานทันที ต้องไปเสียค่าปรับย้อนหลังและทำเรื่องจดทะเบียนรถใหม่ โดยมีบทลงโทษดังต่อไปนี้

ขาดต่อทั้งทะเบียนและ พ.ร.บ. ถูกปรับ 20,000 บาท

รถไม่มี พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ใช้รถไม่จดทะเบียนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ถ้าใช้รถที่ไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

กรมการขนส่งทางบก ได้เปิดให้ต่อทะเบียนรถยนต์ หรือการต่อภาษีรถยนต์ แบบออนไลน์โดยผู้ใช้รถไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สำนักงานขนส่งทางบกอีกต่อไป ซึ่งง่าย สะดวก และประหยัดกว่า

ที่มา: กรมการขนส่งทางบก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น