โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

บางจาก-พันธมิตร มุ่งภารกิจศึกษา ‘หญ้าทะเล’ กักเก็บก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบ Blue Carbon

ไทยพับลิก้า

อัพเดต 04 ก.ค. 2565 เวลา 22.24 น. • เผยแพร่ 02 ก.ค. 2565 เวลา 13.52 น.

ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา การปลูกป่าไม่ว่าบนบกและชายเลนเข้าโหมด ‘คึกคัก’ เนื่องจากผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ปะทุหนักขึ้น อุตสาหกรรม-ธุรกิจทั่วโลกจึงหันมาทำซีเอสอาร์ หรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

แต่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเกินกว่าที่ป่าไม้ (Green Carbon) สามารถดูดซับคาร์บอนได้ทันตามความเปลี่ยนแปลง จึงมีการหาทางเลือกใหม่คือ ‘ระบบนิเวศทางทะเล’ หรือ Blue Carbon เพื่อชะลออุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น

หญ้าทะเลได้รับความสนใจมากขึ้น จนกระทั่งมีนักวิทยาศาสตร์-นักอนุรักษ์พยายามปลูกหญ้าทะเลเพิ่มการดูดซับและกักเก็บคาร์บอน แต่การปลูกหญ้าทะเลที่ได้ทดลองมาหลายปี ยังไม่ค่อยสำเร็จ เนื่องจากต้องอาศัยความรู้ความชำนาญในด้านต่างๆ ประกอบกับข้อมูลการศึกษาวิจัยที่มีมากเพียงพอ มิฉะนั้นแล้วหญ้าทะเลที่ปลูกไปอาจตายในภายหลัง

รายงานของ IUCN (International Union for Conservation of Nature) ระบุว่า หญ้าทะเลเป็นพืชกลุ่มเดียวที่อยู่ในทะเลเต็มตัวจึงมีความสามารถเฉพาะตัวในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าบนบกถึง 7-10 เท่า

เช่นเดียวกับรายงานจากสถาบัน Smithsonian อเมริกา ที่ระบุว่า แหล่งหญ้าทะเลดูดซับและกักเก็บคาร์บอนได้ดีเป็นอันดับ 2 รองจากระบบนิเวศทุนดรา (พบในบริเวณแถบอาร์กติกและและแอนตาร์กติกาและในหมู่เกาะแอนตาร์กติก) อย่างไรก็ตาม พื้นที่ทุนดรากำลังลดความสามารถในการกักเก็บเพราะอุณหภูมิเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้น้ำแข็งละลาย

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จึงสนับสนุนการดำเนินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แหล่งหญ้าทะเล เพื่อกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบ Blue Carbon โดยคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การลงนามความร่วมมือระหว่างกัน เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนี้ ซึ่งนำทีมโดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตลอดจนเครือข่ายอนุรักษ์ในพื้นที่ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งการแปลข้อมูลดาวเทียมและการใช้โดรนรูปแบบต่าง ๆ สำรวจทางอากาศ พร้อมกับการสำรวจภาคสนามและการดำน้ำประเมินศักยภาพของพื้นที่

เมื่อเทียบกับข้อมูลดาวเทียมช่วงปี พ.ศ. 2559-2560 และแผนที่แหล่งหญ้าทะเลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งปี พ.ศ. 2563 พบว่าแหล่งหญ้าทะเลลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหลักมาจากความผิดปกติของธรรมชาติซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์โลกร้อน (ลมแรงผิดปรกติ นํ้าทะเลร้อน ฯลฯ ที่ยังไม่สามารถสรุปได้) อย่างไรก็ตาม การลดน้อยลงของพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลทำให้เกิดพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลเพื่อดูดซับและกักเก็บคาร์บอน ที่ในอนาคตอาจสามารถนำมาใช้เป็นฐานคาร์บอนเครดิต

จากการสำรวจทั้งหมด 8 แหล่งทั่วเกาะหมาก/เกาะกระดาด พบแหล่งหญ้าทะเล 2 แห่งที่มีศักยภาพเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในขั้นต่อไป ได้แก่ แหล่งหญ้าทะเลที่อ่าวตาตุ่ม พื้นที่ 16,000 ตารางเมตร (10 ไร่) และแหล่งหญ้าทะเลที่เกาะกระดาด พื้นที่ 19,666 ตารางเมตร (12.3 ไร่) ทั้งสองพื้นที่ยังคงมีหญ้าทะเลอยู่ แต่ขนาดพื้นที่และความสมบูรณ์ลดน้อยลง ทำให้การฟื้นคืนในธรรมชาติอาจต้องใช้เวลานานมาก จึงมีความเป็นไปได้ในการเข้าไปช่วยฟื้นฟูในบริเวณนี้ โดยแหล่งหญ้าทะเลบริเวณด้านตะวันตกของเกาะกระดาด ได้รับการประเมินว่ามีศักยภาพสูงสุดในด้าน Blue Carbon

เมื่อเทียบกับข้อมูลดาวเทียมช่วงปี พ.ศ. 2559-2560 และแผนที่แหล่งหญ้าทะเลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งปี พ.ศ. 2563 พบว่าแหล่งหญ้าทะเลลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหลักมาจากความผิดปกติของธรรมชาติซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์โลกร้อน (ลมแรงผิดปรกติ นํ้าทะเลร้อน ฯลฯ ที่ยังไม่สามารถสรุปได้) อย่างไรก็ตาม การลดน้อยลงของพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลทำให้เกิดพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลเพื่อดูดซับและกักเก็บคาร์บอน ที่ในอนาคตอาจสามารถนำมาใช้เป็นฐานคาร์บอนเครดิต

1.แหล่งหญ้าทะเลบริเวณเกาะกระดาด (พื้นที่ 12.3 ไร่)

เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศที่เกาะกระดาด หญ้าทะเลลดน้อยกว่าในอดีต แต่ยังคงมีเหลืออยู่พอสมควร จึงเป็นพื้นที่มีศักยภาพในการฟื้นฟู ที่มาภาพ : คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศที่เกาะกระดาด หญ้าทะเลลดน้อยกว่าในอดีต แต่ยังคงมีเหลืออยู่พอสมควร จึงเป็นพื้นที่มีศักยภาพในการฟื้นฟู ที่มาภาพ : คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เกาะกระดาดเป็นเกาะที่มีแนวปะการังขนาดใหญ่มาก แนวปะการังที่อยู่ทางทิศเหนือกว้างถึง 1.5 กิโลเมตร แนวปะการังด้านตะวันตกที่พบหญ้าทะเลกว้าง 900 เมตร แหล่งหญ้าทะเลพบตั้งแต่ระยะ 200-500 เมตรจากชายฝั่ง จากการวิเคราะห์ภาพดาวเทียมในพ.ศ.2559-2560 พบแหล่งหญ้าทะเลเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 183,000 ตารางเมตร ถือเป็นแหล่งหญ้าทะเลใหญ่ที่สุดของจังหวัดตราด และเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่มีรายงานนับตั้งแต่การสำรวจแหล่งหญ้าทะเลในประเทศไทยเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2530 จึงถือเป็นแหล่งหญ้าทะเลถาวรที่น่าจะมีศักยภาพสูงสุดในบริเวณนี้ทั้งหมด
  • แม้ว่าแหล่งหญ้าทะเลของเกาะกระดาดจะมีความสมบูรณ์ลดลง แต่ยังเป็นแหล่งหญ้าทะเลใหญ่สุดและสมบูรณ์ที่สุดที่เหลืออยู่ในบริเวณนี้ และมีพื้นที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูขนาดใหญ่ แม้ว่าจะเข้าถึงพื้นที่ลำบากกว่าบางบริเวณในเกาะหมาก เนื่องจากต้องเดินทางมาทางเรือและอาจเป็นอุปสรรคในยามนํ้าลงตํ่า แต่มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จสูง

2.แหล่งหญ้าทะเลบริเวณอ่าวตาตุ่ม หรือเรียกกันอีกชื่อ อ่าวตาโล่ง (พื้นที่ 10 ไร่)

เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศที่อ่าวกระเบื้อง พบว่าหญ้าทะเลมีพื้นที่ลดน้อยลง แต่ยังคงมีหญ้าทะเลเหลืออยู่ ทำให้มีพื้นที่มีศักยภาพในการฟื้นฟู 16,000 ตารางเมตร ที่มาภาพ: คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศที่อ่าวกระเบื้อง พบว่าหญ้าทะเลมีพื้นที่ลดน้อยลง แต่ยังคงมีหญ้าทะเลเหลืออยู่ ทำให้มีพื้นที่มีศักยภาพในการฟื้นฟู 16,000 ตารางเมตร ที่มาภาพ: คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อ่าวตาตุ่มอยู่ทางตอนเหนือของเกาะหมาก ครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องไปจนถึงสะพานสู่ฝัน ลักษณะเป็นอ่าวเปิด ความยาว 3.7 กิโลเมตร แต่เนื่องจากมีแนวปะการังขนาดใหญ่ตลอดแนวชายฝั่ง ช่วยป้องกันคลื่นลมทำให้ข้างในค่อนข้างสงบ แนวปะการังบริเวณนี้กว้างมาก บางจุดมากถึง 2 กิโลเมตร ถือเป็นแนวปะการังกว้างที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และยังเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก
  • แหล่งหญ้าทะเลที่มีรายงานอยู่ห่างจากชายฝั่งจุดใกล้ที่สุด 150 เมตร การสำรวจในรายละเอียดใช้การบินโดรนที่ระดับความสูงต่าง ๆ ถ่ายภาพทั้งแนวดิ่งและแนวเฉียง เพื่อประเมินพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลประกอบการสำรวจภาคสนาม พบว่ามีพื้นที่ประมาณ 10,000 ตารางเมตร ลดน้อยลงจากพื้นที่ในอดีต (26,000 ตารางเมตร พ.ศ.2559) ทำให้มีพื้นที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล 16,000 ตารางเมตร (10 ไร่) โดยนับเฉพาะหย่อมหญ้าทะเลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ไม่รวมถึงหย่อมหญ้าทะเลขนาดเล็กอื่น ๆ ที่อยู่ห่างจากการเข้าถึงทางชายฝั่ง
  • แหล่งหญ้าทะเลในพื้นที่นี้ในปริมาณที่มากพอ และ ยังเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูจากภัยพิบัติตามธรรมชาติ และเป็นพื้นที่เข้าถึงได้และไม่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมมนุษย์มากนัก จึงจัดเป็นพื้นที่แหล่งหญ้าทะเลในระดับที่ควรมีการดำเนินการในขั้นต่อไป

ผลการสำรวจพบว่า แหล่งหญ้าทะเลมีความซับซ้อนมาก คาดว่ามีการสะสมคาร์บอนได้เป็นอย่างดี แต่จำเป็นต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ในรายละเอียด และเมื่อเทียบกับข้อมูลในอดีต พบว่าแหล่งหญ้าทะเลมีความเสถียรสูงมาก แสดงถึงการดูแลรักษาทะเลในพื้นที่ของประชาชน

ผศ. สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “สภาพความสมบูรณ์ของหญ้าทะเลมีประโยชน์ในด้านการกักเก็บคาร์บอนในระยะยาว มีส่วนสำคัญต่อแผนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังพบว่าแหล่งหญ้าทะเลมีความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำสูงมาก ทั้งปูม้า หอยจอบ ปลาชนิดต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด ช่วยสนับสนุนอาชีพประมงพื้นบ้านและการท่องเที่ยวในพื้นที่”

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบางจากฯ
นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบางจากฯ

ด้าน นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทบางจากฯ กล่าวว่า “วิกฤติโลกร้อนเป็นเรื่องที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวิกฤติเศรษฐกิจ จากการไปเข้าร่วมประชุม World Economic Forum 2022 เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีการให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) สู่พลังงานสะอาด โดยมีปัจจัยสำคัญคือ Green Economy หรือเศรษฐกิจสีเขียว

จากเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดที่สอดคล้องกับเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนในปีค.ศ. 2030 และ Net Zero ในปีค.ศ. 2050 จึงเป็นที่มาของการลงนามความร่วมมือพัฒนาพื้นที่และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสู่ Low Carbon Destination หมู่เกาะหมาก อ.เกาะกูด จ.ตราด

การสนับสนุนการปลูกหญ้าทะเลของกลุ่มบางจากฯ เป็นส่วนหนึ่งของแผน BCP Net (B = Breakthrough Performance, C = Conserving Nature and Society, P = Proactive Business Growth and Transition) ครอบคลุมทั้งแต่กระบวนการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างสมดุลทางระบบนิเวศและเชื่อมโยงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ผ่านการดูดซับคาร์บอนจากป่าและระบบนิเวศทะเล ตลอดจนการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจสีเขียว

นอกจากนี้ กลุ่มบางจากฯ ยังมีภารกิจอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ อาทิ การนำมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Winnonie ไปให้ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ทดลองใช้เพื่อศึกษาความเหมาะสมผ่าน อบต. เกาะหมาก รวมถึงสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ถุงมือและเสื้อที่ผลิตจากขวด PET รีไซเคิลมอบให้ทีมอาสาสมัคร Trash Heroes Koh Mak สำหรับเก็บขยะชายหาด และทีมงานวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านอ่าวนิด ใช้สำหรับกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูหญ้าทะเล รวมถึงมีการศึกษาความเป็นไปได้ของความร่วมมืออื่น ๆ เช่น โรงเรียน Net Zero จากการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เป็นต้น

ขณะที่ นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวว่า อพท. ต้องการผลักดันให้ “เกาะหมาก” เป็นพื้นที่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเป็นต้นแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม หรือ โลว์คาร์บอน เดสติเนชั่น (Low Carbon Destination) ด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมภาคการท่องเที่ยวให้น้อยกว่าแหล่งท่องเที่ยวโดยทั่วไป และยกระดับให้เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ Circular Economy มีแผนจัดการขยะการท่องเที่ยวของประเทศไทย

“สิ่งที่ อพท. กำลังดำเนินการที่เกาะหมากคือ ทำอย่างไรให้การปล่อยคาร์บอนจากภาคการท่องเที่ยวมีปริมาณที่ลดลง รวมไปถึงการหากิจกรรมการท่องเที่ยวที่จะช่วยดูดซับคาร์บอน เพื่อที่จะชดเชยคาร์บอนที่ถูกปล่อยจากกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะหมาก โดยใช้หลักคิดแบบตรงไปตรงมาว่าคาร์บอนถูกปล่อยที่ไหน ก็หากิจกรรมเพื่อดูดซับคาร์บอนที่นั่นเป็นลำดับแรก” นาวาอากาศเอก อธิคุณ กล่าว

ทั้งนี้ การดำเนินงานขั้นต่อไป จะวิเคราะห์ข้อมูลดูดซับ-กักเก็บคาร์บอน และทำการสำรวจเพิ่มเติม ตลอดจนวางแผนในการปลูกหญ้าทะเลโดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0