โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

งานวิจัยใหม่จากบราซิล กบ 'กรีดร้อง' เมื่อเครียด และเราก็ไม่เคยได้ยินพวกมัน

Environman

เผยแพร่ 23 เม.ย. เวลา 01.00 น.

กบกำลังกรีดร้อง และพวกเขาก็ไม่ได้ยิน งานวิจัยใหม่เผยให้เห็นว่ากบในป่าฝนแอตแลนติกของบราซิลสามารถส่งเสียงร้องที่มีความถี่สูงมากเมื่อพวกมันกำลังกลัวหรือเครียด แต่เป็นเสียงที่หูมนุษย์ไม่ได้ยิน

ป่าฝนของอเมริกาใต้เป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีเสียงดังตามธรรมชาติมากที่สุด พื้นที่แห่งนี้เต็มไปด้วยเสียงจากสัตว์นานาชนิดตั้งแต่ใหญ่ไปจนเล็ก ทั้งมองเห็นได้และหลบซ่อนจากสายตา แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ หูมนุษย์กลับได้ยินแค่บางส่วนเท่านั้น

งานวิจัยใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันชีววิทยาของมหาวิทยาลัย Campinas (IB-UNICAMP) ในรัฐเซาเปาโล ประเทศบราซิล ได้เปิดเผยว่าสัตว์ครึ่งบกครึ่งนี้อย่าง กบใบไม้เล็ก (The Leaf Little Frog: Haddadus binotatus) สัตว์ที่เราไม่เคยคิดว่าจะ ‘กรีดร้อง’ ได้ กลับส่งเสียงของมันออกมาอย่างต่อเนื่องในขณะที่ตกอยู่ในสภาวะเครียดจัด

“เนื่องจากความจริงที่ว่า บราซิลนั้นมีสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่หลากหลายที่สุดในโลก โดยมีการอธิบายไว้มากกว่า 2,000 สายพันธุื จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่พบว่ากบตัวอื่น ๆ ก็ปล่อยเสี่ยงที่ความถี่นเหล่านี้เช่นกัน” Mariana Retuci Pontes ผู้เขียนงานวิจัยร่วม กล่าว

ทีมวิจัยได้ทำการบันทึกเสียงต่าง ๆ ในธรรมชาติในระดับความถี่ที่มนุษย์ไม่ได้ยิน จากนั้นก็นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมที่ออกมาแบบพิเศษ พวกเขาพบว่าเสียงเหล่านั้นเกิดขึ้นในช่วงความถี่ระหว่าง 7 กิโลเฮิรตซ์ (kHz) ถึง 44 kHz (มนุษย์ได้ยินไม่เกิน 20 kHz ซึ่งจัดอยู่ในประเภทอัลตราซาวนด์)

แต่พวกเขาก็ประหลาดใจเมื่อพบว่าสัตว์ที่ปล่อยเสียงที่มนุษย์ไม่ได้ยินนั้นเป็นกบใบไม้ตัวเล็ก ๆ เท่านั้น เพื่อยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองขับขาหลังของกบเพื่อให้กบเข้าสู่โหมดป้องกันตัว และเลียนแบบการโจมตีของนักล่า จากนั้นก็บันทึกเสียงที่เกิดขึ้น

ทีมงานพบว่า ขณะที่โดนจับอยู่ กบจะทำท่าทางการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ด้วยการยกส่วนหน้าของลำตัว อ้าปากให้กว้าง และเหวี่ยงศีรษะไปด้านหลัง จากนั้นมันก็จะปิดปากบางส่วนและส่งเสียงออกมาตั้งแต่ช่วยคลื่นที่มนุษย์ได้ยิน (7-20 kHz) ไปจนถึงคลื่นอัตราซาวนด์ที่ไม่ได้ยิน (20-44 kHz)

ด้วยท่าทางทั้งหมดนี้ ทีมงานตั้งสมมติฐานว่านี่น่าจะเป็นเสียงกรีดร้องเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่มันขอให้ใครช่วยเหลือล่ะ?

“สัตว์นักล่าที่กินสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำบางชนิดเช่น ค้างคาว สัตว์ฟันแทะ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก สามารถเปล่งเสียงและได้ยินเสียงในความถี่นี้ ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถทำได้” Ubiratã Ferreira Souza ผู้เขียนงานวิจัยคนแรกกล่าว

“สมมติฐานประการหนึ่งของเราก้คือ การกรีดร้องนี้ตั้งใจส่งไปถึงสิ่งมีชีวิตบางกลุ่มที่มันควรจะทำให้นักล่ากลัวมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” Souza “เป็นไปได้ไหมที่การส่งเสียงร้อนนี้มีไว้เพื่อดึงดูดนกฮุกให้มาโจมตีงูที่กำลังจะกินกบ?”

พวกเขายังไม่แน่ใจ แต่ก็หวังว่าจะมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตอบคำถามดังกล่าวให้ได้

ที่มา

https://link.springer.com/article/10.1007/s10211-023-00435-3

https://www.iflscience.com/frogs-are-screaming-but-we…

https://www.eurekalert.org/news-releases/1040143

Photo : Henrique Nogueira

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0