โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แม่ค้าปราจีนครวญ พิษโควิด ทำรายได้หาย ร้านค้า-ร้านอาหารทยอยปิดตัว

Khaosod

อัพเดต 02 เม.ย. 2563 เวลา 23.43 น. • เผยแพร่ 02 เม.ย. 2563 เวลา 23.43 น.
แม่ค้า1

แม่ค้าปราจีนครวญ พิษโควิด-19 ทำรายได้หาย ร้านค้า - ร้านอาหาร ทยอยปิดตัว

เมื่อเวลา 01.40 น.วันที่ 3 เม.ย. ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ปราจีนบุรี รายงานบรรยากาศ ในเขตตัวเทศบาลเมืองปราจีนบุรี ย่านเศรษฐกิจ อำเภอเมือง จ.ปราจีนบุรี พบเงียบเหงา ร้านค้า - ร้านอาหาร พากันปิดตัวเงียบ

ผู้สื่อข่าวสำรวจต่อไปที่ตลาดผลไม้สี่แยกหนองชะอม ริมถนนสายสุวรรณศร (ปราจีนบุรี –นครนายก) ซึ่งเป็นตลาดผลไม้ขนาดใหญ่กว่า 50 ร้าน มีผลไม้นานาชนิดจำหน่ายตลอดทั้งวัน พบร้านค้าปิดร้านมากเกินครึ่งเหลือเปิดอยู่ 5 -6 ร้าน

ไม่พบนักท่องเที่ยว หรือ ผู้เดินทางแวะซื้อเลย ถนนเงียบสนิท หลังจากมี ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2 ) โดยเคอร์ฟิว ระหว่างเวลา 22.00 น. -04.00 น. ดังกล่าว ทั้งที่จะมีผลบังคับใช้ในวันนี้

ขณะที่ร้านอาหาร “ครัวจินดา” จำหน่ายอาหารอีสาน – อาหารป่ารสเด็ด เจ้าของร้านคือนางจินดา สิงห์ศิลา อายุ 53 ปี , นางประกาย คำวิพากษ์ อายุ 42 ปี หลานสาว เจ้าของร้าน กล่าวว่า “เมื่อก่อนเกิดวิกฤติโรคติดต่อโควิด -19 ร้านขายได้ ถึงหมื่นบาท /วัน อย่างไม่ได้เลยก็มี 4,000 – 5,000 บาท / วัน

หลังเกิดโรคติดต่อโควิด-19 รายได้ตอนนี้เหลือ 2,000 บาท - แทบจะไม่ได้ โดยได้ลดเด็กในร้านลงมา เจ้าของร้านทำเองเป็นแม่ครัว ส่วนตนคอยเสิร์ฟ – จัดอาหารตามที่ลูกค้าสั่ง เหลือเพียงสองน้าหลาน ช่วยกันสองคน ตอนนี้งดจ้างลูกจ้าง ให้ลูกค้ามาสั่งใส่ถุงนำกลับไปรับประทานที่บ้าน และหลังจาก 20.00 น.จะไม่มีลูกค้าแล้ว

ด้าน แม่ค้าจำหน่ายผลไม้ ตลาดหนองชะอม นายวินัย อ่อนหล้า อายุ 70 ปี และ นางดาหวัน อ่อนหล้า อายุ 60 ปี 2 สามี –ภรรยา กล่าวว่า จำหน่ายผลไม้ และ ของฝากที่ตลาดหนองชะอมมานานกว่า 30 ปี พ่อค้า –แม่ค้า ตลาดหนองชะอมส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของสวน นำผลผลิตจากสวนมาจำหน่าย

เกาะติดข่าวโควิด กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account

เพิ่มเพื่อน
เพิ่มเพื่อน

สมัยก่อนขายดี แต่เริ่มถดถอยใน 1 ปี ที่ผ่านมา และย่ำแย่ลงสุด แทบขายไม่ได้เลยในช่วงโรคโควิดแพร่ระบาด หลัง 21.00 น.พ่อค้า – แม่ค้า ที่มีแผงของตนเองจะกลับไปพักผ่อน ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นแผงที่เช่า ต้องต่อสู้แม้ไม่มีคน – คนหายไป ยิ่งมีการประกาศภาวะฉุกเฉินยิ่งกระทบมากเพิ่มขึ้น

ด้านนางจิระภา หรือ ป้าแป๊ด ดวงปทุม อายุ 53 ปีแม่ค้าจำหน่ายทุเรียน กล่าวว่า แผงเช่าจำหน่ายผลไม้ ในยุคเศรษฐกิจดีก่อนหน้าขายได้วันละ 4,000 -5,000 บาท แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของสวน รับทุเรียนมาจำหน่าย

แต่ช่วงสถานการณ์โรคติดต่อโควิดระบาด รายได้หายไปมากเกินครึ่ง แต่ก็ต้องขาย เพราะต้องรับภาระดูและ พ่อ – แม่ – อา ที่สูงอายุ ซึ่งป่วยติดเตียงในคราวเดียวกันถึง 3 คน เป็นภาระหนักอึ้ง คาดว่าหลังประกาศเคอร์ฟิวจะกระทบร้านมากเพิ่มขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการเดินทางช่วงค่ำคืน บนถนนทางหลวงแผ่นดินสาย 304 (ศรีมหาโพธิ – ฉะเชิงเทรา ) อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี จากภาคอีสาน มุ่งหน้าสู่นิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก – ภาคกลาง

ที่จุดตรวจ-จุดสกัดหน้า บริษัทมัยโต้ พ.ต.อ.พงศ์ อนันท์ รักษาชาติ ผกก.ระเบาะไผ่ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ,จนท.สาธารณสุข,ฝ่ายปกครองร่วมคุมเข้ม ผู้ใต้บังคับบัญชาประจำจุดตรวจคัดกรอง พบปริมาณผู้ใช้รถเบาบาง

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0