คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ มีผลสำรวจถึงพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยในปี 2562 ที่ผ่าน พบว่ายังมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พฤติกรรมยอดนิยมก็ไม่แตกต่างจากช่วงกักตัวเท่าไหร่นัก ใช้โซเชียล, สั่งอาหารออนไลน์, ช้อปปิ้งออนไลน์
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยผลการสำรวจ พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2562 หรือ Thailand Internet User Behavior 2019 โดยพบว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดกว่า 150% ส่งผลให้ปัจจุบันไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 47.5 ล้านคน หรือราว 70% ของจำนวนประชาชนทั้งหมด
Gen Y ยังครองแชมป์ใช้เน็ตมากสุด
จากการสำรวจข้อมูลพบว่าปี 2562 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละ 10 ชั่วโมง 22 นาที เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ราว 17 นาทีและเมื่อแยกเป็นการใช้งานตามเพศพบว่า เพศทางเลือก ครองแชมป์ใช้มากที่สุด 11 ชั่วโมง 20 นาที รองลงมาคือ เพศชาย 10 ชั่วโมง 25 นาที และเพศหญิง 10 ชั่วโมง 17 นาที
- Gen Y (19-38 ปี) ยังคงครองแชมป์การใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดติดต่อกัน 5 ปีซ้อน โดยมีชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 10 ชั่วโมง 36 นาที
- Gen Z (ต่ำกว่า 19 ปี) อยู่ที่ 10 ชั่วโมง 35 นาที
- Baby Boomer (55-73 ปี) อยู่ที่ 10 ชั่วโมง
- Gen X (39-54 ปี) อยู่ที่ 9 ชั่วโมง 49 นาที
นักศึกษาใช้มากกว่าคนว่างงาน
ขณะที่ไม่ว่า อาชีพ ไหนก็ใช้อินเทอร์เน็ตแทบไม่ต่างกัน เมื่อแยกตามกลุ่มแล้ว
นักเรียน/นักศึกษา ใช้อินเทอร์เน็ตสูงสุด อยู่ที่ 10 ชั่วโมง 50 นาที
พ่อบ้าน/แม่บ้าน 10 ชั่วโมง 38 นาที
เจ้าของกิจการ/ประกอบธุรกิจส่วนตัว 10 ชั่วโมง 34 นาที
คนว่างงาน/ไม่มีงานทำ 10 ชั่วโมง 32 นาที
อาชีพอิสระ/ฟรีแลนซ์ 10 ชั่วโมง 30 นาทีหากแบ่งตามภูมิภาคพบว่า
ภาคเหนือ มีจำนวนชั่วโมงการใช้อยู่ที่ 10 ชั่วโมง 31 นาที
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 ชั่วโมง 28 นาที ภาคกลาง 10 ชั่วโมง 19 นาที
กรุงเทพฯ 10 ชั่วโมง 19 นาที
ท่องโซเชียลมากที่สุด
กิจกรมมยอดนิยมของชาวเน็ตยังคงหนีไม่พ้นการใช้โซเชียลมีเดีย รองลงมาคือ ดูหนังฟังเพลง เสพความบันเทิง
Social Media (Facebook, Line, Instagram) คิดเป็น 91.2% ถือเป็นกิจกรรมยอดฮิต 7 ปีซ้อน
ดูหนัง ฟังเพลง 71.2%
ค้นหาข้อมูล 70.7%
รับ-ส่งอีเมล 62.5%
การชำระเงินค่าสินค้าและบริการทางออนไลน์ 60.6%กิจกรรมที่มาแรงและมีการเติบโตขึ้นคือ
การสั่งอาหารออนไลน์ ได้รับความนิยมมากสุด เพิ่มขึ้นจากปี 61 ถึง 15.1%
การชำระค่าสินค้าและบริการ ใช้บริการเพิ่ม 11.4%
อย่างไรก็ตาม ช่องทางที่ผู้ซื้อเลือกใช้เพื่อซื้อสินค้ามากที่สุด คือ e-Marketplace ได้แก่ Shopee 75.6% รองลงมาคือ Lazada 65.5% และ Social Media ได้แก่ Facebook Fanpage 47.5% และ Line 38.9% ต่างจากช่องทางที่ผู้ขายนิยมใช้ที่เพื่อขายของออนไลน์มากที่สุด คือ Facebook Fanpage 64.0% รองลงมาคือ Shopee 43.1% และ LINE 39.5%
โฆษณาออนไลน์ยังคงกวนใจ
ในส่วนของปัญหากวนใจมากสุดที่คือ โฆษณาออนไลน์รบกวนการใช้งาน 78.5% รองลงมาคือ ความเร็วอินเทอร์เน็ต 68.7% ปัญหาข้อมูลไม่น่าเชื่อถือ 35.8% แต่ 73.3% ยังคงเชื่อมั่นในความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังพบว่าคนไทยนิยมใช้ LINE ติดต่อสื่อสาร 98.5% รองลงมาคือ Facebook Messenger, FaceTime และ WhatApp
ด้านการยืนยันตัวตนที่คนส่วนใหญ่รู้จักกว่า 91.6% คือการกรอก รหัส OTP รองลงมาคือ การสมัครใช้บริการออนไลน์ของเอกชน โดยให้ข้อมูลส่วนบุคคล 85.9% การเข้าใช้บริการออนไลน์ของภาคเอกชนด้วยรหัสผ่านที่ตั้งขึ้นมา 82.1% โดยกิจกรรมที่นิยมสร้างบัญชีใหม่เพื่อยืนยันการใช้บริการมากที่สุดคือ การต่อทะเบียนภาษีรถยนต์ออนไลน์ รองลงมาคือ การซื้อขายสินทรัพย์ออนไลน์ และการเรียนออนไลน์ ส่วนกิจกรรมที่นิยมใช้บัญชีเดิม (บัญชีใน Social Media, Internet Banking ฯลฯ) มากที่สุดคือ ใช้รถโดยสารออนไลน์ รองลงมา สั่งอาหารออนไลน์ และอ่านหนังสือทางออนไลน์ และเมื่อถามว่า ต้องการใช้บัญชีเดียวในการเข้าถึงทุกบริการออนไลน์หรือไม่ ส่วนใหญ่ 64.4% ตอบว่าต้องการใช้บัญชีเดียวเข้าถึงทุกบริการ 23.8% ตอบว่าไม่แน่ใจ และ 11.9% ตอบว่าไม่ต้องการ ประเด็นสุดท้ายคือ ความต้องการให้ภาครัฐดูแล คือ ความมั่นคงปลอดภัย อันดับหนึ่งคือ การป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล 61.4% การมีกฎหมายกำกับ ดูแลหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 18.5% การรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ 11.2% และระบบที่สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง 7.2% เป็นต้น
ความเห็น 0