โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

สรรพคุณทางยาของหมากผู้หมากเมีย

รักบ้านเกิด

อัพเดต 06 ก.พ. 2563 เวลา 02.37 น. • เผยแพร่ 06 ก.พ. 2563 เวลา 02.37 น. • รักบ้านเกิด.คอม

พูดถึงหมากผู้หมากเมียคนทั่วไปอาจจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับพืชชนิดนี้เท่าไหร่ แต่เรากำลังจะพูดถึงคนคนหนึ่งที่หลงรักหมากผู้มากเมีย จนสะสมเอาไว้มากถึงกว่า 200 สายพันธุ์ จากเด็กที่เกิดและเติบโตในบางกะเจ้าได้เห็นและสัมผัสต้นหมากผู้หมากเมียมาตั้งแต่เกิดเป็นไม้ถิ่นที่เห็นได้ตามท้องร่องสวนในแถบนี้ จนมาอายุได้ 12 ปีก็เริ่มเก็บสะสมพันธุ์หมากผู้หมากเมียเห็นที่ไหนก็ขอกิ่งมาปักชำจนเต็มสวนของบ้านตัวเองซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นชีวิตนักสะสมพันธุ์หมากผู้หมากเมียนับแต่นั้นมาจนปัจจุบันมีมากว่า 200 สายพันธุ์เลยทีเดียว ซึ่งถือได้ว่าคุณลุงณรงค์ สำลีรัตน์เป็นบุคคลที่สะสมพันธุ์หมากผู้หมากเมียมากที่สุดในประเทศไทย จนนักพฤกศาสตร์จากทั่วโลกที่ต้องการศึกษาพันธุ์ไม้ชนิดนี้ล้วนจะต้องมาที่บ้านของคุณลุงณรงค์กันทั้งนั้นแถมยังให้เกียรติด้วยการใช้ชื่อของคุณลุงตั้งเป็นชื่อของสายพันธุ์หนึ่งว่า ณรงค์ดายม่อน ปัจจุบันคุณลุงณรงค์ อายุ 73 ปีแต่ก็ยังคงแข็งแรงดูแลขยายพันธุ์ต้นหมากผู้หมากเมียอยู่มิได้ขาดเพียงหวังว่าต้นไม้ชนิดนี้จะยังคงอยู่คู่กับบ้านบางกะเจ้าและประเทศไทยไปอีกนานเท่านาน

Plant/10644_1_1.JPG
Plant/10644_1_1.JPG

คนโบราณผูกพันธ์กับต้นไม้มีชีวิตแนบชิดกับธรรมชาติพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลักศึกษา ทดลองจนเกิดเป็นองค์ความรู้แต่ละอย่างขึ้นมา โดยเฉพาะการแพทย์แผนไทยที่ใช้สมุนไพรรักษาโรคต่างๆได้มากมายพืชแต่ละชนิดมีสรรพคุณทางยาแตกต่างกัน บ้างมีฤทธิ์ร้อน บ้างมีฤทธิ์เย็นใช้รักษาอาการได้ไม่เหมือนกันเหมือนต้นหมากผู้หมากเมียที่ชาวบ้านนำมาเป็นสมุนไพรรักษาโรคและอาการต่างๆ ซึ่งคุณลุงณรงค์ สำลีรัตน์ได้ศึกษาในความเป็นสมุนไพรเพื่อใช้ทำยาของต้นหมากผู้หมากเมียด้วย

Plant/10644_2_2.JPG
Plant/10644_2_2.JPG

หมากผู้หมากเมีย?ชื่ออื่น ๆ?: หมากผู้ (ภาคเหนือ), มะผู้มะเมีย(ภาคกลาง), ทิฉิ่วเฮียะ (จีน-แต้จิ๋ว)
ชื่อวิทยาศาสตร์?: Cordyline fruticoss A. Cheval วงศ์?: AGAVACEAE
ลักษณะทั่วไป?: ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้านสาขามากนัก
ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตรใบออกเป็นวงสลับกัน บริเวณส่วนยอดของลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลม มีขนาดยาวประมาณ 12-20 ซม. กว้างประมาณ 2-4 นิ้ว ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 12 นิ้ว ออกตามบริเวณยอดลำต้น ลักษณะของดอกย่อย มีกลีบเลี้ยง และกลีบดอกอย่างละ 6 กลีบ ดอกมีเป็นสีม่วงแดง หรือสีชมพูสลับด้วยสีเหลือง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม. ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 มม. ผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 1-3 เม็ด

Plant/10644_3_3.JPG
Plant/10644_3_3.JPG

การนำต้นหมากผู้หมากเมียมาใช้เป็นยาเพื่อรักษาอาการต่างๆจะใช้ ใบ, ดอก, ราก
ใบสด นำมาต้มน้ำกิน ใช้เป็นยาแก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือดปัสสาวะ เป็นเลือด ไอ เจ็บกระเพาะอาหาร ไอเป็นเลือด หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกหรือทา บริเวณที่เป็นบาดแผล
ดอก?ใช้ดอกแห้ง นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้วัณโรคปอด ไอเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด และเป็นริดสีดวงทวาร หรือใช้ดอกสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอก ห้ามเลือด แก้บวมอักเสบ
ราก?ใช้รากแห้งนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บิด ลำไส้อักเสบ แก้ท้องเสีย และแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
ข้อห้าม หญิงที่มีครรภ์ ห้ามรับประทาน