ละครสะท้อนสังคม แต่สังคมไม่ควรสนุกปาก ทำร้ายครอบครัวใคร!
ใครฆ่าเฮียประเสริฐ? นอกจากคำถามนี้ที่ใครๆก็พากันเดาคำตอบไปต่างๆนาๆอีกหนึ่งอย่างที่มาพร้อมซีรีส์เรื่อง "เลือดข้นคนจาง” ก็คือความสงสัยที่ว่าปมความขัดแย้งของพี่น้องในตระกูลเดียวกันจนนำไปสู่การจบชีวิตอย่างเป็นปริศนาของสมาชิกในบ้านนั้นมีเค้าโครงมาจากคดีดังที่เกิดขึ้นกับตระกูลหนึ่งจริงหรือไม่ทั้งที่ผู้กำกับก็เคยให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่าความขัดแย้งในครอบครัวเพราะเรื่องธุรกิจก็คล้ายกันหมดไม่ได้ตั้งใจเจาะจงจะให้เหมือนครอบครัวใดทั้งสิ้น
เลือดข้นคนจาง คือเรื่องราวในตระกูลจิระอนันต์ เจ้าของกิจการโรงแรมจิรานันตาที่มีสาขาในกรุงเทพฯซึ่งลูกชายคนโตคือ ประเสริฐ (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) บริหาร และที่พัทยาซึ่งลูกสาวคนที่สามคือ ภัสสร (คัทลียา แมคอินทอช) เป็นผู้ดูแล ขณะที่ลูกชายคนรองคือ เมธ (ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง) และ ลูกชายคนสุดท้องคือ กรกันต์ (สุพจน์ จันทร์เจริญ) ไม่ได้เข้ามามีส่วนในการทำงานด้วย แต่พอเปิดพินัยกรรมของ อากงสุกิจ (นพพล โกมารชุน) ออกมากลับพบว่าหุ้นโรงแรมตรงเป็นของพี่น้องผู้ชายทั้งสามและลูกชายคนโตของประเสริฐ โดยที่ภัสสรถูกตัดออกจากหุ้น จึงเกิดความขัดแย้งระหว่างเธอกับพี่น้องอย่างรุนแรง และจุดเริ่มต้นของการหาคำตอบทั้งหมดก็เกิดขึ้นในวันที่ภัสสรขับรถจากพัทยามาชำระความกับพี่ชายแล้วพบว่าประเสริฐกลายเป็นศพในบ้านของตัวเองไปแล้ว
จุดเริ่มต้นนี้เองนำมาซึ่งการเชื่อมโยงว่าเรื่องนี้ใกล้เคียงกับคดีดังของตระกูลหนึ่ง ที่มีการพบศพชายคนหนึ่งในบ้านของตัวเอง ในช่วงที่กำลังมีปัญหากันในหมู่พี่น้องเรื่องมรดก และก็เป็นเพียงจุดเดียวที่คนในสังคมมักนำมาพูดถึงไม่รู้จักจบจักสิ้น
คำถามที่เราควรจะถามตัวในฐานะ "คนนอก" ก็คือ มันสมควรหรือไม่ที่จะนำคดีซึ่งเป็นความขัดแย้งภายในบ้านของคนอื่น ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่มีใครในครอบครัวอยากให้เกิดขึ้นแน่ ๆ มาวิพากษ์วิจารณ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเหมือนเป็นเรื่องทั่วไปที่พูดกันได้ ทั้งที่สำหรับคนในบ้านแล้วเรื่องนี้คือแผลใหญ่ที่ไม่มีวันรักษาได้ ไม่มีทางหายถึงแม้กระบวนการในชั้นศาลจะจบไปแล้วก็ตาม
แผลนี้ไม่เคยหาย
เพราะว่าปมความขัดแย้งในครอบครัวเป็นโครงสร้างหลักที่ประสบความสำเร็จของละครหลายๆเรื่อง จึงไม่แปลกที่ประเด็นนี้จะถูกนำมาทำซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งอาจบังเอิญไปคล้ายกับเรื่องที่เกิดขึ้นจริง จนคนในสังคมนำไปเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มความสนุกในการรับชมละครของตน
แต่หากลองคิดในทางกลับกันว่าถ้าเป็นครอบครัวของเรา เราคงไม่อยากให้ใครนำความรุนแรงหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในบ้านของเราไปเชื่อมโยงกับสื่อใด ๆ หรือนำไปพูดถึงไม่ว่าจะในกรณีใดๆก็ตาม เพราะแม้คดีจะจบลงในชั้นศาลไปแล้วแต่ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างคนในครอบครัวมักเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเยียวยาได้ยาก
ยิ่งมีผลประโยชน์หลักพันล้านหมื่นล้านเข้ามาเกี่ยว ยิ่งหนึ่งในนั้นถูกจบชีวิตเพราะความขัดแย้งแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็ย่อมจะมีบาดแผลในใจที่ลบไม่ได้ แม้จะไม่มีใครนำคดีนี้ไปพูดต่อ ไปอ้างอิงแบบทุกวันนี้ก็ตาม
ดังนั้นแล้วแม้ว่าจะมีความรู้สึกความคิดเห็นอย่างไร ก็อยากจะฝากไว้ให้คิดว่า ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก่อนที่จะวิจารณ์หรือหยิบยกบาดแผลของใครมาพูด ว่าคำพูดคำวิจารณ์นั้นจะกระทบกับจิตใจของผู้ถูกกล่าวถึงหรือไม่ แม้ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
เพราะมันอาจทำให้บาดแผลที่พยายามรักษาให้หายสนิทถูกสะกิดให้เปิดขึ้นอีกครั้ง
Source
http://www.komchadluek.net/news/today-in-history/342398
https://www.cops-magazine.com/topic/9497/
https://www.springnews.co.th/view/346590
https://drama.kapook.com/gallery/198751/22526
https://www.thairath.co.th/content/439768
https://www.thairath.co.th/content/1377937
ความเห็น 12
Junjao
ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาจะสร้างหนังสร้างละครนำสังคม อยากให้บ้านเมืองไปทางไหนเขาสร้างแบบนั้น เพราะมันมีผลต่อการกระทำของคนในสังคม ยกตัวอย่างเช่นเกาหลี เขาอยากให้ผู้ชายประเทศเขาเป็นคนอบอุ่นเขาก็สร้างละครให้พระเอกเป็นคนอบอุ่น และเยาวชนชายเกาหลีก็เริ่มซึมซับลักษณะนิสัยแบบนั้น เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศเขาก็จะประสบความสำเร็จ นี่แหละแนวคิดของคนที่พัฒนาแล้ว
24 ก.ย 2561 เวลา 14.38 น.
Keng
สร้างจังละครสะท้อนสังคม เรตติ้งมันดีอ่ะดิ ไอ้ละครจรรโลงสังคมนี่ไม่สร้าง เรตติ้งมันน้อย555
24 ก.ย 2561 เวลา 14.11 น.
Ub
มองเห็นแต่ความรุนแรง หนังโฆษณาก็มีแต่พูดจากระโชกโฮกฮาก เถื่อนๆการพูดคุยระหว่างเพื่อนก็มีแต่คำหยาบ
ไอ้สัตว์ สังคมไม่มีความเป็นมนุษย์ สัตว์เอ๊ยย
24 ก.ย 2561 เวลา 14.32 น.
Ub
เยาวชนเริ่มตอน จากการเรียนแบบ จะถ่ายทอดอะไรต้องคิดดีๆ
24 ก.ย 2561 เวลา 14.35 น.
P99
คิดว่าเหมือนก็เหมือน แต่นี่มันละคร อย่าลืม
24 ก.ย 2561 เวลา 14.31 น.
ดูทั้งหมด