โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ไทยป่วย “วัณโรคเทียม” เพิ่ม/รักษายาก-นาน

สยามรัฐ

อัพเดต 29 ก.พ. 2563 เวลา 00.00 น. • เผยแพร่ 29 ก.พ. 2563 เวลา 00.00 น. • สยามรัฐออนไลน์
ไทยป่วย “วัณโรคเทียม” เพิ่ม/รักษายาก-นาน

เรียกว่า หากไม่ใช่หมอเฉพาะทาง ยากที่จะวินิจฉัย…

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ และประธานชมรมเชื้อราทางการแพทย์ประเทศไทย โพสต์ผ่านเพจ “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” ระบุ
“Mycobacterium avium complex (MAC) เป็นเชื้อมัยโคแบคทีเรียที่ไม่ใช่เชื้อวัณโรค Non-tuberculous mycobacteria (NTM) ชนิดโตช้า เป็นเชื้อที่สามารถพบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมในน้ำ ดิน รวมทั้งสัตว์ปีกหลายชนิดทั้งนกในธรรมชาติ

**

**

ในปัจจุบันพบคนไทยป่วยด้วยเชื้อกลุ่ม MAC เพิ่มขึ้นทั้งผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะผู้หญิงและผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย โรคนี้ไม่ติดต่อระหว่างคนสู่คน

การตรวจเสมหะวินิจฉัยด้วยการย้อมสีแบคทีเรียทนกรด (acid fast smear) ให้ผลบวกไม่สามารถแยกว่าเป็นเชื้อวัณโรคหรือวัณโรคเทียม การรักษาเชื้อ MAC ด้วยยาฆ่าเชื้อวัณโรคไม่ได้ผล แพทย์ต้องส่งเพาะเชื้อหาว่าเป็นวัณโรคแท้หรือเทียมและเป็นชนิดไหน และต้องตรวจหาความไวต่อยา เพื่อให้การรักษาได้ถูกต้อง

ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 55 ปีปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว เมื่อ 7 ปีที่แล้ว มีอาการไอเล็กน้อย ไม่มีไข้ ไม่เบื่ออาหาร น้ำหนักไม่ลด ไม่มีไอเป็นเลือด เอกซเรย์ปอดที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งพบผิดปกติ ตรวจเสมหะย้อมเชื้อหาวัณโรค AFB smear ไม่พบเชื้อ แพทย์ให้ยารักษาวัณโรคนาน 6 เดือน

เมื่อ 3 ปีที่แล้วมีอาการไออีก ไปรักษาที่รพ.อีกแห่งหนึ่ง เอกซเรย์ปอดผิดปกติเพิ่มขึ้น เก็บเสมหะส่งตรวจหาวัณโรค แพทย์ที่รักษาสงสัยอาจเป็นวัณโรคเทียมแต่ก็ยังให้ยารักษาวัณโรคชุดเดิมซ้ำอีก 6 เดือน

ผู้ป่วยยังไอต่อเนื่อง เหนื่อยบ้าง ไม่มีไข้ ไม่เบื่ออาหาร น้ำหนักไม่ลด จึงมาปรึกษา ตรวจร่างกายปกติ ได้ทำคอมพิวเตอร์ปอดพบโพรงขนาด 1.5 เซนติเมตร ที่ปอดซ้ายด้านบน (ดูรูป) ได้ทำการส่องกล้องเข้าไปดูในหลอดลม ไม่พบอะไรผิดปกติ ดูดเสมหะจากหลอดลม ย้อมเชื้อสีแบคทีเรียทนกรด(AFB smear)ให้ผลบวก

ส่งเพาะเชื้อ พบวัณโรคเทียมชนิด Mycobacterium avium complex (MAC) ได้ให้ยารักษาเชื้อนี้ตามผลความไวของเชื้อต่อยา MAC เป็นโรคที่รักษายาก ต้องให้การรักษานาน และต้องติดตามระยะยาวเป็นปี"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0