โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“จำวัด-จำพรรษา-จำศีล” ทำไมต้องจำ “จำ” คำเขมรที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 30 ก.ย เวลา 05.05 น. • เผยแพร่ 28 ก.ย เวลา 07.53 น.
cover
อักษรเขมรโบราณ ศิลาจารึกปราสาทบันทายศรี พุทธศตวรรษที่ 16

จำวัด จำพรรษา จำศีล ทำไมต้องจำ “จำ” คำเขมรที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายคำว่า “จำ” ไว้ใน 4 ความหมายด้วยคือ (1) ก. กำหนดไว้ในใจ, ระลึกได้ (2) ก. ลงโทษด้วยวิธีเอาโซ่ตรวนล่ามไว้ เช่น จำโซ่ จำตรวน, ลงโทษด้วยวิธีขัง (3) ก. อาการที่ต้องฝืนใจทำ (4) (โบ) น. ชายผ้า โดยในความหมายที่ 1 ที่ว่า “ก.กำหนดไว้ในใจ, ระลึกได้, เช่น จำหน้าได้” นั้นมีความอธิบายต่อไปว่า “ลูกคำของ ‘จำ 1’ คือ จำพรรษา จำวัด จำศีล”

เมื่อค้นคำอธิบายต่อไปของลูกคำในความหมายที่ 1 พจนานุกรม ฉบับบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า จำวัด “ก. นอนหลับ (ใช้แก่ภิกษุสามเณร)”, จำพรรษา “ก. อยู่ประจำที่วัด 3 เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์)” และ จำศีล “ก. ถือศีล, รักษาศีล”

ถึงตรงนี้จะเห็นว่า “จำ” ที่อธิบายไว้แต่ต้น เมื่อเอามาผสมเป็นคำว่า จำวัด จำพรรษา จำศีล แล้วความหมายดูจะลักลั่นกันอยู่บ้าง ที่เป็นเช่นนี้เพราะคำว่า “จำ” นั้นไม่ใช่คำไทย แต่เป็นคำเขมร

ความเข้าใจในเรื่องนี้ ขออ้างอิงจากข้อเขียนของ รศ. ดร. ศานติ ภักดีคำ ในหนังสือ “แลหลังคำเขมร-ไทย” (สนพ.มติชน, ธันวาคม 2562) ที่เปิดพจนานุกรมเขมรอธิบายคำว่า “จำ” พจนานุกรมเขมรฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ พ.ศ. 2512 อธิบายว่า “เฝ้าอยู่ไม่ไปไหน, อยู่ดูแลรักษา”

เพราะคำว่า “จำ” นั้นเป็นคำเขมรโบราณ ที่พบในสิลาจารึกโบราณเขียนในรูปแบบต่างกัน เช่น จํ, จม และจำ แต่มีความหมายเดียวกันคือ “เฝ้า, เฝ้าดู, เฝ้ารักษาเป็นพิเศษ”

นอกจากพจนานุกรมเขมร ผู้เขียน (รศ. ดร. ศานติ) ยังมีอ้างอิงข้อความ ในศิลาจารึก K. 732 มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ถเว ตโปวน จำวรุษ แปลว่า “ทำตโปวนจำพรรษา” มาเป็นหลักฐานอีกด้วย คำว่าจำพรรษา* (จำวรุษ) เป็นคำที่มีใช้ในศิลาจารึกเขมรโบราณ หมายความว่า “เฝ้าอยู่ไม่ไปไหนในฤดูฝน”*

ดังนั้น คำว่า จำ ที่มาจาก ภาษาเขมร เป็นภาษาเขมรโบราณ แปลว่า “เฝ้า อยู่ไม่ไปไหน, อยู่ดูแลรักษา” เมื่อประสมเป็นคำว่า จำวัด จำพรรษา จำศีล ความหมายจริงๆ ของคำว่า จำวัด จึงหมายถึง “เฝ้าอยู่ที่วัด (นอน)” ขณะที่จำพรรษา หมายถึง “เฝ้าอยู่ไม่ไปไหนในฤดูฝน” และจำศีล หมายถึง “อยู่รักษาศีล”

เมื่อรู้รากที่มาของคำ การทำความเข้าใจจึงง่ายขึ้น เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : “จำวัด-จำพรรษา-จำศีล” ทำไมต้องจำ “จำ” คำเขมรที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 2

  • John KR
    จำเพาะ จำกัด จำเขี่ย จำเริญ จำอวด จำพราก
    25 พ.ย. 2566 เวลา 21.13 น.
  • Tang Pairat
    เมื่อก่อนไม่มีประเทศอยู่ปนๆกันไป..ลาว พม่า เขมร..ภาษาเลยใช้ผสมๆกันไป คนเขียนประวัติศาสตร์ไทย ทำให้เราหลงลืมรากเหง้าเหล่านี้ไป..ลองศึกษาประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิดูคับ น่าสนใจ
    07 มี.ค. 2564 เวลา 07.04 น.
ดูทั้งหมด