โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

‘หมอธีระ’ อัพเดทผลวิจัย Long COVID ในผู้ป่วยมะเร็ง ย้ำ! ฉีดวัคซีนช่วยได้

The Bangkok Insight

อัพเดต 18 ก.ค. 2565 เวลา 03.07 น. • เผยแพร่ 18 ก.ค. 2565 เวลา 03.07 น. • The Bangkok Insight
‘หมอธีระ’ อัพเดทผลวิจัย Long COVID ในผู้ป่วยมะเร็ง ย้ำ! ฉีดวัคซีนช่วยได้

"หมอธีระ" อัพเดทผลวิจัย Long COVID ในผู้ป่วยมะเร็ง ลั่นยังไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกันอย่างจำเพาะเจาะจง แต่การฉีดวัคซีนช่วยลดโอกาสเกิด Long COVID ได้ 15%

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่า 18 กรกฎาคม 2565 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 482,377 คน ตายเพิ่ม 502 คน รวมแล้วติดไป 567,561,312 คน เสียชีวิตรวม 6,387,421 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อิตาลี เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย

หมอธีระ
หมอธีระ

เมื่อวานนี้ จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็น 79.04% ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็น 63.34%

…สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พฤษภาคมจนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

…อัพเดต Long COVID ในผู้ป่วยมะเร็ง

Dagher H และทีมงานจาก MD Anderson Cancer Center มหาวิทยาลัยเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการวิจัยใน medRxiv เมื่อ 15 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา

หมอธีระ
หมอธีระ

โดยศึกษาในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง แล้วติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 จำนวนถึง 312 คน ตั้งแต่ช่วงมีนาคมถึงกันยายน 2563 และติดตามผลไปจนถึงพฤษภาคม 2564 พบว่ามีถึง 188 คน หรือ 60.25% ที่ประสบปัญหา Long COVID ในระยะภายหลังจากการติดเชื้อ

ทั้งนี้ หากดูระยะเวลาที่มีอาการผิดปกติของ Long COVID ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ติดตามในการศึกษานี้ พบว่าครึ่งหนึ่งจะประสบปัญหาอยู่ราว 7 เดือน อีกครึ่งหนึ่งยาวนานกว่านั้น และลากยาวไปถึงระยะเวลา 14 เดือนจนสิ้นสุดการศึกษา

อาการผิดปกติที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็ง ได้แก่ อ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า 82%, ปัญหาการนอนหลับ 78%, ปวดกล้ามเนื้อ 67%, อาการผิดปกติของทางเดินอาหาร 61%, และอื่นๆ เช่น ปวดหัว และการรับรสหรือดมกลิ่นผิดปกติ ไอ เป็นต้น
ผู้ป่วยเพศหญิงประสบปัญหา Long COVID มากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า (67% และ 37% ตามลำดับ)

ผลการวิจัยนี้ ตอกย้ำให้เราเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโรคโควิด-19

เพราะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และทุกสถานะ ไม่ว่าจะติดเชื้อแบบไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการมาก ติด…ไม่ใช่แค่ตัวเรา แต่อาจกระจายไปสู่สมาชิกในครอบครัว

หมอธีระ
หมอธีระ

ยิ่งหากคนที่ติดเชื้อ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ก็จะเสี่ยงต่อการป่วยหนัก เสียชีวิต และภาวะ Long COVID ที่มากขึ้นได้
ปัญหา Long COVID นั้นคือเรื่องที่ทั่วโลกหนักใจ เพราะบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคมระยะยาว

ป่วย หรือตาย มักสิ้นสุดในระยะเวลาไม่นาน แต่เชื่อว่าไม่มีใครที่อยากทรมานกับภาวะป่วยเรื้อรังที่บั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิตระยะยาว

Long COVID ยังไม่มีวิธีรักษา

  • Long COVID ยังไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกันอย่างจำเพาะเจาะจง
  • การฉีดวัคซีนนั้นช่วยลดโอกาสเกิด Long COVID ได้ราว 15%
  • การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ

ด้วยสถานการณ์ระบาดของไทยในปัจจุบัน การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องเป็นหัวใจสำคัญมาก เวลาออกตะลอนนอกบ้านครับ จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อไปได้มาก

เน้นย้ำอีกครั้งว่า Omicron BA.5 นั้น หากใครติดเชื้อ ควรแยกตัวจากคนอื่น อย่างน้อย 10 วันนะครับ เรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่ง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0