โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ระยะมะเร็งท่อน้ำดี และอัตราหายขาดต่ำเพราะโรคลุกลาม การป้องกันจึงสำคัญ

PPTV HD 36

อัพเดต 20 มี.ค. เวลา 02.45 น. • เผยแพร่ 20 มี.ค. เวลา 02.37 น.
ระยะมะเร็งท่อน้ำดี และอัตราหายขาดต่ำเพราะโรคลุกลาม การป้องกันจึงสำคัญ
มะเร็งท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่ไม่มีสาเหตุและสัญญาณโรคที่ชัดเจน ในไทยมักเกิดจาก พยาธิใบไม้ตับจากปลาน้ำจืด กว่าจะพบแพทย์โรคอาจลุกลามจนยากต่อการรักษา ทำให้อัตราการหายต่ำ เสียชีวิตสูง การป้องกันไว้จึงดีกว่าแก้

ท่อน้ำดี คือ ท่อขนาดเล็กที่เชื่อมระหว่างตับและถุงน้ำดีไปที่ลำไส้เล็ก โดยน้ำดีสร้างจากตับและถูกนำไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี มีหน้าที่ในการช่วยทำให้ไขมันแตกตัวในระว่างการย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ถ้า มะเร็งท่อน้ำดี (Cholangiocarcinoma) อาจทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินน้ำดี จากตับไปลำไส้เล็ก ส่งผลให้น้ำดีย้อนกลับเข้ากระแสเลือดและเนื้อเยื่อ

สาเหตุของมะเร็งท่อน้ำดียังไม่เป็นที่ทราบ แน่ชัด แต่พบว่ามีหลายปัจจัยสภาวะที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของเซลล์ท่อน้ําดี

สัญญาณ “มะเร็งท่อน้ำดี” แพทย์เผยส่วนใหญ่ในไทยเกิดจากการกินปลาน้ำจืดดิบ

สาเหตุมะเร็งท่อน้ำดี นอกจากกินปลาน้ำจืดดิบ เผยสัญญาณก้อนมะเร็งอุดท่อน้ำดี

จนทําให้เกิดการเติบโตอย่างผิดปกติกลายเป็นมะเร็งท่อน้ําดีได้ เช่น นิ่วในทางเดิน น้ำดีในตับ พยาธิใบไม้ตับ การอักเสบเรื้อรังภายในท่อน้ําดี ภาวะการอักเสบเรื้อรัง ของลําไส้ใหญ่ และสารเคมีบางชนิด เป็นต้น

อาการมะเร็งท่อน้ำดี

  • ผิวหนังและตาเหลือง เรียกว่า ภาวะตัวตาเหลือง (Jaundice)
  • ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มมากขึ้น
  • อุจจาระสีซีด
  • คันที่ผิวหนัง
  • ปวดท้องเล็กน้อย
  • เบื่ออาหาร
  • ไข้
  • น้ำหนักลดอย่างไม่มีสาเหตุ

ระยะของมะเร็งท่อน้ำดี

  • ขั้น 1 เอ (Stage 1A) มะเร็งอยู่เฉพาะบริเวณท่อน้ำดี
  • ขั้น 1 บี (Stage 1B) มะเร็งลุกลามออกจากท่อน้ำดี แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะใกล้เคียง
  • ขั้น 2 เอ (Stage 2A) มะเร็งลุกลามไปที่ตับ ตับอ่อน หรือถุงน้ำดี หรือหลอดเลือดใกล้เคียง แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง
  • ขั้น 2 บี (Stage 2B) มะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
  • ขั้น 3 (Stage 3) มะเร็งลุกลามไปที่หลอดเลือดหลักที่นำเลือดเข้าและออกจากตับหรือลุกลามไปที่ลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร หรือผนังช่องท้อง และแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง
  • ขั้น 4 (Stage 4) มะเร็งลุกลามไปที่อวัยวะห่างไกล เช่น ปอด เป็นต้น

การรักษามะเร็งท่อน้ำดี

การผ่าตัดมะเร็งท่อน้ำดี

  • การผ่าตัดมักใช้ในกรณีที่มะเร็งไม่ลุกลามไปนอกท่อน้ำดี ซึ่งอาจทำได้ยาก ระหว่างการผ่าตัดท่อน้ำดีในส่วนที่เป็นมะเร็งจะถูกตัดออกและเชื่อมต่อส่วนที่เหลือระหว่างตับและลำไส้เล็กเพื่อให้น้ำดีกลับมาไหลอีกครั้ง
  • ถ้ามะเร็งลุกลามไปเนื้อเยื่อรอบ ๆ อาจจำเป็นต้องตัดบางส่วนของตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น ตับอ่อน และเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออก
  • การผ่าตัดเพื่อสร้างทางเดินน้ำดีใหม่ใช้ในกรณีถ้าก้อนมะเร็งอุดกั้นท่อน้ำดีและเกิดภาวะตัวตาเหลือง แต่ไม่สามารถตัดก้อนออกได้ การผ่าตัดใช้ถุงน้ำดี เรียกว่า Cholecysto – Jejunostomy หรือ Cholecystoduodenostomy ถ้าใช้ท่อน้ำดี เรียกว่า Hepatico – Jejunostomy
  • การผ่าตัดที่เรียกว่า Gastrojejunostomy ถ้ามีการอุดกั้นของลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการผ่าตัดเพื่อเชื่อมต่อระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กส่วนกลาง ซึ่งช่วยลดอาการอาเจียน ซึ่งเกิดจากมะเร็งอุดกั้นลำไส้เล็กส่วนต้น

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

วิธีการรักษาที่ช่วยลดอาการตัวตาเหลืองโดยไม่ต้องรับการผ่าตัด แต่เป็นการรักษาป้องกันการอุดตันของท่อน้ำดีเท่านั้น ไม่ได้เป็นการรักษาเพื่อเอามะเร็งออกไป มี 2 วิธี ได้แก่

  • ERCP เป็นวิธีการส่องกล้องทางเดินอาหารแล้วใส่ขดลวดที่ยาวประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร หรือ 2 – 4 นิ้ว เข้าไปในท่อน้ำดีที่อุดตัน
  • PTBD เป็นการรักษาผ่านผิวหนัง โดยใส่ท่อระบายเล็ก ๆ ผ่านเข้าไปในตับ และทำการระบายน้ำดีออกเป็นการชั่วคราว บางครั้งอาจมีการใส่ขดลวด (Stent) เพื่อแก้ไขภาวะอุดตัน

การฉายรังสีรักษา มีการใช้การฉายรังสีรักษาเป็นบางครั้ง อาจใช้รังสีจากเครื่องกำเนิดรังสีจากภายนอก หรือการฝังอุปกรณ์กำเนิดรังสีในร่างกายใกล้กับก้อนมะเร็ง

ยาเคมีบำบัด การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีรักษาจะนำมาใช้เมื่อไม่สามารถผ่าตัดก้อนมะเร็งออกได้

ปัจจุบันผลการรักษาของมะเร็งท่อน้ําดียังไม่สู้ดีนักเนื่องจาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งท่อน้ําดีมีขนาดใหญ่หรือลุกลามแล้ว ดังนั้น จึงพบว่ามีผู้ป่วยเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่สามารถทําการผ่าตัดได้ โดยถ้าสามารถ ผ่าตัดเอามะเร็งท่อน้ําดีออกได้หมดจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีอยู่ที่ประมาณ 10-40% แต่ถ้าพบว่ามีการลุกลามไปแล้วอัตราการรอดชีวิตจะต่ำกว่านั้นมาก

การป้องกันจึงสำคัญ

เนื่องจากไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ทําให้การป้องกันการเกิดโรคเป็นไป ได้ยาก แต่เราสามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งท่อน้ำดีได้โดยการ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุกเช่น ปลาน้ำจืดดิบ การสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยง การใช้ยาหรือสารเคมีที่ไม่จําเป็น

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ และ สถานวิทยามะเร็งศิริราช

ปลาน้ำจืดเกล็ดขาวดิบ ปัญหาสาธารณสุขใหญ่ของไทย เสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดี

สูตรกระเจี๊ยบเขียวแช่น้ำ ไวรัลยอดฮิตเป็นเครื่องดื่มสุขภาพจริงหรือไม่ ?