โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สภาพัฒน์ฯเผยภาวะสังคมไตรมาส 4 ปี 2567เด็กจบใหม่ว่างงาน 1.8 แสนคน แม่วัยใสอายุ 10 – 14 ปีเพิ่มสูง

ไทยพับลิก้า

อัพเดต 28 ก.พ. เวลา 16.46 น. • เผยแพร่ 27 ก.พ. เวลา 01.16 น.
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ “สภาพัฒน์ฯ”
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ “สภาพัฒน์ฯ”
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สภาพัฒน์ฯ เผยภาวะสังคมไทยไตรมาส 4 ปี2567 ว่า สถานการณ์การจ้างงานลดลงเล็กน้อย อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ หรือมีผู้ว่างงานจำนวน 3.6 แสนคน ซึ่ง 1.8 แสนคนเป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนและจบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างชาติ เพื่อป้องกันการทำงานอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้ปัญหาฝุ่น PM 2.5ส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น และแม่วัยใสอายุ 10 – 14 ปี เพิ่มขึ้น และสูงเกินค่าเป้าหมายที่องค์การสหประชาชาติกำหนดไว้

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ฯ แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ ปี 2567 พบความเคลื่อนไหวสำคัญ ได้แก่ สถานการณ์การจ้างงานลดลงเล็กน้อย อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ หนี้สินครัวเรือน (ไตรมาสสาม ปี 2567) ขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่หนี้เสียเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่นเดียวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินที่แย่ลง สำหรับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง และการรับเรื่องร้องเรียน เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอสถานการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ 3 เรื่อง ได้แก่ (1) คนต่างด้าวกับระบบสาธารณสุขชายแดน (2) ผลกระทบของการใช้สมาร์ตโฟนต่อสุขภาพจิตของ Gen Z : บทเรียนจากต่างประเทศ (3) การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลจากภัยไซเบอร์ที่ไม่รู้ตัว รวมทั้งนำเสนอบทความเรื่อง “การบรรลุเป้าหมาย SDGs ในการยุติความยากจนหลายมิติ”

สถานการณ์แรงงาน

สถานการณ์แรงงานไตรมาสสี่ ปี 2567 หดตัวลงเล็กน้อย จากการจ้างงานภาคเกษตรกรรมที่ยังคง หดตัวต่อเนื่อง ส่วนสาขานอกภาคเกษตรขยายตัวได้ โดยผู้ทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการว่างงาน ยังอยู่ในระดับต่ำ

ไตรมาสสี่ ปี 2567 ผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 40.1 ล้านคน ลดลงจากไตรมาสสี่ ปี 2566 เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.4 จากการลดลงอย่างต่อเนื่องของการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมที่ร้อยละ 3.6 ขณะที่ภาพรวมสาขา นอกภาคเกษตรกรรมยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยเฉพาะสาขาโรงแรม/ภัตตาคารที่ขยายตัวร้อยละ 9.4 และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้าที่ขยายตัวตามการส่งออกที่ฟื้นตัวดีขึ้น ส่วนสาขา การผลิตขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 จากอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่การผลิตคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตยานยนต์ และการผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี การจ้างงานยังหดตัวลงต่อเนื่องชั่วโมงการทำงานโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมและเอกชนอยู่ที่ 42.8 และ 47.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามลำดับ โดยผู้ทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 1.5 แต่ผู้เสมือนว่างงานและผู้ทำงานต่ำระดับเพิ่มขึ้นเช่นกัน ที่ร้อยละ 1.9 และ 6.0 ตามลำดับ อัตราการว่างงานปรับเพิ่มขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 0.88 หรือมีผู้ว่างงานจำนวน 3.6 แสนคน ซึ่งในกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อนส่วนใหญ่ออกมาจากสาขาการผลิต และสาขาการขายส่ง/ขายปลีก ภาพรวมปี 2567 อัตราการมีงานทำ ปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 98.6 ทรงตัวจากปี 2566 โดยจำนวนผู้มีงานทำมีจำนวน 39.8 ล้านคน ลดลงเล็กน้อยจากปี 2566 ที่ร้อยละ 0.3 ขณะที่อัตราการว่างงานในปี 2567 อยู่ที่ร้อยละ 1.00

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

สำหรับประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังและให้ความสำคัญ ได้แก่
1) การกีดกันทางการค้าในรูปแบบภาษีและไม่ใช่ภาษีจากสหรัฐอเมริกาซึ่งอาจกระทบต่อการส่งออกและการจ้างงาน ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงค่อนข้างมากจากการที่โดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ของสหรัฐอเมริกา อีกทั้งไทยยังมีประเด็นด้านการจัดการการค้ามนุษย์ ที่ได้รับการจัดอันดับรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาให้อยู่ในระดับ Tier 2 มาตั้งแต่ปี 2565
2) การตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างชาติ เพื่อป้องกันการทำงานอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งแม้ว่าไทยจะมีมาตรการนำเข้าและต่ออายุแรงงานต่างด้าวตาม MOU แต่ยังพบการกระทำผิดของสถานประกอบการ และแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก และ
3) แรงงานหญิงที่ตั้งครรภ์จำนวนมากยังไม่ได้ใช้สิทธิลาคลอดเต็มจำนวน โดยเฉลี่ยใช้เพียง 30 – 59 วัน จากสิทธิวันลาคลอดทั้งสิ้น 98 วัน เนื่องจากต้องการรายได้/โอที รวมทั้งการกลัวถูกลดโบนัส แม้ว่าองค์การอนามัยโลกจะสนับสนุนให้บุตรได้ทานนมแม่ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือนก็ตาม

หนี้สินครัวเรือน

หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสาม ปี 2567 ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่อง เช่นเดียวกับคุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนปรับลดลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาเข้าร่วมโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” การสร้างความตระหนักรู้ทางการเงิน เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อจาก ภัยการเงิน และการติดตามความคืบหน้าการแก้ไข พ.ร.บ. ล้มละลายฯ

ในไตรมาสสาม ปี 2567 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.34 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ซึ่งการชะลอตัวดังกล่าว ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 89.0 ซึ่งการปรับลดลงของสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ไม่ได้สะท้อนถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ลดลง แต่เกิดจากการชะลอตัวของหนี้ครัวเรือนเมื่อเทียบกับอัตราขยายตัวของ GDP ดังนั้น หากหนี้สินครัวเรือนและ GDP ขยายตัวในอัตราที่ต่ำทั้งคู่ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนและความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนในระยะถัดไป ด้านคุณภาพสินเชื่อของครัวเรือนปรับ ลดลงต่อเนื่อง โดยมูลค่าสินเชื่อส่วนบุคคลที่ค้างชำระเกิน 90 วันขึ้นไป (NPLs) ในฐานข้อมูลเครดิตบูโร มีจานวน 1.16 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 8.46 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.01 ของไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภทสินเชื่อ ยกเว้นสินเชื่อเพื่อการเกษตร

นอกจากนี้ มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่
1) การประชาสัมพันธ์ให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาเข้าร่วมโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าจะช่วยลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ขนาดเล็ก จำนวน 2.1 ล้านบัญชี 1.9 ล้านราย แต่ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมไม่มาก
2) การสร้างความตระหนักรู้ทางการเงิน เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อจากภัยการเงิน เนื่องจากปัจจุบันพบมิจฉาชีพหลอกหลวงผ่านคำโฆษณาชวนเชื่อ อาทิ “ปิดหนี้ให้” “ไม่คิดดอก” “ดอกต่ำมาก” หรือเข้ามาช่วยปิดหนี้ให้แล้วชักชวนลงทุน ซึ่งสร้างความเสียหายต่อลูกหนี้เป็นจำนวนมาก และ
3) การติดตามความคืบหน้าการแก้ไข พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่จะมีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ของลูกหนี้รายย่อย ให้สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูหนี้สิน โดยการเจรจาเพื่อไกล่เกลี่ยหนี้กับเจ้าหนี้หลายรายในคราวเดียว ซึ่งจะช่วยลดจำนวนลูกหนี้ที่จะเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้องล้มละลายและถูกยึดทรัพย์

สุขภาพและการเจ็บป่วย

การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังในไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2567 เพิ่มขึ้น ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น และต้องให้ความสำคัญกับอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10 – 14 ปี ที่เพิ่มขึ้น และสูงเกินค่าเป้าหมาย

ไตรมาสสี่ ปี 2567 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 จากการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยด้วย โรคไข้หวัดใหญ่ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2566 ถึง 1.5 เท่า เนื่องจากมีการระบาดต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสหนึ่ง ถึงไตรมาสสี่ สำหรับในภาพรวมปี 2567 พบผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 31.8 โดยเป็นผู้ป่วย โรคไข้หวัดใหญ่สูงที่สุด

ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในระยะต่อไป คือ
1) ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น โดยในปี 2567 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหามลพิษทางอากาศมากถึง 12.3 ล้านราย และในปี 2568 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 14 กุมภาพันธ์ 2568 มีจำนวนผู้ป่วยแล้ว 9.8 แสนราย และ
2) อัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10 – 14 ปี ที่เพิ่มขึ้น และสูงเกินค่าเป้าหมายที่องค์การสหประชาชาติกำหนดไว้

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ในไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2567 เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยว ที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญคือ การจำหน่ายขนมที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์คล้ายบุหรี่ไฟฟ้า การแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีส่วนผสมของสารเสพติดและสารอันตราย รวมทั้งการจูงใจให้ดื่มด้วยเงินหรือรางวัล ไตรมาสสี่ ปี 2567 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 โดยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 ขณะที่การบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 0.7 สำหรับภาพรวมปี 2567 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากปีก่อน

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ควรให้ความสาคัญ คือ การจำหน่ายขนมที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์คล้ายบุหรี่ไฟฟ้าที่เพิ่มโอกาสในการทดลองบุหรี่ไฟฟ้าในอนาคต และการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าที่มีส่วนผสมของสารเสพติดและสารอันตราย รวมทั้งการจูงใจให้ดื่มด้วยเงินหรือรางวัล ที่อาจนำไปสู่การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาดที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่เหมาะสม ต่อสุขภาพของประชาชน

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2567 ลดลง โดยประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ คือ การพนันผ่านการถ่ายทอดสด (Live) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ การตกเป็นเหยื่อลวงรักออนไลน์ (Romance Scam) และความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของคนเดินเท้า

ไตรมาสสี่ ปี 2567 คดีอาญารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 เพิ่มขึ้นใน ทุกประเภทคดี ขณะที่ การรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนน มีการรับแจ้งผู้ประสบภัยสะสมรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของผู้บาดเจ็บร้อยละ 4.7 ผู้เสียชีวิตร้อยละ 2.3 ขณะที่ ผู้ทุพพลภาพลดลงร้อยละ 32.7 สาหรับภาพรวม ปี 2567 คดีอาญาเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 และการรับแจ้งอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5

ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่
1) การพนันผ่านการถ่ายทอดสด (Live) บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ระบุว่า กว่าร้อยละ 49.6 พบเห็นการเล่นพนัน บน Facebook และอีกร้อยละ 29.7 พบเห็นบน TikTok ซึ่งสามารถติดต่อเล่นพนันผ่าน Live ได้ทันที
2) การตกเป็นเหยื่อลวงรักออนไลน์ (Romance Scam) ข้อมูลจากสานักงานตารวจแห่งชาติ ปี 2565 – 2567 พบคดีหลอกให้รักแล้วโอนเงินจานวน 4,781 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 1.6 พันล้านบาท โดยมิจฉาชีพมักใช้ช่องทางหลอกลวง ผ่านแอปพลิเคชันหาคู่ และ
3) ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของคนเดินเท้า ข้อมูลจาก THAI RSC ปี 2567 พบคนเดินเท้าประสบอุบัติเหตุสะสมทั่วประเทศจานวน 21,961 ราย (เฉลี่ยวันละ 60 ราย/วัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากปี 2566 จึงต้องบังคับใช้กฎหมายต่อผู้ขับขี่ให้เข้มงวด และปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางเดินเท้าให้ปลอดภัยมากขึ้น

การรับเรื่องร้องเรียนผ่าน สคบ. เพิ่มขึ้น ขณะที่การร้องเรียนผ่านสำนักงาน กสทช. ลดลง เช่นเดียวกับ ในปี 2567 ที่การร้องเรียนในภาพรวมของผู้บริโภคมีแนวโน้มลดลง

ไตรมาสสี่ ปี 2567 การร้องเรียนด้านสินค้าและบริการผ่าน สคบ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.0 สินค้าออนไลน์ มีการร้องเรียนสูงสุด ขณะที่การร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคมผ่านสำนักงาน กสทช. ลดลงร้อยละ 12.4 สาหรับปี 2567 การร้องเรียนโดยรวมลดลงร้อยละ 20.4 ทั้งจาก สคบ. และสำนักงาน กสทช.

ทั้งนี้ มีประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญ คือ
1) ความเสี่ยงของการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่มาจากการใช้งานแอปพลิเคชันอันตราย โดยเฉพาะในรูปแบบที่ใช้ผลประโยชน์ล่อลวงผู้ใช้งาน อาทิ แอปพลิเคชันล่าเหรียญแลกเงิน Jagat ได้รับความนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชน จากการให้เงินรางวัลจูงใจมูลค่าสูง แต่มี ความเสี่ยงด้านข้อมูลส่วนบุคคล เช่น พิกัดตำแหน่ง
2) การติดตามผลการบังคับใช้ พ.ร.ก. ไซเบอร์ (ฉบับใหม่) ในประเด็นการร่วมรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค การควบคุมแพลตฟอร์ม P2P โดยเฉพาะแพลตฟอร์มที่ไม่ได้จดทะเบียนในไทย และการติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ
3) การแพร่ระบาดของโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายทางออนไลน์ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พบการโฆษณาผิดกฎหมายถึงร้อยละ 97.0 ของโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งหมด

คนต่างด้าวกับระบบสาธารณสุขชายแดน

ระบบสาธารณสุขของไทยถือเป็นระบบที่มีศักยภาพการรักษาและการให้บริการที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านชายแดน ทำให้มีคนต่างด้าวเข้ามาใช้บริการการรักษาในไทยเป็นจำนวนมากถึง 3.8 ล้านครั้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่เรียกเก็บไม่ได้จากคนต่างด้าว ในพื้นที่ชายแดน กลับพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีมูลค่าถึง 9.2 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ถึง 8.2 เท่าตัว ซึ่งกว่าร้อยละ 81.1 ของมูลค่าดังกล่าวมาจากพื้นที่ชายแดน ไทย – เมียนมา โดยเฉพาะจังหวัดตาก สถานการณ์ข้างต้น จึงสร้างความกังวลกับคนไทยในหลายด้าน

ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับหน่วยบริการสาธารณสุขของจังหวัดตากที่มีอาณาเขตติดกับประเทศเมียนมา พบข้อเท็จจริง ดังนี้
1) ชายแดนประเทศเมียนมาที่ติดกับจังหวัดตากขาดแคลนสถานพยาบาล ทำให้คนต่างด้าวจำเป็นต้องข้ามแดนเข้ามารักษาพยาบาลในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่มารักษาเมื่อมีอาการป่วยหนักและมีฐานะยากจน ทำให้ไม่สามารถชำระค่ารักษาพยาบาลได้
2) คนต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิในการรักษาและมารับบริการสาธารณสุขในประเทศไทย บางส่วนเป็นคนที่เกิดในประเทศไทยและควรจะได้รับสิทธิกองทุน ท.99 และ
3) โรงพยาบาลชายแดนไทยต้องเป็นด่านหน้าในการรับมือและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อร้ายแรงไม่ให้ระบาดในประเทศ ซึ่งหลายกรณี แพทย์ตามโรงพยาบาลชายแดนจาเป็นต้องไปตรวจรักษาและให้บริการในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรค

สาเหตุข้างต้นทำให้เกิดผลกระทบที่โรงพยาบาลชายแดนต้องแบกรับ ทั้งภาระในการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ รวมถึงภาระทางการเงินของโรงพยาบาลชายแดนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ การดาเนินงานของโรงพยาบาลชายแดนดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จำเป็นต้องพิจารณาประเด็น ดังนี้ 1) การจัดสรรทรัพยากรสาธารณสุขให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ทั้งทรัพยากรบุคคลและงบประมาณ โดยต้องคำนึงถึงบริบทของความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ 2) การสร้างกลไกในการยกระดับสาธารณสุขชายแดน โดยต้องเร่งรัดการดำเนินการตามเป้าประสงค์ของแผนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอาศัยกลไกภาคีเครือข่ายทั้งภายในและต่างประเทศให้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับสาธารณสุขทั้งฝั่งในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน และ 3) การเร่งรัด การพิสูจน์สิทธิในกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิให้ครบถ้วน โดยอาจใช้กลไกภาคประชาสังคมเข้ามา มีส่วนช่วยในการประสานการดำเนินการ

ผลกระทบของการใช้สมาร์ตโฟนต่อสุขภาพจิตของ Gen Z : บทเรียนจากต่างประเทศ

Gen Z ถือเป็นกลุ่มที่เติบโตมามาพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยี ผลสำรวจในไตรมาส 3 ของปี 2567 พบว่า Gen Z ร้อยละ 99.1 มีและใช้มือถือสมาร์ตโฟน และร้อยละ 99.0 มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงกว่า ทุกกลุ่มอายุ ทำให้ Gen Z มีแนวโน้มได้รับผลกระทบทางลบจากโซเชียลมีเดียมากกว่ากลุ่มวัยอื่น โดยการศึกษาของ Jonathan Haidt จาก NYU ในปี 2024 พบว่า การใช้สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ต ส่งผลต่อ Gen Z ใน 4 ด้าน คือ 1) การกีดกันการสร้างสังคมในชีวิตจริง 2) การกีดกันช่วงเวลานอนทั้งปริมาณและคุณภาพ 3) การทำให้ เสียสมาธิ และ 4) การทำให้เสพติดโซเชียลมีเดีย ซึ่งประเทศต่าง ๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญกับปัญหาสุขภาพจิตจากการใช้โซเชียลมีเดียของ Gen Z จึงออกมาตรการในการจัดการ อาทิ 1) การจำกัดอายุ เช่น ประเทศออสเตรเลียผ่านร่างกฎหมาย The Online Safety Amendment (Social Media Minimum Age) Bill 2024 โดยกาหนดอายุขั้นต่ำในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ไว้ที่ 16 ปี 2) การควบคุมเนื้อหา เช่น ประเทศอังกฤษ มีกฎหมาย The Online Safety Act 2023 ที่กำหนดให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ต้องดำเนินการป้องกันและจัดการกับเนื้อหาที่เป็นอันตราย 3) การจำกัดระยะเวลาใช้งาน เช่น ประเทศจีนออกแนวปฏิบัติกำหนดให้เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 16 ปี สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ขณะที่เด็กอายุ 16 – 18 ปี ใช้ได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน และ 4) การเพิ่มความปลอดภัยบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีร่างกฎหมาย California Age – Appropriate Design Code Act (CAADCA) ที่มีเป้าหมายเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนที่ใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์

สำหรับประเทศไทยอาจนำแนวทางกรณีของต่างประเทศมาปรับใช้ได้ตามบริบท ทั้งนี้ครอบครัวและสถานศึกษาต้องเข้ามามีบทบาทในการป้องกัน และควบคุมเพื่อลดผลเสียของการใช้มือถือ และอินเทอร์เน็ตของกลุ่มเด็กและเยาวชนร่วมกันด้วย อาทิ เป็นต้นแบบที่ดีในการใช้โซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสม และกาหนดกฎเกณฑ์พร้อมอธิบายเหตุผลในการจำกัดการใช้ ขณะที่สถานศึกษาควรมีบทบาทสร้างความตระหนักรู้ให้กับนักเรียนในการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเฉพาะด้านจริยธรรมในการใช้โซเชียลมีเดียใน การเคารพสิทธิของผู้อื่น รวมไปถึงการใช้โซเชียลมีเดียที่สร้างสรรค์

การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลจากภัยไซเบอร์ที่ไม่รู้ตัว

ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าสาหรับหน่วยงานต่าง ๆ ส่งผลให้เป็นที่ต้องการของคนหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมไปถึงผู้ไม่หวังดีที่จะนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยเฉพาะการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ที่อ่อนไหว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก่ออาชญากรรม และสร้างความเสียหายต่าง ๆ ในปี 2023 การรั่วไหลของข้อมูลสามารถสร้างความเสียหายถึง 16.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อหนึ่งบริษัท และคาดว่าในปี 2024 มูลค่า ความเสียหายจะสูงถึง 17.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทย แม้จะไม่พบความเสียหายที่ชัดเจน แต่ในช่วง ปี 2564 – 2567 มีสถิติการคุกคามทางไซเบอร์จานวน 2,135 ครั้ง มีข้อมูลรั่วไหลมากกว่า 26,000 ล้านรายการ ผ่านหลายช่องทาง

ซึ่งเมื่อประเมินความเสี่ยงของประเทศไทย พบประเด็นที่น่ากังวลที่อาจทำให้ข้อมูลรั่วไหล ดังนี้
1) คนไทยบางส่วนยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างแท้จริง โดยคนไทยร้อยละ 60 ยินยอมให้บริษัทเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิพิเศษ ส่วนลดสินค้า หรือของสมนาคุณจากบริษัท
2) ภาครัฐและเอกชนของไทยยังขาดแนวทางรองรับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ชัดเจน โดยหน่วยงานรัฐร้อยละ 75 ไม่มีแผนสาหรับรองรับการคุกคามทางไซเบอร์ ส่วนภาคเอกชนโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ร้อยละ 67 เคยถูกโจมตี ทางไซเบอร์ และทาให้การดำเนินธุรกิจหยุดชะงัก เพราะการรักษาความปลอดภัยไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
3) หลายหน่วยงานยังขาดบุคลากรทั้งจานวนและทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดย ร้อยละ 72 จากองค์กรที่ถูกละเมิดข้อมูลขาดแคลนทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยขาดแคลนทั้งในภาครัฐและเอกชน และ
4) การขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงการประสานงานระหว่างประเทศ

ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลได้ดียิ่งขึ้น อาจต้องมี การดำเนินการตั้งแต่การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล โดยการรณรงค์ผ่านสื่อต่าง ๆ การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการให้ข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ทางไซเบอร์โดยวิธีการปฏิบัติ อีกทั้งยังต้องส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ กำหนดแนวทางและพัฒนาบุคลากรเพื่อรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ชัดเจน โดยหน่วยงานรัฐและเอกชนที่มีการเก็บข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ควรจัดทำแผนการป้องกัน รวมทั้ง มีการส่งเสริมให้มีแลกเปลี่ยนข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์ระหว่างภาครัฐและเอกชน และพัฒนาบุคลากรตรวจสอบการใช้ข้อมูลของหน่วยงานในการประเมินความเสี่ยงของการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคล

“การบรรลุเป้าหมาย SDGs ในการยุติความยากจนหลายมิติ”

จากสถานการณ์ความยากจนหลายมิติกับเป้าหมาย SDGs สศช. จึงได้พัฒนาดัชนีความยากจนหลายมิติของประเทศไทย (MPI) เพื่อนำมาใช้ในการประเมินความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ใน การยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ โดยในเป้าหมายย่อยที่ 1.2 คือ ลดสัดส่วน ชาย หญิง และเด็ก ทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 โดยในปี 2566 ไทยได้บรรลุเป้าหมาย ในการลดสัดส่วนคนจนหลายมิติแล้ว โดยมีคนจนหลายมิติจำนวน 6.13 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.76 จากประชากรทั้งหมด ลดลงจากปี 2558 ที่มีสัดส่วนคนจนหลายมิติร้อยละ 20.08 ทั้งนี้ พบว่า สัดส่วนคนจน หลายมิติในทุกช่วงวัยลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มวัยแรงงานจากร้อยละ 16.06 เป็นร้อยละ 6.03 เช่นเดียวกับเพศชายและหญิงที่ลดลงจากร้อยละ 20.39 และ 19.80 เป็นร้อยละ 9.05 และ 8.50 ตามลาดับ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนคนจนหลายมิติในเกือบทุกภูมิภาคลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง ยกเว้นภาคใต้

สาหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายเกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และนโยบายรัฐ อาทิโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นอกจากนี้ หากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัด MPI จะพบตัวชี้วัดที่มี การพัฒนาที่ดีขึ้นมาก คือ การใช้อินเทอร์เน็ต การเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาด การกำจัดขยะที่เหมาะสม การเข้าถึงการศึกษา และการมีบำเหน็จบำนาญ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจาก 1) การพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค 2) การพัฒนาระบบการศึกษา หลักสูตร และการอุดหนุนทรัพยากรการศึกษา และ 3) การสร้างและเพิ่มความครอบคลุมของหลักประกันทางสังคม

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความยากจนหลายมิติของไทยยังมีประเด็นท้าทายหลายด้าน ดังนี้
1) แม้ว่าคนจนหลายมิติจะลดลงได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังมีคนจนอยู่อีกจำนวนมาก โดยเฉพาะคนจนอีกกว่าร้อยละ 18.8 ที่กำลังประสบปัญหาทั้งคุณภาพชีวิตและการเงิน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีปัญหาซับซ้อน อาจหลุดพ้นความยากจนได้ยาก
2) คนไทยอีกกว่า 24 ล้านคน เสี่ยงต่อการเป็นคนจนหลายมิติ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.7 ของประชากรทั้งหมด โดยมีความขัดสนในด้านการมีบำเหน็จ/บำนาญมากที่สุด
3) การแก้ปัญหาความยากจนหลายมิติต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งยังมีข้อจำกัดหลายประการ แม้ว่าจะมีบำเหน็จ/บำนาญรองรับยามเกษียณมากกว่าในอดีต แต่สัดส่วนคนจนหลายมิติที่ไม่มีบำเหน็จ/บำนาญอยู่ในอันดับสูง อีกทั้ง ข้อจำกัดการดึงแรงงานนอกระบบให้เข้าสู่ระบบ รวมถึงการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่อาจทำให้มีเสี่ยงต่อการไม่มีหลักประกันยามเกษียณ และ
4) การใช้นโยบายที่เหมือนกันในทุกพื้นที่ อาจไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนหลายมิติได้อย่างตรงจุด เนื่องจากปัญหามีความเชื่อมโยงกันไม่สามารถแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งเพียงอย่างเดียว

โดยจากกรณีศึกษาของต่างประเทศที่นำ MPI มาประยุกต์ใช้ อาทิ ภูฏาน ใช้ MPI ในการตั้งเป้าหมายระดับประเทศและการวางแผนจัดสรรงบประมาณ เม็กซิโก นำข้อมูล MPI มาใช้กำหนดกลุ่มเป้าหมายและจัดลำดับความสาคัญในการแก้ปัญหา เวียดนาม มีการจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูล MPI ร่วมกับข้อมูลอื่น เพื่อสร้างความคุ้มครองทางสังคมให้แก่คนจนหลายมิติและประชาชนที่ขัดสนด้านต่าง ๆ และ โคลอมเบีย ที่ใช้ในการจัดทำกรอบทะเบียนครัวเรือนยากจนแห่งชาติ (SISBEN)

ทั้งนี้ ไทยจึงต้องมีแนวทางการลดความยากจนในระยะถัดไป ดังนี้ 1) การปรับเป้าหมาย ตัวชี้วัด และเกณฑ์ความขัดสนให้มีความท้าทายยิ่งขึ้น 2) การส่งเสริมให้นำ MPI มาวิเคราะห์เพื่อหากลุ่มเป้าหมายในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาความยากจน 3) การใช้ MPI เป็นข้อมูลประกอบ การจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหา และ 4) การจัดทำข้อมูลให้สะท้อนคุณภาพชีวิตและครัวเรือนทุกรูปแบบเพื่อให้สามารถออกแบบนโยบายช่วยเหลือคนเหล่านี้ให้ได้อย่างแท้จริง