โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

AI สามารถสร้างงานศิลปะ ได้อย่างไร ? และรูปศิลปะ ที่สร้างด้วย AI นำไปจดลิขสิทธิ์ได้ไหม ?

Thaiware

อัพเดต 05 ต.ค. 2565 เวลา 02.00 น. • เผยแพร่ 05 ต.ค. 2565 เวลา 02.00 น. • moonlightkz
AI สามารถสร้างงานศิลปะ ได้อย่างไร ? และรูปศิลปะ ที่สร้างด้วย AI นำไปจดลิขสิทธิ์ได้ไหม ?
เทคโนโลยี AI สามารถสร้างงานศิลปะ ได้อย่างไร ? มาดูประวัติของมันกัน และเราสามารถนำ รูปศิลปะ หรืองานศิลปะ ที่สร้างด้วย AI ไปจดลิขสิทธิ์ได้หรือไม่ ? หาคำตอบกันเลย

รูปศิลปะที่สร้างด้วย AI จดลิขสิทธิ์ได้ไหม ?

หากคุณเกาะติดเทรนด์บนโซเชียลเน็ตเวิร์กอยู่เสมอ ในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ คุณน่าจะเห็นเทรนด์การแชร์ภาพผลงานศิลปะจำนวนมากบนไทม์ไลน์ของคุณ ไม่ต้องแปลกใจไป เพราะว่าในปัจจุบันนี้มี เทคโนโลยี AI ที่ช่วยให้คนธรรมดาที่วาดรูปไม่เป็น สามารถสร้างผลงานศิลปะได้เองอย่างง่าย ๆ ด้วยการพิมพ์ข้อความบรรยายลักษณะภาพที่ต้องการ จากนั้นก็ปล่อยให้ AI รังสรรค์ภาพให้คุณภายในเวลาไม่กี่วินาที

อย่างภาพด้านล่างนี้ ผู้เขียนเองก็ใช้ AI Midjourney วาดให้ โดยบอกว่า "อยากได้ท้องฟ้าที่มีความแฟนตาซี และความลึกลับ" ผลงานที่ได้ถือว่าไม่เลวเลยใช่ไหมล่ะครับ

AI สามารถสร้างงานศิลปะ ได้อย่างไร ? และรูปศิลปะ ที่สร้างด้วย AI นำไปจดลิขสิทธิ์ได้ไหม ?
AI สามารถสร้างงานศิลปะ ได้อย่างไร ? และรูปศิลปะ ที่สร้างด้วย AI นำไปจดลิขสิทธิ์ได้ไหม ?

AI สามารถสร้างผลงานศิลปะ ได้อย่างไร ?

(How is AI Art Created ?)

ความจริงแล้ว การพัฒนาให้ AI สามารถสร้างผลงานศิลปะนั้น เป็นความพยายามของมนุษย์ที่ทำกันมาเกือบ 50 ปีแล้ว โดยนักพัฒนาต้องการให้คอมพิวเตอร์สามารถสร้างภาพขึ้นมา จากคำอธิบายที่ผู้ใช้งานพิมพ์ป้อนคำสั่งเข้าไป แล้วคอมพิวเตอร์จะทำความเข้าใจเพื่อสร้างภาพออกมาได้ โดยจะเรียกขั้นตอนการเปลี่ยนข้อความให้เป็นภาพนี้ว่า "Algorithmic Art"

จุดเริ่มต้นของการให้คอมพิวเตอร์สร้างงานศิลปะนั้น เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) โดย Harold Cohen ผู้เป็นศิลปินได้เขียน โปรแกรม AARON ขึ้นมา โดยตัวโปรแกรมสามารถวาดภาพตามหลักเกณฑ์ที่เขาวางกฏเอาไว้ได้ ซึ่งตัวเขาเองได้พยายามพัฒนามันอย่างต่อเนื่องหลายสิบปี จนกระทั่งหยุดพัฒนาลงในที่สุดหลังจากที่ตัว Cohen ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559)

อย่างไรก็ตาม การทำงานของ AARON นั้นเหมือนเครื่องมือช่วยสร้างภาพของศิลปินมากกว่า เพราะแนวคิดการออกแบบผลงาน ต้องอาศัยตัวผู้ใช้ในการวางแผนอยู่ดี แตกต่างจากการทำงานของวิธีสร้างศิลปะด้วยโปรแกรมในปัจจุบันนี้ ที่ใช้พลังของ AI และ Machine learning ในการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสร้างผลงานศิลปะขึ้นมาได้ด้วยตนเอง ตามโจทย์ของผู้ใช้

ในการเขียนให้ AI สามารถสร้างสรรค์ผลงานศิลปะขึ้นมาได้ ตรรกะของ AI จะต้องไม่คิดตามกฏข้อใดข้อหนึ่ง แต่จะต้องเรียนรู้หลักสุนทรียศาสตร์ จากภาพศิลปะจำนวนมหาศาล แล้วนำตรรกะที่ได้เรียนรู้มานานมาสร้างภาพใหม่ขึ้นมาโดยอิงจากหลักสุนทรียศาสตร์ที่มันได้เรียนรู้มา

AI สร้างศิลปะส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จะใช้เทคนิคการพัฒนาที่เรียกว่า Generative adversarial networks (GANs) ที่ถูกริเริ่มโดย Ian Goodfellow นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันคิดค้นขึ้นมาในปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) โดยจะอาศัยหลักอัลกอริทึมแบบปฏิปักษ์ (Adversarial) ด้วยการแบ่ง AI ออกเป็น 2 ฝ่าย ฝั่งหนึ่งจะสร้างภาพแบบสุ่ม ส่วนอีกฝั่งจะเรียนรู้การประเมินว่าภาพดังกล่าวถูกต้องตรงกับคำสั่งที่ได้รับหรือไม่ ?

ตัวอย่างเช่น ศิลปินทำการใส่ตัวอย่างภาพแนวบุคคล (Portraits) ที่ถูกวาดขึ้นมาในช่วงเวลา 500 ปี ที่ผ่านมาให้ AI ได้เรียนรู้ว่าภาพแนวบุคคลเป็นอย่างไร ? แล้วก็ให้มันสร้างภาพศิลปะใหม่ขึ้นมา จากนั้นศิลปินก็จะทำการประเมินว่ามีรูปไหนบ้าง ? ที่ AI สามารถสร้างได้ถูกต้องตามคำสั่ง เราเรียกขั้นตอนนี้ว่าการ "Post-curation"

ในขั้นตอนดังกล่าว ตัวศิลปินจะต้องคอยตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในช่วง Pre และ Pro-curation เพื่อปรับแต่งการทำงานของอัลกอริทึม ให้สามารถทำงานได้แม่นยำขึ้น

หัวใจสำคัญของการออกแบบ "Algorithmic art" คือตัวอัลกอริทึมจะต้องไม่ดำเนินตามกฏเกณฑ์ตายตัว แต่เรียนรู้ว่าความสุนทรียศาสตร์มันเป็นอย่างไรจากการวิเคราะห์ภาพจำนวนมหาศาล เพื่อนำข้อมูลความสุนทรียศาสตร์ที่มันเรียนรู้ได้มาสร้างเป็นผลงานชิ้นใหม่

ผลงานศิลปะที่สร้างด้วย AI สามารถนำมาจดลิขสิทธิ์ได้ไหม ?

(Can AI Art be Copyrighted ?)

ในมุมมองของผู้ใช้งาน ผลงานศิลปะที่สร้างด้วย AI ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการพิมพ์คำสั่งง่าย ๆ ลงไป เช่น "Girl in gothic dress eat sushi in the tokyo night" (สาวในชุดโกธิคทานซูชิในโตเกียวยามค่ำคืน) จากนั้นก็ปล่อยให้ AI คิด และสร้างภาพออกมา ผลลัพธ์ที่ได้ถือว่าสวยงาม และตรงกับคอนเซปส์ที่วางเอาไว้ให้

AI สามารถสร้างงานศิลปะ ได้อย่างไร ? และรูปศิลปะ ที่สร้างด้วย AI นำไปจดลิขสิทธิ์ได้ไหม ?
AI สามารถสร้างงานศิลปะ ได้อย่างไร ? และรูปศิลปะ ที่สร้างด้วย AI นำไปจดลิขสิทธิ์ได้ไหม ?


Girl in gothic dress eat sushi in the tokyo night วาดด้วย Midjourney

มันก็ดูเป็นเรื่องสนุกดี ที่คนธรรมดาก็สามารถสร้างผลงานศิลปะเจ๋ง ๆ ออกมาได้ แต่ว่าเบื้องหลังความสวยงาม ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า มันเป็นการนำภาพศิลปะที่มีอยู่แล้วมาใช้เป็นแรงบันดาลใจ ยำรวมมิตรคิดออกมาเป็นภาพใหม่ตามโจทย์ที่ผู้ใช้สั่ง ซึ่งในตอนนี้ AI ก็มีความฉลาดถึงขนาดสามารถสร้างงานใหม่ ที่เลียนแบบเอกลักษณ์ของศิลปินต่าง ๆ ได้แล้วด้วยซ้ำ

แน่นอนว่างานนี้ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็มีความเห็นแตกต่างกันออกไป มีศิลปินที่เห็นด้วย และไม่พอใจ มุมมองจากทนาย และนักพัฒนา ที่แนวคิดขัดแย้งกัน แต่ไม่ว่าฝ่ายไหนจะคิดเห็นอย่างไรก็ตาม สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับทางศาล

ในการฝึกฝน AI จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งข้อมูลที่มีประโยชน์ส่วนใหญ่ในโลกใบนี้ก็ล้วนแต่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่ ทางผู้พัฒนา AI เชื่อว่า พลังของ AI จะมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติ มันเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ชีวิตของเราทุกคนดีขึ้นได้ ผู้พัฒนาบางส่วนมองว่า กฏหมายลิขสิทธิ์ และกฏหมายเครื่องหมายการค้า จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี AI ที่เป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตด้วย ซึ่งตอนนี้กฏหมายยังไม่เปลี่ยน ดังนั้น เราจะมาวิเคราะห์ตามหลักกฏหมายในปัจจุบันกันไปก่อน

ถ้าถามว่าเราสามารถนำผลงานศิลปะที่สร้างด้วย AI ไปจดลิขสิทธิ์ได้ไหม ? คำตอบคือ "ไม่ได้ ❌"

เรามาเริ่มกันที่เหตุผลว่า ทำไมเราถึงอยากปกป้องการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปะของคุณกันก่อน

  • คุณต้องการที่จะปกป้องตนเองจากการถูกฟ้องร้องที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
  • คุณต้องการป้องกันตัวเองจากข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้อื่น

ข้อแรกนั้น ในทางทฤษฎีเป็นเรื่องที่พิสูจน์ค่อนข้างง่าย หากมีคนมากล่าวหาว่าคุณลอกเลียนแบบงานของเขาไป คุณไม่จำเป็นต้องจ้างทนายราคาแพงมาสู้คดี คุณสามารถยื่นหลักฐานข้อนตอนการการสร้างผลงานของตัวคุณเองเพื่อพิสูจน์ความจริงได้เลย แต่มันเป็นเรื่องยากถ้าคุณสั่งให้ AI วาดให้ เพราะขั้นตอนของคุณมีแค่การพิมพ์โจทย์ไม่กี่ประโยคเท่านั้น

ส่วนข้อสองนั้นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับงานศิลปะที่ใช้ AI ในการสร้างขึ้น โดยถ้ามีใครคนหนึ่งสามารถใช้ AI สร้างสรรค์ผลงานที่ไปละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นขึ้นมา มันก็จะเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่ยากด้วย เพราะ งานที่ AI สร้างขึ้นมาได้ มันก็จะมาจากแนวทาง และโทนของภาพ ที่นำแนวทางมาจากภาพดั้งเดิมที่มีลิขสิทธิ์คุ้มครองอยู่

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ 2022 (พ.ศ. 2565) สำนักงานลิขสิทธิ์แห่งสหรัฐอเมริกาได้ “ปฏิเสธที่จะจดลิขสิทธิ์” สำหรับงานศิลปะที่ทำโดย AI โดยกล่าวว่า "ฝีมือการออกแบบของมนุษย์เป็นข้อกำหนดเบื้องต้นในการคุ้มครองลิขสิทธิ์" อย่างไรก็ตาม คดีนี้กำลังถูกยื่นอุทธรณ์ต่อศาลรัฐบาลกลาง เนื่องจากผู้สร้าง AI ให้เหตุผลว่าเมื่อเขาเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมแล้ว เขาก็ควรจะสามารถเรียกร้องลิขสิทธิ์จากผลงานที่ผลิตได้ แม้ว่าในที่สุดแล้ว การตัดสินใจในกรณีนี้ ทางศาลจะต้องใช้เวลาในการพิจารณาอย่างยาวนาน และอาจต้องให้มีกรณีเช่นนี้อีกหลายคดีมากขึ้นมาประกอบการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดฉันทามติทางกฎหมายที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้

สิ่งที่ผู้ใช้ AI สร้างงานศิลปะทำได้ในตอนนี้คือ การใช้ Creative Commons ที่อนุญาตให้ผู้ใช้เผยแพร่งานได้ โดยที่ต้องให้เครดิตที่มาของภาพอยู่ ว่าใครเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน

➤ Website : https://www.thaiware.com
➤ Facebook : https://www.facebook.com/thaiware
➤ Twitter : https://www.twitter.com/thaiware
➤ YouTube : https://www.youtube.com/thaiwaretv

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น