โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ธนชาตผลัดใบ ตั้ง “ประพันธ์” นั่งแม่ทัพใหญ่ในยุคสงคราม FinTech จับตาการควบรวม

Marketing Oops

อัพเดต 22 ม.ค. 2562 เวลา 11.38 น. • เผยแพร่ 22 ม.ค. 2562 เวลา 11.12 น. • Watokung
ธนชาตผลัดใบ ตั้ง “ประพันธ์” นั่งแม่ทัพใหญ่ในยุคสงคราม FinTech จับตาการควบรวม

CEO-Thanachart
CEO-Thanachart

เรียกได้ว่าชื่อของ ธนาคารธนชาต” ร้อนแรงตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา กับข่าวลือหนาหูถึงการควบรวมกับแบงค์ใหญ่อย่าง TMB ที่เหมือนอาจจะไม่ใช่แค่ข่าวลือ เมื่อมีการเข้าพบ รมว.คลังในฐานะผู้ถือหุ้นธนาคาร TMB โดยตำแหน่ง ก่อนจะมีการให้กลับไปพิจารณาวิธีการควบรวมใหม่ โดยหลายฝ่ายตั้งเป้าว่าน่าจะสามารถควบรวมได้ในช่วงม่เกินไตรมาสแรกของ 2562 นี้

หลังจากที่ข้ามเข้ามาสู่โลกในปี 2562 ธนาคารธนชาตก็เป็นที่รู้จักอีกครั้ง เมื่อมีการแต่งตั้ง CEO คนใหม่ของธนาคารธนชาติอย่าง คุณประพันธ์ อนุพงษ์องอาจ ลูกหม้อเก่าของธนชาตจากตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ สู่บทบาทใหม่กับภาระที่ใหญ่ยิ่งในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต

สำหรับภาระกิจหลักของ CEO คนใหม่คือการสานต่อนโยบายเชิงรุกภายใต้นโยบาย Customer Centric ที่เน้นหลักการทำงานในเรื่อง Fast & Focused ผ่านกลยุทธ์ทั้ง 4 ด้านที่ประกอบไปด้วย การปรับผังผู้บริหารและตั้งหน่วยงานใหม่, การขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล, การลดกระบวนการทำงานต่างๆ (Agilityและ การเพิ่มความรู้ทักษะให้กับพนักงาน

TBank
TBank

โดยการปรับผังผู้บริหารและตั้งหน่วยงานใหม่ จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการทำงานในแต่ละส่วนงาน เพื่อให้ผู้บริหารพุ่งเป้าไปในธุรกิจที่ตัวเองดู และมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาร่วมด้วย เช่น การตั้งหน่วยงาน Enterprise Digital Banking (EDP) เพื่อศึกษาพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไปและวางกลยุทธ์ด้านดิจิทัลให้เหมาะสมตามนโยบาย Customer Centric

พร้อมทั้งยังมีการนำโมเดลการบริหารธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จมาเป็นต้นแบบบริหารธุรกิจด้านอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการให้ทีมบริหารแต่ละส่วนงานดูแลงานขายและงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

Thanachart Auto
Thanachart Auto

ในส่วนของ การขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล (Data Driven Organization) จะเป็นการให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลมาขับเคลื่อนธุรกิจทุกทิศทางและเกิดประโยชน์ในการให้บริการแก่ลูกค้า ขณะที่ การลดกระบวนการทำงานต่างๆ (Agility) จะเป็นการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาร่วมในการทำงาน เพื่อให้เกิดการบริการได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น

โดยที่ผ่านมาธนาคารธนชาตได้พัฒนาระบบ Automotive Lending Digital Experience (ALDX) ให้เจ้าหน้าที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และ การเพิ่มความรู้ทักษะพนักงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้พนักงานมีความรู้รอบด้าน สามารถให้คำปรึกษาด้านการเงินแก่ลูกค้าได้

20190121_142252
20190121_142252

ที่สำคัญกลยุทธ์ทั้งหมดจะสอดรับกับพันธกิจ 4 เรื่องเช่นกัน ประกอบไปด้วย การรักษาความเป็นที่หนึ่งในตลาดสินเชื่อรถยนต์ โดยในปีที่ผ่านมาสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของธนาคารธนชาตเติบโตขึ้นถึง 13.44% และในปีนี้คาดว่าจะสามารถโตได้ไม่น้อยกว่า 10% การพัฒนาสินเชื่อให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ จากความสำเร็จของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ จึงนำไปสู่การนำโมเดลการบริหารงานในฝ่ายสินเชื่อรถยนต์ไปใช้กับกลุ่มสินเชื่ออื่น เช่น สิ้นเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อ SME เป็นต้น การเพิ่มบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน (CASA) ซึ่งธนาคารธนชาตถือเป็นหัวใจสำคัญในการให้บริการด้านอื่นๆ และการขยายสัดส่วนธุรกิจลูกค้ารายย่อย 

20190121_141205
20190121_141205

สำหรับในปี 2561 ที่ผ่านมา ธนาคารธนชาตมีผลกำไรสุทธิทั้งปีอยู่ที่ 14,703 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ขณะที่ตัวเลขหนี้เสีย (NPL Ratio) คงที่ 2.3%  มีสินทรัพย์รวมกันกว่า 1 ล้านล้านบาท

ในส่วนของการควบรวมระหว่างธนาคารธนชาตและ TMB นั้น ด้านคุณประพันธ์ชี้ว่า การควบรวมนั้นเป็นเรื่องของผู้ถือหุ้น ในส่วนของผู้บริหารจะมุ่งพัฒนาตามกลยุทธ์ที่ได้วางไว้ โดยปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดใดๆ ออกมา ผู้บริหารและพนักงานธนาคารธนชาตจะยังคงดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ ซึ่งแผนดังกล่าวสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ หากมีสถานการณ์เกิดขึ้นที่กระทบต่อตลาดรวมและต่อธนาคารธนชาตเอง

เรียกว่า CEO คนใหม่ของธนาคารธนชาต ก็ยังคงแบ่งรับแบ่งสู้กับสถานการณ์การควบรวมธนาคาร แม้จะมีนักวิชาการด้านการเงินหลายท่านฟันธงไปแล้วว่า “ควบรวม” แน่นอนแต่เรื่องของอนาคตไม่มีใครรู้ได้อย่างแน่นอน ต้องจับตาดูสถานการณ์การควบรวมต่อไป พร้อมๆ กับรอดูความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับธนาคารธนชาตที่อาจได้เห็นการพลิกโฉมครั้งใหญ่กับแบงค์สีส้มแห่งนี้

 

อ่านบทความทั้งหมด ที่ MarketingOops.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น