โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วิตามินละลายในไขมัน (A, D, E, K)

HonestDocs

อัพเดต 31 ต.ค. 2563 เวลา 20.06 น. • เผยแพร่ 31 ต.ค. 2563 เวลา 20.06 น. • HonestDocs
วิตามินละลายในไขมัน (A, D, E, K)
วิตามินที่ละลายในไขมัน มีอะไรบ้าง? วิตามิน A, D, E, K ละลายในไขมันได้หรือไม่ อย่างไร? วิตามินที่ละลายในไขมัน มีหน้าที่ทำอะไร มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านใดบ้าง? อ่านที่นี่

หลายคนรู้จักวิตามินชนิดละลายในน้ำเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นวิตามินที่หลายคนนิยมกินเป็นอาหารเสริม เช่น อาหารเสริมวิตามินซี แต่ก็ยังสงสัยวิตามินอีกชนิดที่ละลายในไขมัน ว่ามันคืออะไร ทำงานอย่างไร และมีวิตามินตัวไหนบ้าง? คุณสามารถทำความรู้จักกับวิตามินละลายในไขมันได้ในบทความนี้

วิตามินละลายในไขมันคืออะไร?

วิตามินชนิดละลายในไขมัน จะไม่สามารถละลายในน้ำได้ แต่ต้องอาศัยไขมันในการเปลี่ยนรูป เพื่อให้ผนังลำไส้สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ 

วิตามินชนิดละลายในไขมันจะไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ ดังนั้นหากเรารับวิตามินกลุ่มนี้มากไป และไม่มีไขมันมากพอที่จะละลายวิตามินเหล่านี้ไปใช้ วิตามินเหล่านี้จะถูกเก็บสะสมไว้ในร่างกาย และเป็นพิษได้ในระยะยาว

วิตามินละลายในไขมันมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร

วิตามินละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี วิตามินเค เป็นวิตามินที่ทนต่อความร้อนได้ดี และต้องอาศัยอาหารประเภทไขมันในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งวิตามินแต่ละตัวจะมีประโยชน์แตกต่างกันออกไป ดังนี้

วิตามินเอ

วิตามินเอ หรือเรตินอล (Retinol) เป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนที่อยู่ที่จุดรับแสงเรตินาในดวงตา ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเยื่อบุตา และ กระจกตา ช่วยในการมองเห็น

แหล่งที่พบวิตามินเอ และแคโรทีนอยด์

วิตามินดี

วิตามินดี หรือแคลซิเฟอรอล (Calciferol) มีหน้าที่หลักในการช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรง และป้องกันโรคกระดูกบาง (Osteopenia) และโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis

นอกจากนี้ วิตามินดีมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ จึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการสำคัญต่างๆ ในร่างกาย  เช่น ช่วยลดฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid hormone) ป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin hormone) ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด และป้องกันโรคเบาหวาน

แหล่งที่พบวิตามินดี

  • ร่างกายสามารถผลิตวิตามินดีได้จากแสงแดดในช่วงเช้า โดยแสงอัลตราไวโอเลตในแสงแดด จะกระทบกับสาร 7-ดีไฮโดรคอเลสเทอรอล (7-dehydrocholesterol) ที่ใต้ผิวหนัง แล้วเปลี่ยนเป็นวิตามินดี 
  • วิตามินดี ยังพบได้ในอาหารจำพวก น้ำมันตับปลา นม ไข่แดง ปลาทู ปลาแซลมอน

วิตามินอี

วิตามินอี หรือโทโคฟีรอล (Tocopherol) เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ช่วยป้องกันเม็ดเลือดแดงแตก ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดและป้องกันการอุดตันของเส้นเลือด ป้องกันการอักเสบในร่างกาย และช่วยต้านอนุมูลอิสระ

แหล่งที่พบวิตามินอี

  • วิตามินอี พบได้ใน ไข่ ผักผลไม้ อาหารจำพวกถั่ว เมล็ดพืช ธัญพืช น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน

วิตามินเค

วิตามินเค หรือฟิลโลควิโนน (Phylloquinone) มีหน้าที่สร้างโปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ในเด็กที่วิตามินเคต่ำจะมีอาการเลือดออกผิดปกติให้เห็นได้บ่อยๆ เลือดจะออกง่าย เลือดไหลแล้วหยุดช้า

แหล่งที่พบวิตามินเค

  • แหล่งอาหารที่พบวิตามินเค เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก เนย นมสด เนื้อสัตว์ คะน้า ข้าวโพด กะหล่ำดอก มะเขือเทศ กะหล่ำปลี ลูกแพร์ กล้วย ราสเบอร์รี่ และผักใบสีเขียว

เนื่องจากร่างกายจำเป็นต้องใช้ไขมันในการดูดซึมวิตามินประเภทนี้ การรับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณที่พอเหมาะจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @hdcoth หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น