น้อยคนจะรู้ว่า พฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ"ตับ" ไม่ได้มีเพียงคนที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินยาผิดประเภท หรือ กินอาหารที่มีไขมันมากกว่าปกติเท่านั้น การกิน"ผัก" ที่จัดว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ในบางชนิดอาจกลายเป็นพิษต่อตับได้ จากการกินแบบไม่ถูกวิธี
เว็บไซต์ต่างประเทศได้เผยแพร่คำแนะนำของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ หากต้องการให้ตับมีสุขภาพที่ดี ควรจำกัดหรือหลีกเลี่ยงผัก 4 ชนิดที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "ราชาของโรคตับเน่า"
1. มะเขือเทศสีเขียว
มะเขือเทศสีเขียว เป็นมะเขือเทศที่ยังไม่สุกเต็มที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก เนื่องจากมี "อัลคาลอยด์" ในปริมาณมาก โดยเฉพาะโซลานีนที่เป็นพิษ
สารดังกล่าวเป็นพิษต่อร่างกายของมนุษย์ หากกินเข้าไปแล้ว กระเพาะอาหารจะต้องย่อย และตับเป็นอวัยวะที่ย่อยสลายสารพิษและเผาผลาญสารพิษเหล่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้การทำงานของตับบกพร่อง และเป็นโรคตับ รวมถึงมะเร็งตับได้
หากกิน มะเขือเทศสีเขียว ในปริมาณน้อยก็อาจทำให้รู้สึกไม่สบายได้ แต่หากรับประทานบ่อยๆ หรือในปริมาณมากในคราวเดียว ก็อาจทำให้เกิดพิษที่เป็นอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้เลย อาการพิษจากการกินมะเขือเทศสีเขียว มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายไหล อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และอาการอื่นๆ
2. ถั่วงอกตัดราก
ถั่วงอก เรียกได้ว่าเป็นผักท่อยู่ในจานอาหารหลากหลายเมนูทั้งในรูปแบบสุกและดิบ แต่ถ้าหากรับประทานเข้าไปจะทำให้สะสมสารพิษ ร่างกายทำงานหนักเกินไป ตับและอวัยวะอื่นๆ จะเสียหายได้ เมื่อเวลาผ่านไปเซลล์มะเร็งตับสามารถก่อตัวขึ้น ดังนั้น ควรรับประทานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หรือควรงดออกจากมื้ออาหารเลย หากต้องการมีตับที่แข็งแรง
เนื่องจากถั่วงอกประเภทนี้ปลูกโดยการแช่น้ำและใช้สารกระตุ้นการเจริญเติบโต จึงสามารถเก็บเกี่ยวได้ในเวลาอันสั้นมาก แม้ว่าพวกมันจะสร้างผลกำไรให้กับผู้ผลิต แต่ในระหว่างกระบวนการนี้ พวกมันจะดูดซับสารพิษและถูกกระตุ้นทางเคมีมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ได้
3. พืชตระกูลถั่วที่ยังไม่สุก
พืชตระกูลถั่วดีต่อสุขภาพ แต่หากไม่ปรุงอย่างเหมาะสม พวกมันอาจเป็นพิษพอๆ กับสารหนูได้ เนื่องจากมีสารหลายชนิด เช่น ไฟโตเฮมักกลูตินิน สารพิษไกลโคไซด์ สารยับยั้งโปรตีเอส ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะตับและกระเพาะอาหาร
เมล็ดถั่วรูปทรงไต (kidney bean) ถั่วแดง และถั่วขาว ที่ปรุงไม่สุกถือเป็น "ราชาแห่งโรคตับเน่า" เนื่องจากถั่วไตดิบมีซาโปนินและเลคตินที่ทำให้ตับถูกทำลาย หากใช้ในปริมาณมากเป็นเวลานานอาจทำให้การทำงานของตับเสียหายได้ง่ายและทำให้เกิดโรคตับได้
นอกจากนี้ พืชตระกูลถั่วทั่วไปที่ยังไม่สุก โดยเฉพาะถั่วแดงอาจทำให้เกิดพิษระดับเล็กน้อยถึงรุนแรงได้ อาการของการเป็นพิษ ได้แก่ ท้องอืด อาเจียน ท้องร่วง และรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ เหงื่อออกเย็น ชาตามแขนขา และอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท
4.เห็ดหูหนูที่แช่ไว้นาน
เห็ดหูหนู หากแช่ไว้นานกว่า 8 ชั่วโมง หรือแช่ข้ามคืน เห็ดหูหนูก็จะเน่าเสียได้ง่าย ซึ่งเอื้อต่อการที่แบคทีเรียที่เป็นอันตรายเจริญเติบโต และพัฒนากลายเป็น "พิษ" ที่เป็นอันตรายต่อตับได้ โดยเฉพาะ แบคทีเรียที่ผลิตสารพิษ BKA ที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง และสารก่อมะเร็งอะฟลาทอกซิน ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งตับได้ง่าย
สารเหล่านี้ไม่สามารถสลายตัวได้ง่ายที่อุณหภูมิสูง ดังนั้น แม้ว่าอาหารจะสุกเต็มที่ก็ไม่สามารถทำลายสารพิษได้ทั้งหมด โดยอาการที่พบบ่อยของการเป็นพิษ ได้แก่ ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน และในกรณีที่รุนแรงกว่านั้น อาจทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายล้มเหลวได้ ที่สำคัญคือยาแผนปัจจุบันไม่มียาแก้พิษจำเพาะ จึงมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 50%
ดังนั้นเพื่อปกป้องสุขภาพ ให้ล้างเห็ดหูหนูก่อน และแช่น้ำเป็นเวลา 15 - 20 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ ไม่ควรรับประทานเห็ดหูหนูสด เนื่องจากมีสารมอร์โฟลีน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคัน บวมน้ำได้ง่าย และในกรณีที่ร้ายแรงกว่านั้น อาจทำให้เกิดผิวหนังเนื้อตาย และอาการแพ้อื่นๆ อีกมากมาย
ข้อมูลจาก : soha
ความเห็น 0