โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ซีอีโอไบโอเอ็นเทคประเมิน โลกอาจต้องการวัคซีนสูตรใหม่ เพื่อรับมือเชื้อกลายพันธุ์กลางปีหน้า

TODAY

อัพเดต 03 ต.ค. 2564 เวลา 23.46 น. • เผยแพร่ 03 ต.ค. 2564 เวลา 23.46 น. • workpointTODAY
ซีอีโอไบโอเอ็นเทคประเมิน โลกอาจต้องการวัคซีนสูตรใหม่ เพื่อรับมือเชื้อกลายพันธุ์กลางปีหน้า

ผู้บริหารไบโอเอ็นเทคเชื่อว่าวัคซีนตัวใหม่ยังไม่จำเป็นในปีนี้ แต่กลางปีหน้าอาจต้องใช้ เหตุไวรัสมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง

วันที่ 3 ต.ค. 2564 เว็บไซต์ไฟแนนเชียลไทมส์ (Financial Times) รายงานบทสัมภาษณ์ของ อูเกอร์ ซาฮิน ซีอีโอของไบโอเอ็นเทค (BioNTech) บริษัทสัญชาติเยอรมันผู้พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ร่วมกับไฟเซอร์ (Pfizer) ที่ออกมาคาดการณ์ว่า อาจต้องมีการพัฒนาวัคซีนสูตรใหม่เพื่อนำมาใช้ในช่วงกลางปีหน้า เพื่อปกป้องมนุษย์จากไวรัสกลายพันธุ์ 

นายซาฮินกล่าวว่า ในปีนี้ วัคซีนสูตรใหม่ยังไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด ถึงแม้สายพันธุ์ในปัจจุบันจะแพร่ได้ง่ายขึ้น แต่ยังไม่แตกต่างจากตัวเดิมมากพอจนทำให้วัคซีนไม่สามารถคงประสิทธิภาพได้ แต่ภายในกลางปีหน้า สถานการณ์อาจจะต่างออกไป 

โดยไวรัสจะยังอยู่ และมันจะปรับตัวไปมากกว่านี้ ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะคาดเดาว่าไวรัสรุ่นต่อไปนั้นสามารถรับมือได้ง่ายขึ้น นี่คือการวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และการวิวัฒนาการนั้นเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น

แม้ว่าการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นจะสามารถช่วยรับมือการกลายพันธุ์หลักๆ ได้ แต่ในที่สุด ไวรัสจะกลายพันธุ์จนสามารถหลบเลี่ยงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนได้ 

ซีอีโอของไบโอเอ็นเทคยังเชื่อว่า ภายในปีหน้า การกระจายวัคซีนจะแบ่งเป็น 2 ทางหลักๆ คือการฉีดกระตุ้นให้แก่ผู้ที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว กับการพยายามฉีดให้แก่ผู้ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงได้

แม้ว่าหลายประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนา และองค์กรช่วยเหลือต่างๆ จะออกมากดดันให้มีการแบ่งปันสิทธิบัตรเพื่อให้สามารถผลิตวัคซีนได้เยอะขึ้น แต่นายซาฮินได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว และเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านการควบคุมคุณภาพขึ้นมา

ขณะที่ อัลเบิร์ต เบอร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์ เคยออกมาปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า การแบ่งปันสิทธิบัตรให้ใช้ในวงกว้าง จะส่งผลให้บริษัทใหญ่ไม่กล้าที่จะลงทุนในนวัตกรรมเช่นนี้อีกในอนาคต

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0