โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นักวิทย์ระบุอุณหภูมิที่ดีที่สุด สำหรับทุกชีวิตบนโลก

Environman

เผยแพร่ 25 เม.ย. เวลา 12.00 น.

‘แบบไหนที่เรียกว่าสวรรค์?’ นักวิทยาศาสตร์ระบุอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกชีวิตบนโลก ร้อนไปก็ไม่ดี หนาวไปก็ลำบาก ขอกลาง ๆ แบบสบาย ๆ ละกันดีที่สุด

ตั้งแต่ทะเลทรายที่รัอนจัดไปจนถึงขั้วโลกสุดหนาว แม้แต่สภาพแวดล้อมที่ดูจะรกร้างและห่างไกลที่สุด ที่แห่งนั้นก็ยังมีเซลล์เล็ก ๆ เกาะอยู่ข้างปล่องความร้อนใต้มหาสมุทรลึกที่ดำมืด ภาพธรรมชาติเหล่านี้อาจให้ความรู้สึกว่าสิ่งมีชีวิตนั้นแข็งแกร่งและแพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างแท้จริง

แต่หากมองลึก ๆ แล้วในบางสถานที่เช่นที่หนาวหรือร้อนเกินไปก็ไม่ได้มีความหลากหลายทางชีวภาพเท่าไหร่ ดังนั้นจึงทำให้เกิดคำถามว่าสภาพแวดล้อมแบบไหนเหมาะที่สุดสำหรับชีวิต หรือพูดให้ลึกลงไปยิ่งกว่านั้นคือ อุณหภูมิเท่าไหร่ที่เป็น ‘สวรรค์’ ของทุกชีวิตบนโลก?

“สำหรับสัตว์ทุกชนิด ความสัมพันธ์กับอุณหภูมิจะเป็นเส้นโค้งรูประฆังแบบไม่สมมาตร” Mark John Costello ศาสตราจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ของมหาวิทยาลัย Nord และ Ross Corkrey ผู้ช่วยนักวิจัยอาวุโสด้านชีวสถิติ มหาวิทยาลัยแทสเมเนีย กล่าว

“ซึ่งหมายความว่ากระบวนการทางชีววิทยาจะเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิจนถึงระดับสูงสุด จากนั้นก็จะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อร้อนเกินไป”

ทีมวิจัยได้ทำการทบทวนการศึกษาหลายร้อยชิ้นที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นนอร์เวย์ แคนาดา สกอตแลนด์ เยอรมนี ฮ่องกง และไต้หวัน ซึ่งหลายชิ้นงานได้ตรวจสอบสภาพอากาศตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ 20,000 ปีก่อน

พวกเขาพบว่ามีอุณหภูมิหนึ่งที่ทำให้ชีวิตในแต่ละยุคแต่ละสมัยเติบโตอย่างน่าทึ่ง นั่นคือ 20°C โดยครั้งแรกทีมวิจัยพบว่าสัตว์ พืช และจุลินทรีย์มีจำนวนมากในอากาศและน้ำที่มีอุณหภูมิซ้อนทับกันที่ 20°C ต่อมา ชีวิตก็หลังจากยุคน้ำแข็งก็แพร่หลายอย่างรวดเร็วในอุณหภูมิโลกที่ 20°C เช่นกัน

และครั้งที่สาม อุณหภูมิ 20°C คืออุณหภูมิที่เสถียรที่สุดสำหรับกระบวนการทางชีววิทยาของจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ผลลัพธ์ดังกล่าวได้ให้เบาะแสกับนักวิทยาศาสตร์ว่า ชีวิตบนโลกชอบอยู่ในอุณหภูมิเท่าไหร่

“เราต้องประหลาดใจเมื่อมองดูทุกที่แล้วก็พบว่า อูณหภูมิ 20°C เป็นอุณหภูมิที่สำคัญสำหรับการวัดความหลากหลายทางชีวภาพหลาย ๆ อย่าง และไม่ได้สำคัญแค่กับสัตว์ทะเลเท่านั้น” ศาสตราจารย์ Costello กล่าว

แม้ว่าสัตว์หลายชนิดจะวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่ออยู่ในสถานที่ที่ร้อนกว่าหรือเย็นกว่า 20°C แต่สายพันธุ์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตัวเลขนี้ทั้งหมด รวมถึงข้อมูลจากบันทึกฟอสซิลของฟองน้ำ เปลือกหอย ดาวทะเล แม่นทะเล สัตว์เปลือกแข็ง และอื่น ๆ ต่างชื่นชอบ 20°C ทั้งหมด

และการที่ชีวิตอยู่นอกเกณฑ์ตัวเลขอุณหภูมินี้ นักวิทยาศาสตร์ก็กล่าวว่ามันทำให้กระบวนการทางชีวภาพที่มีความเสถียรลดลง รวมถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมและความสามารถในการใช้ชีวิตก็ลดต่ำลงเช่นเดียวกัน

“การตระหนักรู้มากขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบจากอุณหภูมิ 20°C นี้อาจนำไปสู่ข้อมูลเชิงลึกหใม่เกี่ยวกับวิธีการควบคุมอุณหภูมิของกระบวนการในระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ การกระจายพันธุ์ และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต” รายงานระบุ

ที่มา

https://www.pnas.org/doi/abs/10.1073/pnas.1916923117

https://nsojournals.onlinelibrary.wiley.com/…/ecog.01948

https://theconversation.com/20-c-seems-the-optimal…

https://www.sciencealert.com/scientists-identify-a…

Photo : stockasso/Envato

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0