โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

กัมพูชาชี้ความร่วมมือกับจีน สำคัญต่อการอนุรักษ์ ‘นครวัด’

Xinhua

อัพเดต 30 มี.ค. เวลา 16.33 น. • เผยแพร่ 30 มี.ค. เวลา 09.33 น. • XinhuaThai
กัมพูชาชี้ความร่วมมือกับจีน สำคัญต่อการอนุรักษ์ ‘นครวัด’
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

× กรุณาติดต่อทีมงานเพื่อดาวน์โหลดคลิป

(แฟ้มภาพซินหัว : ปราสาทบายนในอุทยานโบราณคดีอังกอร์หรือนครวัด จังหวัดเสียมราฐของกัมพูชา วันที่ 5 เม.ย. 2022)
(แฟ้มภาพซินหัว : ปราสาทบายนในอุทยานโบราณคดีอังกอร์หรือนครวัด จังหวัดเสียมราฐของกัมพูชา วันที่ 5 เม.ย. 2022)
โฆษณา - อ่านบทความต่อด้านล่าง

พนมเปญ, 30 มี.ค. (ซินหัว) — เมื่อวันพฤหัสบดี (27 มี.ค.) หลง โกซอล รองผู้อำนวยการทั่วไปและโฆษกองค์การอัปสราแห่งชาติกัมพูชา (ANA) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการจัดการ ดูแล และอนุรักษ์อุทยานโบราณคดีอังกอร์ เปิดเผยว่าความร่วมมือกับจีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกป้องและอนุรักษ์กลุ่มปราสาทโบราณในอุทยานฯ ช่วยให้โบราณสถานภายในอุทยานฯ ปลอดภัยจากความเสียหาย และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมระดับโลก

โกซอลกล่าวกับสำนักข่าวซินหัวของจีนว่าผู้เชี่ยวชาญจากจีนได้ถ่ายทอดทักษะ ความรู้ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีให้กับนักโบราณคดีและแรงงานของกัมพูชา ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ยังเป็นกุญแจสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และอารยธรรมระหว่างสองประเทศที่จะนำไปสู่ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างประชาชนของทั้งสองฝ่าย

โกซอลระบุว่าจีนเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทหลักในการสนับสนุนการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมของกัมพูชา ผ่านแพลตฟอร์มความร่วมมือทางวัฒนธรรมหลายรูปแบบ โดยจีนได้ดำเนินการบูรณะปราสาทสำคัญ 2 แห่งในอุทยานฯ ได้แก่ ปราสาทเจ้าสายเทวดาและปราสาทตาแก้ว เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนกำลังดำเนินการบูรณะพระราชวังหลวงแห่งปราสาทนครธม

อนึ่ง อุทยานโบราณคดีอังกอร์ ขนาด 401 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ที่จังหวัดเสียมราฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา จัดเป็นมรดกโลกแห่งองค์การยูเนสโก (UNESCO) เมื่อปี 1992 และจุดหมายท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของกัมพูชา และเป็นที่ตั้งของปราสาทโบราณที่ถูกก่อสร้างขึ้นช่วงศตวรรษที่ 9-13 จำนวน 91 แห่ง

อังกอร์ เอ็นเทอร์ไพรส์ รัฐวิสาหกิจกัมพูชา ระบุว่าอุทยานฯ รับรองนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในปี 2024 รวม 1.02 ล้านคน และทำรายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชม 47.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.62 พันล้านบาท)