โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

"แนน ทัดดาว"อดทนฝ่าฟันสู้อาการเจ็บ นักกายภาพฯ เล่าเรื่องราวที่น้อยคนจะรู้

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

อัพเดต 11 ต.ค. 2565 เวลา 12.26 น. • เผยแพร่ 11 ต.ค. 2565 เวลา 11.53 น.

นักกายภาพบำบัดประจำทีมวอลเลย์บอลหญิงไทย เผยเรื่องราววเส้นทางการต่อสู้กับอาการบาดเจ็บของ"แนน"ทัดดาว นึกแจ้ง ความอดทนอันน่าชื่นชมในการฟื้นฟูร่างกาย กลับมาลงสนามช่วย วอลเลย์บอลทีมชาติไทยล่าสุด

เรียกได้ว่าต้องชื่นชมในความอดทนของ"แนน"ทัดดาว นึกแจ้ง และความตั้งใจนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย รายนี้ ที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นพยายามรักษาตัวและฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บ โดยทาง "เนตร" ทิพย์รัตน์ แก้วใส นักกายภาพคนเก่งประจำทีมตบสาวไทย ได้เผยเรื่องราวอาการบาดเจ็บ เเละการต่อสู้ฟื้นฟูสภาพร่างกายของ แนน ทัดดาว นึกแจ้ง เพื่อหวนคืนสนามอีกครั้ง ในการช่วยทัพวอลเลย์บอลทีมชาติไทยล่าสุด ลุยศึกวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก2022 ผ่านทางเฟซบุ๊คส่วนตัว Tibparat Kaewsai

เนตร ทิพย์รัตน์ แก้วใส
เนตร ทิพย์รัตน์ แก้วใส

โพสต์นี้ขอโพสต์ถึงนักกีฬาคนเก่ง คนแกร่ง"แนน"ทัดดาว นึกแจ้ง อีกคนที่ฝ่าฟันทั้งปัจจัย trauma ทั้งทางกายและทางใจ

หลังจากที่ แนนได้รับบาดเจ็บแบบ rare case กระดูก transverse process ของ lumbar spine ร้าวหลายระดับเพราะของกล้ามเนื้อ iliopsoas กระชากตรงจุดเกาะอย่างรุนแรง (mri and ct scan) แนนได้พักฟื้นที่โรงพยาบาลปิยะเวทในการรักษาภาวะอักเสบและการร้าวของกระดูก ขอบคุณทางโรงพยาบาลปิยะเวทและแพทย์ในทีม วอลเลย์บอลหญิงไทย และผู้ใหญ่ทุกฝ่ายที่จัดการกานรักษาขั้นแรกให้แนนเป็นอย่างดี

หลังจากออกโรงพยาบาลเรามีเวลา 6 อาทิตย์สำหรับการฟื้นฟูนักกีฬาให้ทันและพร้อมที่สุดในการแข่งขันชิงแชมป์โลกเดินทางวันที่ 20 ก.ย. 2022 โปรแกรมของแนนแน่นไปด้วยโปรแกรมเวทเทรนนิ่งที่ต้องปรับให้เหมาะสมกับภาวะบาดเจ็บที่หลัง,โปรแกรมฟื้นฟูฯเพื่อเตรียมซ้อม skill และระบบทีม ในโปรแกรมฟื้นฟู ประกอบด้วย mobility, flexibility, neuromuscular activity, core stability, strengthening - functional exercise และเข้าซ้อมสกิลพื้นฐานทางวอลเลย์บอล

2 week แรก แนนต้องมี progress อะไรบ้าง, 4 week แนนต้อง progress อะไรเพิ่ม, 6 week แนนต้อง progress อะไรเพื่อเข้าสู่ performance ของนักกีฬาและสามารถนำตัวเองไปสู่ high performance ของตัวเอง

แทบทั้งวันที่แนนต้องเดินวนฝึกที่ตึกวิทย์ห้องกายภาพบำบัด, ห้องพยาบาล, ห้องเวท, ห้องสรีระ, ห้องซ้อมตัวเอง ต้องขอบคุณทุกงานทุกฝ่ายของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่เอื้อเฟื้อและดูแลนักกีฬาไปด้วยกันค่ะ

ในระหว่างทางที่ต้องเพิ่ม mobility ของ spine แนนก็ติดโควิดก็ต้องทำออนไลน์กัน แนนถึงได้รู้ว่าหลังแข็งมากและความยืดหยุ่นหายไปหมด เราปรับให้แนนฝึก isokinetic ของกล้ามเนื้อขาในช่วง 2 อาทิตย์แรกที่เวทเพราะไม่อยากให้การเวทช่วงล่างส่งผลต่อหลังที่ยังแข็งๆแน่นๆอยู่555 ช่วงที่พี่ไม่อยู่ก็ได้นักกายภาพท่านอื่นคอยช่วยในโปรแกรมที่พี่ให้ไว้ผ่านไปด้วยดีทั้งน้องป๊อบและน้องเฟิร์น รวมไปถึงงานกายภาพบำบัดของ กกท. ขอบคุณมากๆขอบคุณมากๆนะคะ

การฝึก mobility ช่วงแรกเราฝึก front-back line และ lateral line จนน้องทำได้ดี ส่วนที่ยากที่สุดของแนน นักวอลเลย์บอลทีมชาติไทย คือท่าที่แนนบาดเจ็บมาคือ transvers plane หรือการ rotation ลำตัว การล้มหมุนตัวไปดีเฟนซ์บอล สมองมันจำว่าการเคลื่อนที่แบบนี้ทำให้เจ็บ ตัวแนนแข็งไปหมด หมุนตัวด้านซ้ายไม่ได้ เราต้องประคองและช่วยไกด์ให้จนแนนรู้ว่าทำได้ ไม่เจ็บแล้ว ใช้ท้องsuckเข้าตลอดเวลา

เราดีใจมากๆที่เห็นแนนเริ่มซ้อมระบบกับทีมทั้งรับและบุก จนมาข้อเท้าพลิกก่อนเดินทางอาทิตย์นิดๆ นักกายภาพบำบัดใจสลาย ทีมใจสลาย นักกีฬาก็ใจสลาย55555 เอาว่ะ…มาสู้ต่อ

cr.Tibparat Kaewsai

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ tnews

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0