โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

รู้เข้าใจจัดการ โรค PSTD สภาวะความเครียด ที่ไม่ควรปล่อยผ่าน

อีจัน

อัพเดต 07 ต.ค. 2565 เวลา 09.19 น. • เผยแพร่ 07 ต.ค. 2565 เวลา 09.19 น. • อีจัน
รู้เข้าใจจัดการ โรค PSTD สภาวะความเครียด ที่ไม่ควรปล่อยผ่าน

หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน อาจไม่ได้จบลงแค่เท่านั้น แต่ผลกระทบจากเหตุการณ์นั้น ๆ ไม่ได้มีเพียงแค่การสูญเสียทางร่างกายเท่านั้น ยังรวมถึงผลกระทบทางจิตใจที่ตามมาภายหลัง โดยเป็นต้นเหตุของ โรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) สภาวะป่วยทางจิตใจหลังความเจ็บปวด หรือที่เรียกว่าโรคความผิดปกติทางจิตใจหลังเผชิญเรื่องราวสุดสะเทือนใจ เราลองมาทำความรู้จักกับที่โรคดังกล่าวว่าผู้ป่วยจะมีอาการอย่างไร และมีวิธีการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างไรได้บ้าง

ภาวะแทรกซ้อนจากโรค PTSD

เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย และทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตรวมถึงด้านอารมณ์ไปด้วย โดยสามารถนำพาไปสู่โรคภาวะทางจิตและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย ได้แก่

โรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้น

พฤติกรรมที่เป็นอันตราย เช่น การหันมาใช้สารเสพติด หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรืออาจทำร้ายตนเอง เป็นต้น

อาการทางร่างกาย เช่น มีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ ปวดหน้าอก เป็นต้น

PTSD แบ่งได้ 2 ระยะ

ระยะที่ 1 เกิดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังเหตุการณ์ เรียกว่า Acute Stress Disorder (ASD) หรือ โรคเครียดฉับพลัน ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะ ASD สามารถหายเองได้ หรือไม่เป็นอะไรเลยในเดือนแรก แต่หลังเกิดเหตุการณ์มาแล้ว 1 เดือนอาการนี้ยังไม่หายไปจะเรียกว่า PTS

ระยะที่ 2 คือหลังเกิดเหตุการณ์มาแล้ว 1 เดือน ที่เรียกว่า PTSD อาจแสดงอาการออกมามากขึ้นได้หลากอารมณ์ หลากหลายเช่น

คิดว่าอยู่ในเหตุการณ์นั้น (Re-experiencing) ไม่สามารถหลุดพ้นและปล่อยวางจากเหตุการณ์เหล่านี้ คิดวนเวียนถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ หรือนึกถึงความทรงจำเลวร้ายนั้นขึ้นมาเอง ทำให้รู้สึกเหมือนต้องไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำไปซ้ำมาจนตกใจกลัว (Flashback) การฝันถึงซ้ำๆ

เกิดความตื่นกลัว บางคนอาจมีอาการใจสั่น มือสั่น และเหงื่อออกมาก

มองโลกในแง่ลบ ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความสุข ชีวิตหม่นหมอง มีอาการไม่สนใจในสิ่งที่เคยชอบทำ รู้สึกแปลกแยก และอาจร้ายแรงถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย

หวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยง ไม่กล้าเผชิญเหตุการณ์ที่เคยประสบเหตุ หรือหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ทำให้คิดถึงเหตุการณ์นั้น ๆ

จัดการอย่างไรเมื่ออาจต้องเผชิญภาวะ PTSD

หากจะไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถจัดการได้อย่างโดยตรง เนื่องจากเป็นภาวะที่มีต้นเหตุมาจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้นเมื่อเราผ่านเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรู้สึกของเราอย่างรุนแรงเราจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและขอคำปรึกษา พูดคุยกับผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของเราได้ หากิจกรรมเพื่อบรรเทาความเครียด ยิ่งเราเข้ากระบวนการรักษาเร็วเราก็มีโอกาสเป็นภาวะ PTSD น้อยลงตามไปด้วย

การรักษาภาวะ PTSD

การรักษาภาวะดังกล่าวมีด้วยกันหลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการดูแลจากคนรอบข้างประกอบด้วย

เรียนรู้และรับมือ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวต้องพยายามเรียนรู้การจัดการกับความเครียด เช่น หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย การออกไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เป็นต้น

ดูแลตนเองมากขึ้น ไม่ควรบริโภคของที่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เสพสารเสพติด และเพิ่มเวลาในการพักผ่อนให้มากขึ้นกว่าเดิม

การรับยาจากแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาที่สามารถลดความเครียดหรือช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ทั้งนี้การใช้ยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น

การบำบัด สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาเพื่อปรับให้สามารถค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนความคิดได้ หรือเลือกที่จะเผชิญกับสิ่งที่เรากลัวและเรียนรู้วิธีการรับมือที่ถูกต้องแต่วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การได้รับการดูแลพูดคุยหรือสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันก็สามารถบำบัดได้เช่นกัน

ถ้าหลังจากเหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ ผ่านไปแล้ว 4 สัปดาห์แต่ยังคงมีอาการเหล่านี้อยู่ หรือบางรายที่อาการเกิดขึ้นในภายหลัง อาการดังกล่าวจะมีผลต่อทั้งการเรียนการทำงานในชีวิตประจำวันให้แย่ลง ควรเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลบางปะกอก 3 , DMS สถานนีสุขภาพ , กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

โลงลำเลียง รับนักเรียนน้อยกลับบ้าน กราดยิงศูนย์เด็กเล็กคลิปแนะนำอีจัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0