โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ลูกไอ บ่งบอกอะไรได้บ้าง

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 29 พ.ย. 2562 เวลา 03.00 น. • Motherhood.co.th Blog
ลูกไอ บ่งบอกอะไรได้บ้าง

ลูกไอ บ่งบอกอะไรได้บ้าง

แต่ละครั้งที่คุณพ่อคุณแม่เห็นว่า "ลูกไอ" อย่าคิดไปเองว่าคงไม่มีอะไรนอกจากอาการไข้หวัดธรรมดา สิ่งที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุของอาการไอได้ทั้งสิ้น อะไรคือวิธีบรรเทาอาการที่ดีสำหรับลูกน้อย และเมื่อไหร่ที่คุณควรกังวลกับอาการ หาคำตอบได้ในบทความตอนนี้เลยค่ะ

เด็ก ๆ จะไอเมื่อเยื่อบุหลอดลมมีความระคายเคือง อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อพวกเขาป่วยหรือร่างกายของพวกเขากำลังต่อสู้กับโรคภัย ซึ่งทำให้เขามีเสมหะปริมาณมาก อาการไอนี้ช่วยขับน้ำมูกส่วนเกิน และทำให้หายใจเอาอากาศเข้าไปสู่ปอดได้ดีขึ้น ต่อไปนี้คือเหตุผลของอาการไอในเด็ก รวมทั้งวิธีการวินิจฉัยอาการและจัดการกับโรคให้หมดไป

ประเภทของอาการไอ

สาเหตุที่พบได้มากในอาการไอของเด็กคือเชื้อไวรัสและโรคหอบหืด ซึ่งก่อให้เกิดอาการจำพวกหายใจไม่ออก หายใจมีเสียง หรืออาการคล้ายเป็นหวัด การไอและมีไข้ของเด็กอาจบ่งบอกถึงโรคไข้หวัดใหญ่ ถ้าลูกของคุณป่วยหนัก อาการไออาจเป็นอาการสุดท้ายก่อนที่จะหายดีขึ้น ในความเป็นจริงมันไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับอาการไอแห้งที่จะยังหลงเหลือต่อนานถึง 3 สัปดาห์หลังจากที่เป็นหวัด แม้ว่าคุณจะเห็นว่าอาการดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใน 10 ถึง 14 วัน

การไอของเด็กแบ่งได้เป็น 4 ประเภท
การไอของเด็กแบ่งได้เป็น 4 ประเภท

อาการไอมี 4 ประเภทที่แตกต่างกัน คือ ไอแห้ง ไอมีเสมหะ ไอจากหลอดลมอักเสบ และไอกรน เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบว่าลูกของคุณมีอาการไอประเภทใดและอาการเหล่านั้นหมายถึงอะไร

ลูกไอแห้ง: เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ มักทำให้เกิดอาการไอแห้ง เด็กวัยนี้หากไอตอนกลางคืนอาจแย่ลงด้วยไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ และการอยู่ในห้องที่อุ่นอาจทำให้อาการแย่ลง อย่างไรก็ตามอาการไอแห้งอาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลมอักเสบ หรือโรคปอด สาเหตุอื่น ๆ ของไอของเด็กวัยนี้ ได้แก่ โรคหอบหืดซึ่งเบื้องต้นจะไอในเวลากลางคืน และการสัมผัสกับควันบุหรี่หรือสารระคายเคืองอื่น ๆ ที่ลักษณะคล้ายกัน

ไอจากกล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ: เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการไอรุนแรง ไอแห้ง และไอเสียงก้องเหมือนหมาเห่า (seal barking cough) การไอประเภทนี้ในเด็กส่งผลให้หลอดลมบวมและมักมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส เด็กที่มีอาการไอเช่นนี้อาจจะส่งเสียงแหลมเมื่อหายใจเข้า

ลูกไอมีเสมหะ: หากลูกคุณไอมีเสมหะ อาจเกิดจากการหลั่งของเหลวและเมือกที่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนล่าง (หลอดลมและปอด) สาเหตุที่พบบ่อยของอาการไอมีเสมหะ ได้แก่ การติดเชื้อและโรคหอบหืด

ไอกรน: ไอกรนมีอาการคล้ายกับหวัดธรรมดา แต่อาการไอจะค่อย ๆ แย่ลงเมื่อมีอาการไอลึกและรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทำให้เด็กไอในเวลากลางคืนอาการไอเป็นประจำมักจะเป็นชุดของการไอ 5 ถึง 15 ทีเนื่องอย่างรวดเร็ว หลังจากไอ เด็กจะหายใจเข้าลึก ๆ บางครั้งก็มีเสียง "ไอกรน" ออกมา ซึ่งโรคไอกรนสามารถนำไปสู่ปัญหาการหายใจและทำให้เด็ก ๆ ดูมีผิวเป็นสีน้ำเงินเพราะขาดออกซิเจนชั่วคราว

หรือจะมีอะไรติดคอลูกเรา?

การไอส่วนใหญ่เกิดมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ แต่ลูกของคุณอาจจะบางสิ่งบางอย่างติดอยู่ในลำคอหรือหลอดลมก็ได้ อาการคือมีการไออย่างรวดเร็วตามมาด้วยเสียงหายใจมีเสียง คอหอยเคลื่อนไหว ผิวลูกเปลี่ยนสีซีดลงหรือสีน้ำเงิน ไม่ค่อยส่งเสียง และดูมีความเครียดอย่างเห็นได้ชัด

หากพบว่าลูกที่อายุมากกว่า 1 ขวบมีสิ่งแปลกปลอมติดคอ ให้ทำการปฐมพยาบาลด้วยวิธีไฮม์ลิคช์ มานูเวอร์ (Heimlich Maneuver) หรือการกระทุ้งหน้าท้องให้กับลูกทันที หรือจะโทรเรียกรถพยาบาลก็ได้ หากคุณไม่สามารถขับเอาวัตถุออกมาจากคอลูกหรือทารกเริ่มหายใจไม่ออก สำหรับวัตถุที่เข้าไปติดอยู่แค่บางส่วน (ลูกของคุณยังสามารถหายใจได้ดี) คุณสามารถลองใช้การลูบที่หลัง จากนั้นพาไปพบแพทย์หากไม่ได้ผล บ่อยครั้งที่การเอ็กซ์เรย์จะแสดงสาเหตุ แต่บางครั้งเด็กจะต้องรับการตรวจด้วยการส่องกล้องทางเดินหายใจส่วนล่าง (Bronchoscopy) ซึ่งกล้องตรวจหลอดลมถูกส่งลงไปในหลอดลมเพื่อจับภาพไปรอบ ๆ และทำความสะอาดเอาสิ่งที่ติดอยู่ออกมา

ถั่ว ข้าวโพดคั่ว หรือชิ้นส่วนของอาหารที่มีเนื้อแข็ง เช่น แครอท มีแนวโน้มที่จะทำให้เด็กสำลัก จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ควรให้อาหารประเภทนี้แก่เด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ การสำลักอาจจะนำไปสู่โรคปอดได้ในที่สุด ซึ่งจะทำให้ลูกเป็นไข้ หายใจไม่ออก และเริ่มมีอาการป่วย

ภาวะแทรกซ้อนของอาการไอ: สิ่งที่ต้องกังวล

หากลูกของคุณมีอาการเหล่านี้ ให้รีบติดต่อกุมารแพทย์ทันที เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมาจากอาการไอ

  • อาการไอไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงอีกหลังจากผ่านไป 3 สัปดาห์ หรือไอมีเสมหะ
  • ไข้ยังไม่ลดลง
  • มีปัญหาในการหายใจเร็วหรือหอบหือ
  • มีท่าทางเซื่องซึม
  • อาเจียนหรือไอหนักจนตัวแดงไปหมด
  • มีไข้สูงเกิน 37.7 องศาเซลเซียส นานเกิน 72 ชั่วโมง
ตรวจสอบให้แน่ว่าการไอของลูกไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ตรวจสอบให้แน่ว่าการไอของลูกไม่มีภาวะแทรกซ้อน

ทางเลือกในการรักษา: จะช่วยลูกเรื่องการไออย่างไร

ลูกของคุณมีอาการไอตอนกลางคืนหรือไอตลอดทั้งวันหรือไม่? ควรลองตัวเลือกในการรักษาต่อไปนี้

รักษาความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ให้ลูกดื่มน้ำมากขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เมือกจับตัวหนา น้ำหรือซุปร้อน ๆ จะบรรเทาอาการเจ็บและระคายเคืองในอกและมันก็สามารถช่วยละลายเมือกได้เช่นกัน

ใช้ประโยชน์จากความชื้น ปล่อยให้ลูกของคุณสูดอากาศที่มีความชื้น ไอน้ำสามารถบรรเทาและลดอาการไอของเด็กได้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี:

  • ใช้เครื่องพ่นไอน้ำในห้องนอนของลูก
  • เปิดฝักบัวให้น้ำอุ่นไหลในห้องน้ำโดยปิดประตูขังไอน้ำไว้ เมื่อมีปริมาณไอน้ำมากพอ ให้ลูกเข้าไปนั่งในนั้นกับคุณประมาณ 10 นาที เล่นกับลูกไปด้วยเพื่อความผ่อนคลาย
  • แขวนผ้าเช็ดตัวชื้นไว้ในห้องนอนลูก

ปล่อยให้อากาศเย็นเข้ามา หากลูกของคุณมีอาการไอแห้งหรือไอกรนให้เขาสูดอากาศเย็น การหายใจเอาอากาศเย็นเข้าไปจะช่วยลดอาการบวมในทางเดินหายใจซึ่งจะช่วยลดอาการไอ ซึ่งคุณสามารถทำได้หลายวิธี:

  • เปิดหน้าต่างไว้ ลูกจะได้หายใจอากาศเย็นและชื้นเข้าไป
  • พาลูกออกไปขับรถเล่นข้างนอกสักพัก โดยเปิดกระจกลดให้ลมเข้ามา
  • ให้ลูกหายใจเอาไอเย็นจากการเปิดตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง

หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก เด็กเล็กที่มีอาการไอแห้งควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย ในขณะที่เด็กโตมักสังเกตว่าอาการไอของพวกเขาแย่ลงในระหว่างการออกกำลังกาย

หากเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรใช้ยาแก้ไอตามร้านขายยา
หากเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรใช้ยาแก้ไอตามร้านขายยา

หลีกเลี่ยงยาแก้ไอตามร้านขายยา องค์การอาหารและยาของอเมริกาไม่แนะนำให้ใข้ยาแก้ไอและน้ำเชื่อมแก้ไอที่ขายตามเคาน์เตอร์สำหรับเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี แต่เด็กที่อายุมากกว่านั้นก็สามารถใช้วิธีธรรมชาติได้ เช่น น้ำผึ้ง (สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 1 ขวบ) หรือของเหลวอุ่น ๆ

ฉีดวัคซีน ไอกรนนั้นสามารถป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน และยังป้องกันให้กับผู้ใหญ่ที่ต้องสัมผัสกับเด็กที่เป็นไอกรนอยู่เป็นประจำด้วย

หวังว่าจะได้รับความรู้เกี่ยวกับอาการไอของเจ้าตัวน้อยกันไปอย่างครบถ้วนแล้วนะคะ ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการของลูกให้ชัดเจน ก็จะสามารถแยกแยะได้ว่าเขาไอในรูปแบบไหน เพียงเท่านี้ก็จะนำไปสู่การรักษาบรรเทาอาการที่ถูกต้องค่ะ

 

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0