โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

แรงงานเฮ! พรรคการเมืองแห่ขึ้น “ค่าแรงขั้นต่ำ” นโยบายขายฝันที่ทำได้จริงหรือ?

Another View

อัพเดต 20 มี.ค. 2562 เวลา 03.51 น. • เผยแพร่ 20 มี.ค. 2562 เวลา 05.00 น.

แรงงานเฮ! พรรคการเมืองแห่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนโยบายขายฝันที่ทำได้จริงหรือ?

หนึ่งในนโยบายที่กลายมาเป็นประเด็นร้อนแรงในช่วง 7 วันก่อนเลือกตั้ง คือเรื่องของ ‘ค่าแรงขั้นต่ำ’

ย้อนกลับไปตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ที่นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทกลายมาเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หาเสียงของพรรคการเมืองใหญ่ที่ได้จัดตั้งรัฐบาล (และโดนรัฐประหารไปก่อนจะครบวาระ) การเลือกตั้งครั้งนี้ดูเหมือนแทบทุกพรรคจะชูเรื่องของค่าแรงมาเป็นนโยบายจูงใจผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ

เพราะอย่างที่เห็นมาแล้วว่าในปี 2556 ที่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ชินวัตรสามารถผลักดันจนเงินเดือนของพี่น้องผู้ใช้แรงงานจากต่ำที่สุดที่ 150 กว่าบาท มาเป็นสูงสุดที่ 300 บาทได้จริง ในปีนี้ ใครก็ตามที่ได้จัดตั้งรัฐบาล ก็น่าจะทำได้เช่นเดียวกัน แม้ว่าในครั้งนั้นจะโดนหลายกระแสต่อต้านก็ตาม

ว่ากันง่าย ๆ มีคนโยนหิน แผ้วทางไว้ให้แล้วว่าทำได้ จะขึ้นอีกรอบจะเป็นอะไรไป

เรื่องของค่าแรงขั้นต่ำ จะว่าไปก็เหมือนเป็นการต่อสู้ระหว่างความคิดของสองสำนัก หนึ่งคือสำนักที่เชื่อในสิทธิของผู้ใช้แรงงาน ที่จำเป็นต้องได้รับค่าจ้างเป็นปัจจัยยพื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต ที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO นิยามไว้ว่า ค่าแรงขั้นต่ำควรอยู่ในอัตราที่แรงงานสามารถเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวอย่างน้อยรวมสามชีวิตได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับหนึ่ง

ซึ่ง ณ ปัจจุบันประเทศไทยให้อยู่ที่ 308 - 330 บาท หรือสูงสุดที่ 9,900 บาทต่อเดือน ก็ยังไม่เท่ากับรายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ยของไทยที่12,410 บาท ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานที่ทำการสำรวจเมื่อปี 2558

ในขณะที่อีกสำนักที่เชื่อในกลไกตลาดและระบบเศรษฐกิจ ก็มองว่าค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นโดยไม่อิงตามอัตราเงินเฟ้อที่เป็นจริง อาจทำให้ระบบเศรษฐกิจเสียหาย เงินเฟ้ออาจพุ่งสูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง จากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ซ้ำร้ายอาจทำให้อัตราการจ้างงานลดลง และหันไปใช้ระบบอัตโนมัติแทนที่ ตามกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนไป

ย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทเมื่อ 6 ปีที่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างจากการคาดการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีจำนวนธุรกิจที่ปิดกิจการเพิ่มสูงขึ้น สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน (เนื่องจากความสามารถของแรงงานพัฒนาไม่ทันค่าจ้าง ทำให้ผลิตได้เท่าเดิมแต่ต้นทุนเพิ่ม) นอกจากนี้ยังกระทบกับแรงงานโดยตรง เนื่องจากถูกตัดลดสวัสดิการด้านอื่น และเอาเข้าจริง ก็มีจำนวนแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างตามอัตราขั้นต่ำมากขึ้นกว่าเดิมด้วย

ดังนั้น การจะขึ้นอัตราค่าแรงที่เหมาะสม จึงไม่ใช่แค่เรื่องของการแข่งกันโยนตัวเลขให้สวยหรู ดูแพงกว่าพรรคคู่แข่ง แต่ปัจจัยที่อยู่รอบตัวเลขนั้นต่างหาก ที่จะเป็นสิ่งยืนยันว่าปัญหาที่ตามมาหลังขึ้นค่าแรง จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน! (ถึงขั้นประธานสภาอุตสาหกรรมต้องเสนอกลางเวทีดีเบตว่า เลิกเอาค่าแรงมาเป็นนโยบาย แล้วปรับลอยตัวตามทักษะแรงงานเถอะ)

ลองหันมาดูนโยบายของแต่ละพรรคที่ชูจุดเด่นเรื่องของค่าแรงขั้นต่ำอย่างพรรค พลังประชารัฐที่ออกมาบอกว่าจะปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 425 บาทจนโดนพรรคอื่น ๆ และประชาชนตั้งคำถามถึงปัจจัยที่จะมารองรับ รวมถึงคำถามว่า ‘ทำไมเพิ่งจะมาทำเอาตอนนี้’ ทางพรรคก็บอกว่าอัตราที่จะปรับขึ้น จะใช้กับแรงงานที่มีคุณภาพและได้รับการยกระดับทักษะแล้วภายใน 3 ปี จึงน่าติดตามต่อว่าแนวทางการยกระดับแรงงานให้มีฝีมือมากขึ้นจะเป็นอย่างไร และสามารถทำได้จริงหรือไม่ และจะจัดการอย่างไรกับแรงงานหน้าใหม่ที่ยังไม่มีทักษะมากพอ

ในขณะที่พรรค ประชาธิปัตย์ก็ชูนโยบาย ประกันรายได้ไม่ต่ำกว่า120,000 บาทต่อปีหรืออยู่ที่วันละ 333.33 บาท ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราใกล้เคียงกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่คำว่าประกันรายได้หมายถึงแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างอย่างที่ควรจะเป็น จะได้รับเงินเพิ่มจากรัฐบาล ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ จะทำอย่างไรหากนายจ้างเลือกที่จะไม่ให้ค่าแรงขั้นต่ำ หรือแรงงานยอมที่จะรับค่าแรงที่ต่ำกว่ากฎหมาย เพื่อให้มีงานทำ และข้อสังเกตเหล่านี้จะกลายเป็นการทำให้นายจ้างได้รับประโยชน์เกินควรหรือไม่

ฝั่งพรรค เพื่อไทยและ อนาคตใหม่เห็นตรงกันว่าค่าแรงขั้นต่ำควรปรับเพิ่มให้เหมาะสมกับสภาวะเงินเฟ้อ เป็นไปตามมติคณะกรรมการค่าแรงขั้นต่ำ และไปเพิ่มในฝั่งสวัสดิการ รวมถึงพรรคอนาคตใหม่ยังเพิ่มในส่วนของนโยบายที่เอื้อให้แรงงานสามารถตั้งสหภาพแรงงาน คุ้มครองแรงงานทุกเชื้อชาติให้ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง ซึ่งไปไกลกว่าตัวเลขจำนวนเงิน และน่าสนใจว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่หากได้มาเป็นรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม เรื่องของค่าแรงขั้นต่ำกับการทำให้เป็นนโยบายขายฝันชาวแรงงานยังเป็นข้อถกเถียงกันต่อไปจนกว่าพรรคที่ได้เป็นรัฐบาลจะผลักดันให้เกิดขึ้นจริง หลังจากนั้นเราจะได้เห็นกันว่าพรรคไหนมีดีแค่ขายตัวเลข และพรรคไหนที่เตรียมตัวมาดี ทำการบ้านผลักดันได้ทั้งระบบ

วันอาทิตย์นี้รู้กัน!

 

อ้างอิงข้อมูลจาก:

https://thaipublica.org/2016/05/natmaytee-04/

https://www.pptvhd36.com/news/

http://www.mol.go.th/employee/interesting_information/4131

https://thestandard.co/thailandelection2562-minimum-wage-policy/

ภาพประกอบ

 https://webwanwan.com/56407
https://siambest8.com/y2020/2419/
https://siambest8.com/y2020/2419/

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 72

  • Khun Pakorn P.K.💯
    ขึ้นค่าแรง ก็เตรียมตกงานครับ ยังไม่พอ ค่าข้าวยังแพงขึ้นอีก ตกงาน+ของแพง เอาป่าวละ
    24 มี.ค. 2562 เวลา 01.16 น.
  • Lue's💫
    ขึ้นจังค่าแรง พอของแพง ตกงานก็บ่น เครื่องจักรมันมาแทนแล้วรู้ยัง
    23 มี.ค. 2562 เวลา 11.37 น.
  • Karn Treesing
    ขึ้นทำไม ! ขึ้นที่ไร..ค่าครองชีพก้อขึ้นตาม จะขึ้นค่าแรงช่วยลดค่าครองชีพดีกว่า
    21 มี.ค. 2562 เวลา 07.28 น.
  • รณรงค์ วงศ์ยะรา
    มึงจะขึ้นค่าแรงนะถามเจ้าของกิจการยังไอ้พวกดีแต่ปาก
    21 มี.ค. 2562 เวลา 01.15 น.
  • ^^samachaya^^
    ใครจะมาลงทุน อุตสาหกรรมที่มีอยู่ก็ย้ายฐานการผลิต ลาว เขมร พม่า จะเต็มเมือง ไม่มีปัญญาออกนโยบายหาเงินเข้าประเทศกัน ถ้าเข้ามาบริหารคงทำประเทศบาดเจ็บเรื้อรัง
    21 มี.ค. 2562 เวลา 01.11 น.
ดูทั้งหมด