โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

“รู้เท่าไม่ถึงการณ์” : คำนี้สิ้นเปลืองไปหรือไม่??

LINE TODAY

เผยแพร่ 27 เม.ย. 2563 เวลา 11.38 น. • PattiePrincess

บ่อยครั้งในประเทศเรา เวลามีคนทำผิดอะไรจนโดนกระแสสังคมโจมตี ผู้ก่อเหตุมักจะอ้างข้อแก้ตัวด้วยถ้อยคำสุดคลาสสิคว่าตนเอง “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นอะไรก็ตาม ซึ่งสังคมไทยเองก็ดูจะให้อภัยและลืมไปอย่างรวดเร็ว จนคำว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” กลายเป็นเหมือนสมาร์ตพาส วิธีแก้สถานการณ์แบบฉับไวเวลาคนผิดไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร และเราเองกำลังเคยชินกับวิธีนี้ไปหรือเปล่า

ภาพที่เห็นจนชินตาตามสื่อ เวลามีคนทำอะไรผิด คือคนๆนั้น ยกมือไหว้ ทำหน้าเศร้า (หรือบางครั้งก็มีที่คาดตา ภาพโมเสก) ปากพร่ำบอกคำเดิม ๆ คือ “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” ซึ่งความจริงแล้วคำนี้อาจใช้ได้ เมื่อผู้ใช้ยังอายุน้อยมากจริง ๆ จนประสบการณ์ในโลกยังไม่มากพอ แต่บ่อยครั้งที่คำพูดเหล่านี้หลุดออกมาจากปากของคนที่วัยไม้ใกล้ฝั่งแล้ว ซึ่งก็น่าจะผจญโลกมาแล้วพอสมควร และตามสเต็ป คนเหล่านี้มักได้รับการให้อภัย เพราะนิสัยของคนไทยคือให้อภัยง่าย ซึ่งที่จริงแล้วการให้อภัยก็เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่หลายครั้ง เราให้อภัยจนเราไม่ให้บทเรียนคนทำผิดพวกนั้นหรือเปล่า

ถ้าย้อนไปดี ๆ คำว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” น่าจะมีที่มาจากความคิดของคนไทยที่ว่า “ไม่เป็นไร คนไทยใจดี ให้อภัยง่าย” ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่ดีในความเป็นจริง เพราะสิ่งนี้สื่อถึงธรรมชาติของคนไทยที่เป็นคนใจดี ให้อภัย และขี้สงสาร แต่ทุกอย่างก็เป็นดาบสองคม เราใจดีก็จริง แต่เราไม่ให้บทเรียนกับคนทำความผิด ใจดีต้องอยู่ส่วนใจดี ส่วนบทเรียนต่อสังคมก็ยังต้องเป็นเรื่องที่จริงจังอยู่ดี 

การให้อภัยที่ง่ายไป จะไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้และสำนึกต่อการกระทำของตัวเองของผู้ทำผิด เมื่อคำว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” กับคำว่า “ให้อภัย” มาเจอกัน ทุกอย่างจะถูกลืมไปหมด ความผิดถูกลืม คนทำผิดไม่เรียนรู้ สังคมก็จะถูกสอนต่อ ๆ กันไปว่า ทำผิดหรือ ไม่เป็นไร อ้างว่าตนเองไม่รู้ เดี๋ยวทุกคนก็ลืม ตรงนี้แหละคือปัญหา

ที่เขียนมาทั้งหมด ไม่ได้เพื่อจะให้เราข้ามคำว่า “ให้อภัย” ไป แต่ให้อภัยแล้ว ทุกคนต้องเกิดการเรียนรู้ คนทำผิดต้องคิดได้จริงๆ และคนในสังคมเองต้องใช้พลังโซเชียล (ที่เป็นพลังที่สตรองที่สุดแล้วในปัจจุบันนี้) ด้วยการแชร์ความคิดและวิธีการอะไรก็ตาม เพื่อจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” นี้เกิดขึ้นอีก หรืออย่างน้อยก็เรียนรู้แพตเทิร์นของมัน เพื่อจะไม่เผลอไปทำตามแบบนั้น 

อย่าให้คำว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” มาทำให้สังคมเราเป็นสังคมที่เพิกเฉย (ignorant) ต่อความผิดใด ๆ เลย เพราะคำว่า “ให้อภัย” ใช้บ่อย ๆ ก็ไม่มีความหมายอะไรเหมือนกัน และสิ่งที่สำคัญที่สุดของความผิดพลาดใด ๆ คือบทเรียนที่เราได้จากสิ่งนั้นนั่นเอง

  

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 107

  • Navaporn Sangbudda
    คำฮิตสำหรับผู้ทำผิด แต่ไม่เกิดจากสำนึกผิด
    27 เม.ย. 2563 เวลา 12.12 น.
  • เฒ่า (ชาญ) วิกธิน
    ไม่สิ้นเปลืองหรอก วันนี้นักการเมืองผู้ทรงเกรียติยังพูดเลยว่า ที่ลูกชายค้ากัญชา เป็นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์น่ะ แต่ไม่น่าพูดกับสื่อว่าขอให้สังคมให้โอกาสนะ น่าจะพูดกับศาลดีกว่า
    27 เม.ย. 2563 เวลา 12.38 น.
  • คะน้า ฉามขวบ😄😁
    พวกที่ใช้เป็นข้ออ้างนี่ไม่น่าใช้คำนี้นะคะ น่าจะเปลี่ยนเป็น "รู้เท่าไม่เข้ากบาล" มากกว่าค่ะ พวกรู้ทุกอย่างไม่เคยเอาไปใช้สักอย่าง
    27 เม.ย. 2563 เวลา 12.13 น.
  • สมพงษ์
    เป็นคำแก้ตัวที่นักกฏหมายบอกว่าโทษจะได้เบาลง
    27 เม.ย. 2563 เวลา 12.12 น.
  • รู้เท่าไม่ถึงการ์ณ พวกเด็กๆ พวกใจตุ๊ด พวกขี้ขลาดใช้กัน ทีตอนจะทำผิดไม่เคยสนใจผลกระทบว่าจะผิดหรือใครจะเดือดร้อน
    27 เม.ย. 2563 เวลา 15.06 น.
ดูทั้งหมด