โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เมื่อการเรียนออนไลน์ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ลูกเราคงต้องพักก่อน #3: คุยกับแม่เม—จุฑาทิพย์ รวมกิ่งแก้ว

Mood of the Motherhood

เผยแพร่ 06 ต.ค. 2564 เวลา 18.13 น. • INTERVIEW

หลังจากปล่อยให้เด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่ต้องวนเวียนอยู่กับคำว่าเรียนออนไลน์มานานแสนนาน เราก็เริ่มได้ยินความคืบหน้าของการพยายามให้โรงเรียนสามารถกลับมาเปิดภาคเรียนแบบเต็มรูปแบบภายในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้แต่ก่อนจะถึงวันนั้น เราย้อนกลับมาดูข้อมูลจากกองทุนความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ที่เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 ระบุว่า ปัจจุบันมีเด็กไทยที่หลุดออกจากระบบการศึกษาไปแล้ว จำนวน 6,000 คน และคาดว่าในปีการศึกษา 2564 จะมีจำนวนเด็กหลุดจากระบบมากถึง 65,000 คน นั่นหมายความว่า การเปิดเทอมที่จะถึงนี้ จะมีเด็กอีกหลายคนที่ไม่ได้กลับเข้าไปเรียนในโรงเรียนตามเดิมได้เพราะการเรียนออนไลน์ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกครอบครัว ไม่ว่าจะความพร้อมของลูก ความพร้อมของพ่อแม่ ความพร้อมของอุปกรณ์ หรือแม้แต่บรรยากาศภายในบ้าน ทุกอย่างมีผลให้การเรียนออนไลน์ของลูกกลายเป็นไม้เบื่อไม้เมาของคนในครอบครัวไปโดยปริยายM.O.M จึงชวนคุณพ่อคุณแม่ที่ตัดสินใจให้ลูกพักการเรียนหรือลาออกจากโรงเรียน เพราะเห็นผลกระทบที่ลูกได้รับจากการเรียนออนไลน์ จนเกิดเป็นซีรีส์บทสัมภาษณ์ ‘เมื่อการเรียนออนไลน์ ไม่ได้เหมาะกับทุกคน ลูกเราคงต้องพักก่อน’ครั้งนี้ได้ คุณแม่เม—จุฑาทิพย์ รวมกิ่งแก้ว ที่เห็นว่า การเรียนออนไลน์ ไม่สามารถทำให้น้องชิม ลูกชายวัย 5 ขวบ มีความสุขและสนุกกับการเรียนรู้ได้ จนคิดว่าควรให้ลูกพักการเรียนตามรูปแบบของโรงเรียนไปก่อน

ตั้งแต่มีสถานการณ์โควิด-19 การเรียนของลูกได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างต้องเท้าความก่อนว่าตั้งแต่มีโควิด-19 การเรียนมันเกิดขึ้นแบบขยักขย่อนมาก เดี๋ยวได้เรียน เดี๋ยวไม่ได้เรียน ปีที่ผ่านมาก็แทบจะไม่ให้ลูกเรียนออนไลน์เลย เอาง่ายๆ ว่าช่วงไหนที่โรงเรียนปิด ก็ให้ลูกเล่นอยู่บ้านเป็นหลัก อาจจะมีเปิดวิดีโอที่โรงเรียนอัปโหลดไว้ให้ดูบ้างประปรายตอนนั้นก็เริ่มรู้สึกว่ามันงง เพราะวิดีโอที่เปิดให้ลูกดู ก็คือมีคุณครูมาร้องเพลง มาพูดนู่นนี้ให้เด็กฟัง แต่คุณภาพวิดีโอไม่ดีเลย ไม่สามารถดึงดูดเด็กได้ คือไม่ต้องถึงขั้นทำดีมากๆ นะ เอาแค่เรื่องเสียงที่จะให้เด็กฟังก็ควรจะชัดเจน เพื่อให้เด็กรู้สึกสนใจพอมาปีนี้ การเรียนออนไลน์เริ่มต้นตั้งแต่เทอมหนึ่งของปีการศึกษา 2564  ตอนแรกก็ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะดรอป อยากให้ลูกลองเรียนดูอีกครั้ง ซึ่งโรงเรียนก็ได้เปลี่ยนการเรียนการสอน จากคลิปวิดีโอเป็นมีคุณครูมาสอนสดตามตาราง วันหนึ่งเรียนประมาณ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที คลาสเช้าก็จะมีครูมาร้องเพลงให้ฟัง แต่เราก็ยังรู้สึกว่ามันไม่ได้เลย เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้โต้ตอบอย่างที่ควรจะเป็น ลูกก็ไม่สนใจ ไม่สนุกที่จะเรียนคลาสที่สองเป็นวิชาเลข ภาษาไทย อังกฤษสลับกัน และถ้าวันไหนมีวิชาพละและศิลปะ ก็จะมีเรียนตอนบ่ายเพิ่มด้วย ซึ่งจากการเรียนสองวันแรกก็พบว่า คลาสเช้าไม่ต้องให้ลูกตื่นมาดูก็ได้ รอเข้าคลาสที่สองไปเลย แล้วระหว่างนั้นก็คือเอาเวลาไปทำอะไรให้ลูกตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่นพร้อมเรียนดีกว่า เขาจะได้สนุกไปกับคลาสได้อย่างเต็มที่

ให้ลูกเรียนอย่างนั้นนานแค่ไหน ถึงเริ่มคิดเรื่องพักการเรียนเรียนไปได้สองสัปดาห์ ก็รู้สึกว่าคุณครูสอนเหมือนเวลาที่เด็กไปโรงเรียน การสอนไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กบนแพลตฟอร์มออนไลน์เลย สมมติเราหาคลิปสอนอะไรก็ตามให้ลูกดู เช่น คลิปสอนเลข สอนภาษาอังกฤษ ยังรู้สึกว่าลูกได้ความรู้เหมือนกัน และสนุกกว่าด้วย คือทำไมเราจะต้องมาอารมณ์ไม่ดีใส่ลูก หรือทำไมลูกต้องมาทนนั่งเรียน มันไม่มีความสุขทั้งคู่ เรียนไปไม่กี่วัน ลูกก็บอกว่าเขาไม่ชอบเลย เขาเบื่ออีกอย่างคือเรารู้สึกว่า เวลาที่คุณครูถามแล้วเด็กจะตอบ บางทีครูก็ไม่สามารถโต้ตอบกับเด็กทุกคนได้ทันที มันทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ซึ่งเข้าใจนะว่าทุกคนคงคุยกันได้ไม่หมดหรอก ถึงแม้ครูจะพยายามแยกเด็กในคลาสออกเป็นกรุ๊ปละประมาณ 5-6 คน พอกรุ๊ปแรกเรียนครบ 20 นาที คุณครูก็จะให้ไปเบรก ระหว่างนั้นครูก็จะไปสอนเด็กกลุ่มถัดไป แต่มันก็เป็นการเรียนแบบมาๆ หายๆด้วยเหตุผลทั้งหมดบวกกับประโยคที่ลูกบอกว่าเขาไม่อยากเรียนออนไลน์เลยเ เขาเบื่อ เขาอยากไปโรงเรียน เลยตัดสินใจว่าดรอปก็ได้ เดี๋ยวค่อยหาทางว่าจะทำยังไงต่อ เพราะตอนที่ไปคุยกับผู้บริหารโรงเรียน ก็รู้สึกว่าเขาไม่ค่อยรับรู้ปัญหา รู้แค่ตอนนี้เด็กๆ ใช้กูเกิ้ลคลาสรูมในการเรียน แต่ไม่รู้เลยว่ามีอะไรเกิดขึ้นในคลาสบ้าง และเราก็คิดว่าจากสถานการณ์ในประเทศตอนนั้น เด็กๆ คงยังไม่ได้กลับไปเรียนในเร็ววันแน่

ปรีกษากันในครอบครัวอย่างไรที่บ้านเราอยู่กันแค่พ่อแม่ลูกและพี่เลี้ยง เพราะฉะนั้นทุกการตัดสินใจเราทำเองหมด ก็แค่เล่าให้อากงอาม่าฟังว่าไม่ได้ให้ลูกลาออกนะ แค่ดรอปไว้ก่อนระหว่างนั้นก็เริ่มคุยกับโรงเรียนเฉพาะทาง อย่างพวก STEM Education พวกกิจกรรมเพลย์กรุ๊ป ว่าเขามีเปิดกรุ๊ปแบบส่วนตัวไหม คือก็หาลู่ทางเอาไว้ก่อน และก็มีหาครูมาสอนภาษาไทย สอนเลข แต่ทั้งหมดเป็นการสอนผ่านกิจกรรม เหมือนมาเล่นแหละ แต่สอดแทรกความรู้เข้าไปด้วยบางครอบครัว พ่อแม่ก็อาจจะสอนลูกแบบนี้ได้ แต่ไม่ใช่กับทุกคนที่จะมีสกิลในการสอน และไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะคิดว่าการเรียนเป็นสิ่งที่ต้องทำร่วมกับพ่อแม่วิธีที่เลือกคือเปลี่ยนจากการเรียนออนไลน์เป็นเน้นให้ลูกเรียนผ่านกิจกรรมไปเลยหลังจากไปทำเรื่องดรอปเรียบร้อย ก็เริ่มพาลูกไปทำกิจกรรม STEM ซึ่งปกติลูกชอบมากอยู่แล้ว วันแรกลูกก็ถามเลยว่าไม่ต้องเรียนออนไลน์แล้วเหรอ พอเราตอบว่าไม่ต้องเรียนแล้ว เขาก็ดีใจลั่นรถเลย ก็รู้สึกว่าคิดถูกมากๆ ที่ตัดสินใจแบบนี้แต่ผ่านไปเกือบสองเดือน ตอนนั้นตัวเลขติดเชื้อรายวันเริ่มขึ้นไปหมื่นห้าถึงสองหมื่น ช่วงนั้นทุกคนก็กลัว ถึงจะเรียนเป็นกรุ๊ปเล็กๆ แต่ก็ต้องหยุดไปก่อนพอที่ทำกิจกรรม STEM ปิดรอบนี้ก็ต้องปรับแผนอีก เลยมีไปเอาใบงานโรงเรียนของลูกเพื่อนที่โตกว่าหนึ่งปี มาลองให้เขาทำ เพื่อจะได้รู้ว่าในระดับอนุบาลสองโรงเรียนสอนเรื่องอะไร แต่ไม่ได้จริงจังขนาดที่ว่าต้องทำสิ่งนี้ทุกวันนะ แค่วันไหนว่างก็ลองหยิบมาทำ หยิบมาคุย มีสอนเรื่องตัวอักษร สอนนับเลข เพราะเรารู้สึกว่าทักษะทางสังคมมันสำคัญกว่า เรื่องพวกนี้สามารถเอามาสอนแทรกตามโอกาสที่เหมาะสมได้

ถ้าถามว่าบรรยากาศตอนนี้ดีขึ้นไหม ดีขึ้นมากๆ เพราะเขารู้ว่าไม่ต้องมานั่งหน้าจออีก และเราก็ไม่เสียสุขภาพจิตด้วยที่ต้องมาพะวงทั้งการเรียนออนไลน์ของลูกและการทำงานของตัวเอง ด้วยปัจจัยมันไม่สัมพันธ์กับบ้านเราจริงๆ แต่ตอนนี้คือปล่อยอิสระ ปล่อยให้เล่น เราก็แค่คอยจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับเขา

ฟีดแบ็กจากลูกเป็นอย่างไรบ้างตอนเรียนออนไลน์เรารู้สึกว่าลูกไม่แฮปปี้เลย อาจเพราะมันเป็นเทอมที่ข้ามชั้นเรียนใหม่ จากอนุบาลหนึ่งไปอนุบาลสอง มันมีการเปลี่ยนสมาชิกนักเรียนในห้อง เปลี่ยนครูประจำชั้น ซึ่งปกติแล้วครูประจำชั้นจะต้องตามขึ้นมาด้วยทุกปี แต่ปีนี้อาจด้วยโรงเรียนมีเด็กมาสมัครเยอะขึ้น จากเดิมที่ระดับชั้นหนึ่งมี 3 ห้อง ก็เพิ่มเป็น 4 ห้อง เพื่อนเขาที่เคยเรียนด้วยกันมาก็กระจัดกระจาย ยิ่งทำให้เด็กรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่ง ไม่มีเพื่อน ครูประจำชั้นก็ไม่รู้จักขาดจุดร่วมของการเรียนไป แถมยังเจอหน้ากันผ่านจออีกถ้าถามว่าบรรยากาศตอนนี้ดีขึ้นไหม ดีขึ้นมากๆ เพราะเขารู้ว่าไม่ต้องมานั่งหน้าจออีก และเราก็ไม่เสียสุขภาพจิตด้วยที่ต้องมาพะวงทั้งการเรียนออนไลน์ของลูกและการทำงานของตัวเอง ด้วยปัจจัยมันไม่สัมพันธ์กับบ้านเราจริงๆ แต่ตอนนี้คือปล่อยอิสระ ปล่อยให้เล่น เราก็แค่คอยจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับเขา

ถ้าจำเป็นต้องให้ลูกกลับมาเรียนออนไลน์จริงๆ คิดว่าโรงเรียนควรทำอย่างไรให้เด็กมีความสุขที่จะเรียนมากขึ้นต้องบอกว่าเราไม่ได้แอนตี้การให้ลูกดูหน้าจอ ไม่ได้เกลียดสื่อออนไลน์ แต่คิดว่าการเรียนออนไลน์ควรจะดึงดูดให้เด็กสนใจมากกว่าการถูกบังคับให้นั่งมองในสิ่งที่เขาไม่เอนจอย ตอนนี้มันเหมือนกับเราส่งลูกไปเรียน แล้วโรงเรียนบังคับให้ลูกนั่งคัดลายมือ คือมันก็มีเด็กที่ซัฟเฟอร์กับการทำอย่างนั้น แต่ก็มีเด็กที่แฮปปี้ด้วยเหมือนกันคือเรารู้สึกว่า ถ้าโรงเรียนสอนออนไลน์สนุกกว่านี้ ออกแบบวิธีการสื่อสารได้ดีกว่านี้เขาก็น่าจะเอนจอยได้ เพราะฉะนั้นปัญหาของมันคือการออกแบบการสื่อสารจากครูมาสู่เด็กมากกว่า

ในฐานะที่ลูกเป็นหนึ่งในเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการเรียนออนไลน์  คุณแม่คิดว่าโรงเรียนหรือภาครัฐเองควรรับมือสถานการณ์นี้อย่างไรเรามองว่ามันอยู่ที่ผู้บริหารและนโยบายของโรงเรียน ว่ามองการเรียนการสอนออนไลน์ไว้ยังไง สอนเพื่อให้ผ่านๆ ไป สอนเพื่อให้ครบตามหลักสูตรเดิมที่วางไว้ หรือสอนเพื่อพัฒนาเด็ก ซึ่งเรารู้สึกว่าโรงเรียนของลูก คือสอนเพื่อให้ครบตามหลักสูตรที่กำหนดมากเกินไป แต่ไม่ได้มองว่าสิ่งที่เด็กจะได้รับจริงๆ คืออะไรคิดว่าโรงเรียนต้องออกแบบ ต้องตั้งเป้าหมายใหม่ แต่โรงเรียนก็อาจจะไม่มีใครมาช่วยไกด์เรื่องนี้ให้ ก็เลยคิดว่าหน่วยงานกลางควรทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเหลือครูและโรงเรียน เช่น มีการเทรนนิ่งเพื่อให้ครูมีการสอนที่เหมาะสมกับการสอนออนไลน์บ้างอย่างเทอมที่แล้ว เราไม่สนใจเลยนะ เพราะมันเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับทุกคน แต่พอมาปีนี้ โรงเรียนมีเวลาเตรียมตัวเยอะมาก มีการเลื่อนเปิดเทอมไปหลายเดือน เรารู้แนวโน้มอยู่แล้วว่าโรงเรียนจะได้เปิดหรือไม่ได้เปิด ดังนั้นก็ควรตรวจสอบได้ว่าโรงเรียนเตรียมความพร้อมไปถึงไหน หรือโรงเรียนต้องการความช่วยเหลือด้านใดบ้างและรัฐก็ควรซัปพอร์ตตั้งแต่ต้นเลยด้วยซ้ำ คือไม่ต้องลดค่าเทอม 50 เปอร์เซ็นต์ ก็ได้ เพราะเราเข้าใจว่าโรงเรียนก็มีค่าใช้จ่าย โรงเรียนก็ยังต้องจ่ายเงินเดือนให้ครูเหมือนเดิม แต่ก็ต้องอย่าลืมว่า สถานการณ์นี้มันมีอย่างอื่นที่พ่อแม่ต้องเข้ามารับผิดชอบมากขึ้นจากการที่ลูกไม่ได้ไปโรงเรียน ซึ่งทั้งหมดมันควรถูกคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ เพราะการที่โรงเรียนคิดค่าเทอมได้ ก็ต้องรู้อยู่แล้วว่าค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ส่วนกลางเท่าไหร่ ค่าครูเท่าไหร่ ค่าอาหารเท่าไหร่ แต่กลายเป็นว่าตอนนี้ไม่มีใครพูดถึงเลย หรือบางโรงเรียนอาจจะมี แต่ก็ไม่ใช่มาตรฐานของทุกโรงเรียนอยู่ดี

ตอนนี้ตัดปัญหาเรื่องเรียนออนไลน์ของลูกไปแล้ว แต่การดรอปเรียนมีเรื่องอื่นที่น่ากังวลอีกไหมสิ่งที่กังวลอาจเป็นเรื่อง เราต้องเตรียมลูกยังไง เพื่อให้เขาพร้อมกลับไปโรงเรียนอีกครั้ง แต่เอาจริงๆ อย่างเรื่องรู้ไม่เท่าเพื่อน เราคิดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาเพราะลูกเป็นคนที่ถ้าเขาอยากรู้ เขาก็จะถามเลย แต่ถ้าเขายังไม่อยากรู้เขาก็จะไม่สนใจ ซึ่งมันอาจจะเป็นสิ่งที่ลูกไม่อยากรู้จริงๆ ก็ได้อย่างก่อนที่จะดรอป เราก็มีสอนเขาเขียนชื่อ เขียนภาษาอังกฤษ เพราะก่อนจบอนุบาลหนึ่ง ครูได้บอกไว้ว่าอนุบาลสองของโรงเรียนมีเป้าหมายอะไร ซึ่งก่อนหน้านี้เขาไม่สนใจเลย แต่พอเขาอยากเขียน เราบอกวิธีสักสองสามครั้ง เขาก็เริ่มทำได้เอง เรารู้สึกว่าเมื่อไหร่ที่เขาสนใจ เขาก็จะถาม เพราะฉะนั้นเราแค่เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับให้ลูกกลับไปเรียนในโรงเรียนเท่าที่จะเตรียมได้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 22/09/21

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0