โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

โค้งสุดท้าย เตรียม 'ลดหย่อนภาษี' มีอะไรช่วยลดภาระภาษีได้บ้าง?

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 16 ธ.ค. 2564 เวลา 19.17 น.

เดินทางเข้าสู่ช่วงปลายปี นอกจากที่เรากำลังจะโบกมืออำลาปี 2564 และอ้าแขนต้อนรับปีใหม่แล้ว สิ่งหนึ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าก็คือการยื่นภาษีเงินได้ซึ่งเป็นหน้าที่ของประชาชนคนไทยทุกคน วันนี้ LINE TODAY เลยขออาสาพาทุกคนมาทบทวนเช็กลิสต์ว่านอกจากเอกสารต่าง ๆ นานาที่ต้องเตรียมแล้ว มีรายการลดหย่อนภาษีอะไรบ้างที่จะช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินในจุดนี้ของพวกเราได้บ้าง ไปดูแล้วเตรียมตัวให้ดีก่อนหมดปีนะ!

การลดหย่อนภาษี ทำไมถึงต้องวางแผน?

เหตุผลประการหลักคือเช่นเดียวกับการจับจ่ายใช้สอยเงินสำหรับของทั่ว ๆ ไป ก็คงไม่มีใครอยากจ่ายภาษีเต็มอัตราเช่นกัน การวางแผนลดหย่อนภาษีที่รัดกุมช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ และบางครั้งก็ทำให้ได้รับเงินภาษีส่วนเกินคืนมาด้วย ซึ่งวิธีการลดหย่อนทั้งหลายสร้างประโยชน์ให้กับผู้เสียภาษีทุกคนโดยเท่าเทียมกัน โดยรายการที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ก็ ได้แก่ การซื้อกองทุน SSF หรือ RMF, การซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ, กองทุนประกันสังคม, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ระบุเอาไว้ในเงื่อนไขของรัฐ เพราะฉะนั้นหากมีสิ่งเหล่านี้อยู่ในมือ อย่าปล่อยทิ้งเอาไว้อย่างเปล่าประโยชน์ มาเช็กรายละเอียดตามด้านล่าง รวบรวมเอกสาร แล้วเตรียมยื่นขอลดหย่อนภาษีกัน

ประเภทค่าลดหย่อนภาษี

1 | ค่าลดหย่อนภาษีประเภทค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท - สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ และไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการเงินซัพพอร์ตค่าลดหย่อนในส่วนนี้
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส จำนวน 60,000 บาท - สำหรับคู่สมรสที่ทำการจดทะเบียนสมรสถูกต้องถามกฎหมาย และเป็นกรณีที่คู่สมรสไม่ได้มีรายได้
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี - โดยสามีสามารถลดหย่อนภาษีในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้ ใช้เอกสารรับรองเป็นใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท - โดยจะต้องเป็นบุตรโดยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม และบุตรมีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาอยู่
  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและคู่สมรส จำนวนคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน สามารถลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท - โดยพ่อแม่จะต้องมาอายุมากกว่า 60 ปี เป็นพ่อแม่โดยกำเนิด และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท 
  • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ จำนวนคนละ 60,000 บาท - โดยผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

2 | ค่าลดหย่อนภาษีประเภทประกัน เงินออม และการลงทุน ได้แก่

  • เงินประกันสังคม - สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท 
  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ - ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท 
  • เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ - ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา - ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ - สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท 
  • RMF - สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท 
  • SSF - สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) และ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน - สามารถลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

3 | ค่าลดหย่อนภาษีประเภทเงินบริจาค ได้แก่

  • เงินบริจาคทั่วไป - ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ - สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง - นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

4 | ค่าลดหย่อนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่

  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย - สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท

อ้างอิง

เว็บไซต์ Finnomena

เว็บไซต์ iTAX

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 8

  • Jack
    ภาษีที่จ่ายไม่คุ้มค่ากับคุณภาพชีวิตที่ได้ จ่ายไปเพื่อให้อำมาตย์ชาติชั่_เสวยสุข จ่ายไปเพื่อ? ประเทศไม่พัฒนา
    17 ธ.ค. 2564 เวลา 00.29 น.
  • ปีนี้รายได้สุทธิรวม 87.4ล้านบาท ภาษีบานปวดหัว
    17 ธ.ค. 2564 เวลา 00.25 น.
  • แอ็ด ครับ
    อยากช่วยประชาชนมากมั้ยครับ โน่นเลย ภาษีน้ำมัน ทำได้มั้ย.
    17 ธ.ค. 2564 เวลา 06.33 น.
  • Wit
    แล้วภาษีน้ำหละที่ปชชต้องการคือลดภาษีน้ำมันโว๊ย
    17 ธ.ค. 2564 เวลา 13.05 น.
  • ✈️✈️🛩️🛩️🚁🚁🚀✈️✈️🛩️🛩️🚁🚁✈️✈️🚁🚁🚀✈️✈️
    ตอนรับแจกเบี้ยต่างๆนาๆไม่ยักบ่น เรานี่คนหาทาจ่าย ลดได้แค่2รายการ เาลากลางเดือน ค่ารถเมล์ยังไม่มีเลย ต้องเดินกลับ แต่พอขึ้นรถเมล์เห็นคนที่ไม่ต้องจ่ายภาษีได้รูด ปรื้ดๆ โคตรช้ำ เคยเดินจากสุขุมวิทมาห้วยขวาง นี่จ่ายภาษีอยู่ปีล่ะ50000
    18 ธ.ค. 2564 เวลา 23.26 น.
ดูทั้งหมด