โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

กิน-ดื่ม

พจนานุกรม ‘อ็อกซ์ฟอร์ด’ บรรจุชื่อ ‘ผัดไทย’ เป็นคำสากล เทียบชั้น ‘พิซซ่า’

The Bangkok Insight

อัพเดต 10 มี.ค. 2566 เวลา 09.33 น. • เผยแพร่ 10 มี.ค. 2566 เวลา 09.33 น. • The Bangkok Insight
พจนานุกรม ‘อ็อกซ์ฟอร์ด’ บรรจุชื่อ ‘ผัดไทย’ เป็นคำสากล เทียบชั้น ‘พิซซ่า’

เว็บไซต์ อ็อกซ์ฟอร์ด ดิกชันเนอรีส์ (Oxford Dictionaries) บรรจุชื่อ “pad thai” (ผัดไทย) ให้เป็นคำสากลที่ทั่วโลกรู้จัก

คำว่า pad thai ถูกบรรจุอยู่ในหมวด C2 ซึ่งเป็นหมวดคำศัพท์ทั่วไป ที่ถูกบัญญัติใช้เพื่อแสดงให้รู้ถึงแหล่งที่มาต้นกำเนิด หรือพื้นถิ่นของสิ่ง ๆ นั้น และใช้เป็นชื่อสากลเหมือนกับคำว่า pizza จากอิตาลี

ผัดไทย
ผัดไทย

หากพิมพ์ภาษาอังกฤษตัวเล็กว่า "pad thai" จะพบกับความหมายว่า "เป็นอาหารจากประเทศไทย ซึ่งเป็นชนิดเส้น ที่ทำมาจากข้าว เครื่องปรุง ไข่ ผัก เนื้อสัตว์หรืออาหารทะเล"

“a dish from Thailand made with a type of noodles made from rice, spices, egg, vegetables and sometimes meat or seafood”

ที่มาของผัดไทย

ผัดไทยเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน เดิมเรียกอาหารชนิดนี้ว่า "ก๋วยเตี๋ยวผัด" และได้รับการเปลี่ยนแปลงด้านรสชาติใหม่ ตามอย่างอาหารไทยมากขึ้นในเวลาต่อมา

ผัดไทยได้กลายเป็นที่รู้จักของคนต่างชาติในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ได้รณรงค์ให้ประชาชนหันมานิยมรับประทานก๋วยเตี๋ยว เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ เนื่องจากในช่วงนั้น สภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ข้าวมีราคาแพง

แต่เพราะกระแสชาตินิยมที่มองว่า ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจีน จึงได้ดัดแปลงให้ผัดไทย เป็นอาหารไทย ผัดไทยในยุคแรกใช้เส้นจันทบูรเป็นเส้นในการผัด ส่วนหมูนั้นก็จะไม่ใส่เพราะมองว่าเป็นผัดซีอิ๊วมากกว่า ซึ่งจะทำให้เหมือนกับอาหารจีนมากเกินไป โดยจะใส่กุ้งแห้งแทน

ผัดไทย
ผัดไทย

นอกจากนี้ยังใส่ เต้าหู้เหลือง มะนาว ใบกระเทียม หัวปลี และถั่วงอก ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายในไทย และเปลี่ยนชื่อ "ก๋วยเตี๋ยวผัด" เป็น "ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย" ตามชื่อใหม่ของประเทศ ปัจจุบันเรียกกันโดยย่อเหลือเพียงแค่ "ผัดไทย"

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0