โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

'หมอธนวัฒน์' ไขข้อข้องใจ หมอนรองกระดูกยื่น และกระดูกสันหลังเคลื่อน รักษาต่างกัน

MATICHON ONLINE

อัพเดต 01 พ.ย. 2566 เวลา 06.39 น. • เผยแพร่ 01 พ.ย. 2566 เวลา 06.03 น.
324

‘หมอธนวัฒน์’ ไขข้อข้องใจ หมอนรองกระดูกยื่น และกระดูกสันหลังเคลื่อน รักษาต่างกัน

ปวดหลังเหมือนกัน แต่การรักษาต่างกัน แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังไขข้อข้องใจ สภาวะหมอนรองกระดูกยื่น และกระดูกสันหลังเคลื่อน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังเหมือนกันแต่การรักษาจะต่างกัน ซึ่งการหาสาเหตุของโรคจะนำไปสู่การรักษาที่ตรงจุด

นพ.ธนวัฒน์ อุณหโชค แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เปิดเผยว่า ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือ Lumbar spondylolisthesis เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้า หรือด้านหลังมากกว่าปกติ ส่วนมากมักพบบริเวณกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4 และข้อที่ 5 เนื่องจากข้อกระดูกสันหลังส่วนนี้จะต้องแบกรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของร่างกายความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันออกไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการปวดหลังบริเวณส่วนล่าง และจะมีอาการแย่ลงหลังการออกกำลังกาย โดยเฉพาะเมื่อมีการบริหารกระดูกบั้นเอว และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย

โดยอาการจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ อาการที่บริเวณหลัง จะปวดหลังเรื้อรัง และมักเกิดในขณะที่มีการเคลื่อนไหวของหลังที่มีการขยับหลังมาก เช่น การก้ม เงย หรือเดิน และอาการที่ขา ปวด ชา ล้า หนักที่บริเวณสะโพกหรือต้นขา 2 ข้าง อาการจะเป็นมากขณะเดิน และจะดีขึ้นเมื่อมีการก้มโค้งหลังหรือได้นั่งพัก ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกว่าระยะทางที่เดินได้จะสั้นลงเรื่อยๆ หากโพรงประสาทตีบแคบมากอาจทำให้การควบคุมระบบขับถ่ายเสียไปได้

ขณะที่ สภาวะหมอนรองกระดูกยื่น เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างกระดูกทั้ง 2 ข้อปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาทไขสันหลังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดคอหรือหลัง หากมีการกดทับมากอาจเสี่ยงต่อความพิการได้ โดยอาการที่แสดงอย่างเด่นชัด คือ อาการปวด ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายก็จะมาด้วยตำแหน่งของการปวดที่ต่างกันไป เช่น ปวดหลังล่าง ปวดบริเวณบั้นเอว หรือสะโพกร้าวลงขา ชา หรือเสียวเหมือนไฟช็อตร้าวลงขา ปวดคอ แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง มีปัญหาขณะก้มยกของ หรือทรงตัว หากเส้นประสาทถูกกดทับนานจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และระบบขับถ่ายมีปัญหา

แม้ว่าอาการของทั้งสองโรคนี้จะดูคล้ายกันจนแทบแยกไม่ออก แต่ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ มีวิธีการวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกยื่น หรือโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน ได้อย่างแม่นยำ โดยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังจะทำการตรวจประเมินร่างกายเบื้องต้น ซักประวัติผู้ป่วยร่วมกับการทำ X-ray และการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เพื่อให้แพทย์นำมาใช้ในการวินิจฉัยอาการ และยืนยันความผิดปกติที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างแม่นยำ และตรงจุด

การรักษาหมอนรองกระดูกยื่น เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง และรับประทานยาแก้ปวดนานเกิน 1 เดือนแล้วและอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยกล้องเอ็นโดสโคป หรือการเจาะรูส่องกล้อง ด้วยเทคนิค PSLD (Percutaneous Stenoscopic Lumbar Decompression) ที่บริเวณหลัง หรือ เทคนิค PSCD (Percutaneous Stenoscopic Cervical Decompression) ที่บริเวณคอ ซึ่งทั้งสองเทคนิคนี้จะใช้อุปกรณ์ที่มีเลนส์กำลังขยายสูง ที่ติดอยู่ที่บริเวณปลายกล้องเอ็นโดสโคป เปรียบเสมือนดวงตาของแพทย์ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน แม่นยำ และปลอดภัย สามารถรักษาเฉพาะส่วนที่มีปัญหาโดยที่ไม่ต้องตัดเลาะกล้ามเนื้อส่วนที่ดีออก ทำให้แผลเล็ก เจ็บน้อย ปลอดภัย ฟื้นตัวเร็ว การรักษาด้วยวิธี MIS-Spine นี้จึงเป็นเรื่องง่ายและเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วย เพราะพักฟื้นเพียงแค่ 1 คืนก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ปัจจุบันการรักษาโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือกระดูกทับเส้นด้วยเทคนิคการยึดน็อตแบบ TLIF คือ การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง เพื่อหยุดการเคลื่อนของกระดูกสันหลังของผู้ป่วย และเปลี่ยนหมอนรองกระดูกสันหลังเทียมในผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกเสื่อม ซึ่งในสมัยก่อนจะต้องทำการผ่าตัดแบบเปิดแผล หลังจากนั้นวงการแพทย์ได้มีการพัฒนามาทำการผ่าตัดด้วยเทคนิค MIS TLIF ด้วยการใส่ท่อแล้วเลาะกล้ามเนื้อออกบางส่วน หลังจากนั้นจึงใส่หมอนรองกระดูกเทียมเข้าไป แต่ล่าสุดด้วยเทคโนโลยีใหม่ทำให้การรักษาโรคกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีต่อผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

อีกทั้งยังสามารถลดอาการปวดแผลของผู้ป่วยลงเมื่อเทียบกับการรักษาแบบเดิมหลายเท่า ด้วยเทคนิค Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF) คือ การใช้กล้องเอ็นโดสโคปเพื่อใส่หมอนรองกระดูกเทียมเข้าไป และทำการเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Interbody Fusion) ด้วยสกรูแบบเจาะรู (Percutaneous Screw) ซึ่งวิธีนี้จะตัดกล้ามเนื้อน้อยที่สุด ทำลายโครงสร้างของกระดูกสันหลังน้อยมาก ความเสี่ยงต่ำ และแตกต่างจากเทคนิคเดิม อีกทั้งยังสามารถลดขนาดของบาดแผล และให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น

ทั้งนี้การเจาะและใช้อุปกรณ์ร่วมกันภายในรูเดียว หรือแบบ Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF) ซึ่งวิธีนี้จะใช้อุปกรณ์กล้องที่มีความพิเศษสูง โดยมีช่องสำหรับใส่เครื่องมือเพื่อเข้าไปทำการรักษา โดยการนำหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาออก และยังสามารถเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมได้ภายในรูเดียว โดยที่เครื่องมือนั้นไม่เข้าไปทำลายกล้ามเนื้อโดยตรง บอบช้ำน้อยกว่าการใช้อุปกรณ์แบบ 2 รู และการรักษาด้วยวิธีนี้ ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นเครื่องมือในการรักษาตลอดเวลา และใช้เวลาในการรักษาประมาณ 2 ชั่วโมง

หลังทำการรักษาผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก และภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยสามารถเดินได้คล่องขึ้น ซึ่งการรักษาด้วยเทคนิค Full Endo TLIF (Full Endoscopic TLIF) นี้โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ถือเป็นรายแรกในประเทศไทย ที่ใช้เทคนิคนี้แบบเต็มรูปแบบ เพราะเนื่องจากจำเป็นต้องตัดโครงสร้างภายใน โอกาสที่แพทย์จะทำได้จะต้องเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ที่สูงในเรื่องโรคกระดูกสันหลัง ซึ่งหาได้น้อยมาก

แต่สำหรับที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีจุดแข็งที่โดดเด่น และเด่นชัด คือ มีทีมแพทย์ และพยาบาลเฉพาะทาง โรคปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลัง และระบบประสาทโดยเฉพาะ ทำให้รู้ลึก รู้จริงและเชี่ยวชาญ สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด ประกอบกับการนำเอานวัตกรรมสมัยใหม่จากทั่วโลกเข้ามาช่วยในการรักษา เพื่อตอบโจทย์ผู้ป่วยที่มีเวลาน้อย การฟื้นตัวทำได้เร็วขึ้น ไม่ทรมาน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กลัวการผ่าตัด สำหรับโรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ ปรึกษา โทร.02 034 0808

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น