โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

รู้จัก ‘Garrett’ แบรนด์เครื่องจับโลหะ มูลค่า 2,000 ล้านจากสหรัฐอเมริกา

TODAY

อัพเดต 09 ต.ค. 2566 เวลา 16.13 น. • เผยแพร่ 09 ต.ค. 2566 เวลา 09.13 น. • workpointTODAY
รู้จัก ‘Garrett’ แบรนด์เครื่องจับโลหะ มูลค่า 2,000 ล้านจากสหรัฐอเมริกา

รู้หรือไม่ว่า กีฬาโอลิมปิก ฟุตบอลโลก สนามบินชั้นนำ ห้างสรรพสินค้าระดับโลก หรือแม้แต่สถานที่ราชการในประเทศต่าง ๆ ล้วนใช้เครื่องตรวจจับโลหะจากแบรนด์เดียวกัน นั่นก็คือ ‘Garrett’ แบรนด์เครื่องตรวจจับโลหะจากสหรัฐอเมริกาที่มีจุดเริ่มต้นจาก ‘แก้ปัญหา’

และในบทความนี้ TODAY Bizview ขอพาทุก ๆ ท่านย้อนรอยไปกับเส้นทางธุรกิจ ‘Garrett’ ที่นำไปสู่มูลค่าบริษัท 2,000 ล้านบาท

ย้อนกลับไปในปี 1964 แบรนด์ ‘Garrett’ หรือที่รู้จักกันในชื่อเต็มว่า Garrett Metal Detectors เกิดขึ้นโดยคุณ Charles Garrett อดีตทหารเรือผ่านศึกจากกองทัพสหรัฐที่ได้ผันตัวจากเป็นทหารเข้าสู่วิศวกรภาคธรณี และคุณ Eleanor Smith ครูโรงเรียนปฐมวัยภรรยาของเขา กำลังทำการวิจัย เเละค้นคว้าเกี่ยวกับแผ่นดินไหว

ซึ่งเขาจำเป็นจะต้องใช้เครื่องตรวจจับโลหะในการเดินสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ และได้เห็นถึง ‘ปัญหา’ ของเครื่องตรวจจับโลหะที่มีอยู่ในตลาดขึ้น ทั้ง ๆ ที่พวกเขาเช่าเครื่องตรวจโลหะมาใน ‘ราคาสูง’ แต่การตรวจจับกลับ ‘ไม่เสถียร’ ทำให้ใช้งานไม่ได้ดั่งใจเท่าไหร่นัก

ทำให้ทั้งคู่เกิดแนวคิดธุรกิจที่อยากจะแก้ปัญหา จึงคิดค้นที่จะสร้างเครื่องตรวจจับโลหะด้วยตนเอง โดยที่พวกเขาจึงทุ่มเวลาไปกับมันราว ๆ 1 ปี โดยใช้พื้นที่ค้นคว้าจากโรงรถเล็ก ๆ ในบ้านของเขาเท่านั้น

จนกระทั่งในปีถัดมาพวกเขาสามารถเปิดตัว Garrett dual searchcoil Hunter เครื่องตรวจจับโลหะแบบแท่ง โดยเริ่มต้นจำหน่ายราคาขายปลีก 145 ดอลลาร์สหรัฐ และได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้ามากมาย โดยเขาก็เริ่มขยายธุรกิจไปเรื่อย ๆ ในขนาดที่ไม่ใหญ่มากเท่าไหร่นัก

3 ปีถัดมา (ปี 1967) แบรนด์ Garrett เกิดมีคู่แข่งมากมายถึง 35 แบรนด์ แต่พวกเขาเองมั่นใจว่าสินค้าจากแบรนด์ของเขาจะดีกว่าสินค้าของคู่แข่งในตลาด ประกอบกับช่วงเวลานั้นเขาสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาสินค้าให้กำจัดออสซิลเลเตอร์ (วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตสัญญาณออกมาซ้ำ ๆ)

จึงทำให้แบรนด์สามารถขยายฐานลูกค้าไปยังหมู่ ‘นักล่าขุมทรัพย์’ มากขึ้น เพราะตอบโจทย์ในการใช้ค้นหา ทองคำ อัญมณีและอื่น ๆ

ต่อมาทางแบรนด์ขยายธุรกิจด้วยการเปิดโรงงานขนาดใหญ่ในเมือง ‘การ์แลนด์’สหรัฐอเมริกา และเริ่มมีตัวแทนจำหน่ายไปยังประเทศต่าง ๆ

โดยทิศทางของแบรนด์ในตอนนั้นมุ่งไปที่การพัฒนาเครื่องตรวจจับโลหะแบบแท่งเพื่อใช้ในการ ‘ล่าขุมทรัพย์’ เพียงเท่านั้น เพราะจากกระแสตอบรับที่ช่วยจากผู้ใช้งานจริงที่มีทั่วตลาด

จนกระทั่งมาถึงจุดเปลี่ยนเมื่อปี 1983 ทางแบรนด์ได้รับเชิญให้พัฒนา ‘ประตูตรวจจับโลหะ’ เพื่อใช้ในงานโอลิมปิกที่ถูกจัดขึ้นในลอสแอนเจลิส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องราวเหมือนกับ ‘โศกนาฏกรรมของมิวนิก’

ซึ่งการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ลอสแอนเจลิสถือเป็นครั้งแรกที่ใช้การคัดกรองการตรวจจับโลหะที่ครอบคลุมที่สุดในประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน เพราะประกอบไปเครื่องตรวจจับแบบเดินผ่าน 60 เครื่องและเครื่องตรวจจับแบบมือถือ Garrett’s Pocket Probe 1,000 เครื่อง และมีผู้เชี่ยวชาญอย่างแบรนด์ Garrett อยู่เบื้องหลัง

ต่อมาภายหลังจากนั้น Garrett ได้รับความไว้วางใจจากห้างสรรพสินค้า สนามกีฬา, สนามบิน และเขตพื้นที่ราชการต่าง ๆ รวมถึงรัฐบาลทั่วโลก อาทิ เกาหลี, อียิปต์, สเปน, สเปน และอื่น ๆ

และแบรนด์ก็มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องตรวจจับรุ่นใหม่ ๆ ที่ทันสมัยขึ้นมาเรื่อย ๆ ให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ของโลก ตัวอย่าง เช่น

  • ปี 2011 ผู้คนสามารถเข้าถึงโทรศัพท์มือถือได้มากขึ้น ทางแบรนด์จึงเปิดตัวระบบคัดกรองแบบมือถือระบบรักษาความปลอดภัย Super Scanner V ใหม่ โดยมีตัวเลือกสัญญาณเตือนทั้งแบบเสียงและแบบสั่น
  • ปี 2021 ที่โลกกำลังเผชิญวิกฤต Covid-19 ทางแบรนด์พัฒนาระบบ Smart Scan ช่วยให้สามารถวัดอุณหภูมิร่างกายไปพร้อมๆ
  • ปี 2023 ที่โลกกลับสู่ปกติแต่แบรนด์ยังคงพัฒนาระบบ Zero Touch NFC และการตรวจจับโลหะด้วยความไวด้วยทิศทาง Ambiscan™ เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจจับ

และถึงแม้ว่าภายหลังแบรนด์จะโดดเด่นในการพัฒนาประตูตรวจจับโลหะและเครื่องตรวจโลหะจับแบบมือถือ แต่ก็ยังไม่หยุดที่จะพัฒนา ‘เครื่องตรวจจับแร่ทองคำ’ ที่สามารถใช้ในการล่าขุมทรัพย์โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นแรกของแบรนด์มาโดยตลอดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เพราะด้วยความไว้วางใจที่มีมาตลอด 59 ปีนี้ ทำให้ Garrett เป็นซัพพลายเออร์หลักสำหรับหลาย ๆ โอกาส ไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอลโลก, กีฬาโอลิมปิก, สายการบิน ทำให้ในปัจจุบันมูลค่าของบริษัทอยู่ที่ 2,000 ล้านบาทเลยทีเดียว

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ด้วย Passion ที่จะแก้ไขจุดบกพร่องเดิมของสินค้าที่มีในตลาดและกลยุทธ์ Customer Centric ที่ยึดความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ประกอบกับการปรับตัวสินค้าให้เข้ากับช่วงเวลานั้น ๆ เป็นจุดแข็งหนึ่งที่นำพา ให้ธุรกิจ Garrett ยังคงเดินหน้าต่อไป..

ที่มา : https://garrett.com/our-story/history

: https://www.zoominfo.com/c/garrett-electronics-inc/41667088

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0