โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

เปิดประสิทธิผลวัคซีนโควิด ฉีดเข็ม 3 ลดป่วย 90% เข็ม 4 อัตรายิ่งสูง

PPTV HD 36

อัพเดต 04 ส.ค. 2565 เวลา 11.10 น. • เผยแพร่ 04 ส.ค. 2565 เวลา 08.56 น.
เปิดประสิทธิผลวัคซีนโควิด ฉีดเข็ม 3 ลดป่วย 90% เข็ม 4 อัตรายิ่งสูง
เปิดประสิทธิผลวัคซีนโควิดจากการใช้งานจริงกับผู้ป่วย พบว่าการฉีด 2 เข็ม ไม่เพียงพอ ฉีดเข็ม 3 ป้องกันได้แค่ 6% แต่ลดป่วย-เสียชีวิตกว่า 90% และเข็ม 4 ลดเสียชีวิตได้เกือบ 100%

สถาบันวัคซีนแห่งชาติจัดเสวนาวิชาการเรื่องประสิทธิผลของวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นและข้อมูลวัคซีนรุ่นใหม่ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom webinar) โดย พญ.ปิยนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวถึงผลการประเมินประสิทธิผลวัคซีน ในช่วงการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า เมื่อช่วงปลายปี 2564 ว่า ในขณะนั้นการฉีดวัคซีน 2 เข็มไม่ว่าจะสูตรใดป้องกันการติดเชื้อได้

"โอมิครอน" ครองการระบาดทั่วโลก 99% BA.5 เบียดแซงตัวอื่นเกินครึ่ง

“หมอมนูญ”ชี้โอมิครอน BA.5 อยู่ในช่วงขาขึ้น ฝีดาษลิงจะระบาดในไทยแน่นอน

โดยหากฉีดเข็มแรกใหม่ ๆ จะป้องกันเชื้อเดลต้าได้ 50 % แต่เมื่อผ่านไปมากกว่า 90 วัน ประสิทธิผลจะลดลงเหลือ 40% และเมื่อฉีดเข็ม 2 เข้าไปอีก ในช่วงใหม่ ๆ จะป้องกันการติดเชื้อรุนแรงได้เกือบ 80% ไปจนถึง 90% แต่เมื่อผ่านไปมากกว่า 90 วัน ภูมิคุ้มกันจะตกลงมานิดหน่อยเหลือ 80% แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ป้องกันได้

สำหรับสูตรวัคซีน 2 เข็ม ที่พบว่าได้ประสิทธิผลดี คือ สูตรวัคซีนแบบไขว้ มีประสิทธิผลลดการป่วยรุนแรงแบบใส่ท่อหายใจได้ 72-83% โดยสูงกว่าการฉีด 2 เข็มแบบคู่ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะสูตรแอสตร้าเซนเนก้า+ไฟเซอร์ ป้องกันการติดเชื้อได้ถึง 83% รองลงมา คือ สูตรซิโนแวค + ไฟเซอร์ ป้องกันการติดเชื้อได้ถึง 79% และหากกระตุ้นเข็ม 3 เพิ่มอีกไม่ว่าจะสูตรใดก็ตามต่างก็ให้ประสิทธิผลดีหมดป้องกันการติดเชื้อได้ถึง 90%

จับขายยาต้านไวรัสโควิดเถื่อน มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท

โควิดวันนี้ (4ส.ค.65) เสียชีวิตเฉียด 30 ราย ติดเชื้อ 2 พันกว่าราย

แต่ในช่วงการระบาอของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ในเดือนมกราคม-เมษายน 2565 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ BA.1 และ BA.2 เป็นหลัก แต่ดื้อวัคซีนน้อยกว่าสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ที่พบในตอนนี้ สำรวจจากจำนวนประชากร 3,059,616 คน พบว่า การฉีดวัคซีนเพียง 1-2 เข็ม ถือว่าไม่มีประสิทธิภาพแล้ว แต่ 3 เข็ม ถือว่ามีประสิทธิภาพ และหากกระตุ้นมากขึ้นก็จะป้องกันได้มากขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ที่ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ลดป่วยรุนแรงแบบใส่ท่อหายใจได้ 70% และลดการเสียชีวิต 72%
  • ผู้ที่ฉีดวัคซีน 3 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 6% ลดป่วยรุนแรงแบบใส่ท่อหายใจได้ 90% และลดการเสียชีวิต 91%
  • ผู้ที่ฉีดวัคซีน 4 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 71% ลดป่วยรุนแรงแบบใส่ท่อหายใจได้ 99% และลดการเสียชีวิต 99%
  • ผู้ที่ฉีดวัคซีน 5 เข็ม ป้องกันการติดเชื้อ 83%

“การฉีดวัคซีนกระตุ้น เข็ม 3 และ 4 เพิ่มประสิทธิผลวัคซีนแบบสองเข็ม โดยเฉพาะลดการป่วยรุนแรงแบบใส่ท่อหายใจและลดการเสียชีวิตจาก 70% ให้กลายเป็น 90% และ 99% ตามลำดับ ไม่ว่าจะฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด mRNA หรือ Viral vector ประสิทธิผลไม่ต่างกัน” พญ.ปิยนิตย์ กล่าว

อย่างไรก็ตามการผสมสูตรวัคซีน พบว่าดีเช่นกัน จึงไม่ต้องกังวล การฉีด 3 เข็มส่วนใหญ่จะเป็นแบบไขว้ อย่างแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม+ ไฟเซอร์ ป้องกันได้สูงถึง 85%, ซิโนแวค 2 เข็ม+แอสตร้าเซนเนก้า ป้องกันได้สูง 94%, ซิโนแวค 2 เข็ม+ไฟเซอร์ป้องกันได้สูง 100%

ด้วยเหตุนี้ประชาชนทุกคนในประเทศไทย ควรได้รับวัคซีนโควิด-19 จำนวน 3 เข็ม สูตรใดก็ได้ เป็นพื้นฐาน เพื่อให้ปลอดภัยจากการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโควิด-19 แต่ในกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยงป่วยรุนแรงจากโควิด-19 หรือต้องการป้องกันการติดเชื้อ ลดการแพร่ระบาด ควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 จำนวน 4 เข็มขึ้นไป โดยเว้นระยะห่างจากเข็มสุดท้ายตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป

ทั้งนี้หากฉีด 2 เข็มแรกแบบไขว้และกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนชนิด Viral vector หรือ mRNA ยืนยันว่ายังมีประสิทธิผลสูง แม้เผชิญกับการระบาดของโอมิครอนก็ตาม

ส่วนกรณีมีคำถามว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 4 แล้ว จะติดเชื้อได้ทุกคน พญ.ปิยนิตย์ กล่าวว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 4 ยังสามารถติดเชื้อได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะติดทุกคน เพราะการฉีดวัคซีนใหม่ ๆ ช่วงแรกภูมิคุ้มกันย่อมดี แต่เมื่อฉีดไปนานเกิน 4 เดือนภูมิคุ้มกันย่อมตก ดังนั้นจึงต้องมีการฉีดเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง

อย่างไรก็ตามเนื่องจากไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ต่อเนื่อง และประสิทธิผลของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แม้จะมีมาตรการฉีดวัคซีนในประชากรเป้าหมายให้สูงเพียงพอแล้ว แต่ก็ต้องทำร่วมกับมาตรการสังคม ที่เน้นการสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง ร่วมกับมาตรการการแพทย์ ที่เน้นการตรวจหาการติดเชื้อเร็ว และการรักษาเร็วด้วยยาที่มีประสิทธิภาพ

สาเหตุ Covid Rebound ยังไม่แน่ชัด ป่วยไม่ได้รับยาต้านไวรัสก็เป็นได้

"เริม" ติดไม่ง่ายแต่ติดได้ รู้ชัดแยกความต่าง "อีสุกอีใส - ฝีดาษลิง"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0