โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ไขข้อสงสัย นอนไม่ครบ 8 ชั่วโมง ร่างกายไม่สดชื่น จริงหรือไม่?

MThai.com - Health

เผยแพร่ 06 ก.พ. 2561 เวลา 01.00 น.
ไขข้อสงสัย นอนไม่ครบ 8 ชั่วโมง ร่างกายไม่สดชื่น จริงหรือไม่?
ลองมาหาคำตอบกันไหมว่า ถ้าเรา นอน ไม่ครบ 8 ชั่วโมง เราจะรู้สึกไม่สดชื่น จริงหรือมั่วกันแน่?

เชื่อเถอะว่าหลายคนต้องเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ควร นอน ให้ครบ 8 ชั่วโมง” ถึงจะเป็นผลดีต่อร่างกาย ซึ่งหลายคนก็คงเกิดคำถามภายในใจใช่ไหมว่า ถ้าหากเรานอนไม่ครบ 8 ชั่วโมง ร่างกายจะไม่สดชื่นใช่ไหม นอนมากไปก็ไม่ดี นอนน้อยไปก็ไม่ดี แล้วจะต้องนอนเท่าไหร่ ถึงจะพอดี ตามมาหาคำตอบกันค่ะ

ช่วงอายุเท่านี้ ต้องนอนเท่าไหร่?

  • แรกเกิด ต้องการการนอนหลับ 20 ชั่วโมง ขึ้นไป
  • ขวบปีแรก ต้องการนอนหลับ 12 ชั่วโมง ขึ้นไป
  • เด็กวัยประถม 9-11 ชั่วโมง
  • เด็กวัยรุ่น 10 ชั่วโมง
  • เด็กมหาวิทยาลัย 7-9 ชั่วโมง
  • ผู้ใหญ่ตอนต้น 7-9 ชั่วโมง
  • ผู้ใหญ่ตอนกลาง ถึงตอนปลาย 7-8 ชั่วโมง

การนอนที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องนอนให้ครบ 8 ชั่วโมงไหม?

เราสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพได้ โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องนอนให้ครบ 8 ชั่วโมง หรือนอนเพียงแค่ 5-6 ชั่วโมง ก็สามารถตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นได้ หากเรานอนหลับลึกเพียงพอเท่าที่ร่างกายต้องการ แค่นี้สุขภาพก็ดีได้ ทั้งนี้ตัวเลขการนอนหลับ 8 ชั่วโมง เป็นเพียงสถิติทั่วไป เราไม่จำเป็นต้องสร้างความกดดันให้ตัวเองถึงขนาดนั้นก็ได้

การนอนที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร?

  1. ตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่น

  2. จำนวนชั่วโมงนอนไม่สำคัญ

  3. การนอนหลับด้วยร่างกายที่ผ่อนคลาย ร่างกายได้ยืดเหยียด ยืดเส้น ยืดสาย

  4. การนอนหลับด้วยจิตใจที่ผ่อนคลาย ไม่มีความเครียด

  5. การนอนหลับในตอนที่ร่างกายง่วงจริงๆ ไม่จำเป็นต้องบังคับตัวเองว่าต้องเข้านอนเวลานั้น เวลานี้ เพื่อกดดันร่างกาย และจิตใจ หรือยิ่งตั้งใจจะนอนหลับ จะยิ่งหลับยาก

  6. การได้พักผ่อนนอนหลับอย่างมีคุณภาพที่แท้จริง คือการที่ร่างกายได้ผ่อนคลาย สามารถหลั่งฮอร์โมน ไม่หลั่งสารเครียด ซ่อมแซ่มส่วนที่สึกหรอได้อย่างปกติ

  7. การรักษาการนอนไม่หลับ ง่ายๆ คือ 1. การปรับพฤติกรรมและความเชื่อ เพื่อให้นอนหลับได้ดีขึ้น 2. รักษาด้วยยา เนื่องจากไม่สามารถนอนหลับด้วยตนเองได้เป็นระยะเวลานาน เพราะมีความเครียด ซึ่งจะใช้ยานอนหลับในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อสามารถปรับพฤติกรรมและความเชื่อ ได้ถูกต้องแล้ว ร่างกายนอนหลับได้เอง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยา

ที่มา : สสส.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0