โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

หุ้น การลงทุน

ซีอีโอใหม่ KTC ตั้งเป้ากำไรพุ่งต่อเนื่องทุกปี หวังแตะหมื่นล้าน จากปี 65 ที่ 7 พันล้าน!

The Bangkok Insight

อัพเดต 12 ต.ค. 2566 เวลา 22.10 น. • เผยแพร่ 13 ต.ค. 2566 เวลา 00.44 น. • The Bangkok Insight
ซีอีโอใหม่ KTC ตั้งเป้ากำไรพุ่งต่อเนื่องทุกปี หวังแตะหมื่นล้าน จากปี 65 ที่ 7 พันล้าน!

ซีอีโอใหม่ KTC ตั้งเป้ากำไรพุ่งต่อเนื่องทุกปี หวังแตะ 10,000 ล้านบาท จากปี 2565 อยู่ที่ 7,000 ล้านบาท พร้อมกางแผนธุรกิจปี 2567 เชื่อแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC กล่าวว่า บริษัทแต่งตั้งซีอีโอใหม่ คือ นางสาวพิทยา วรปัญญาสกุล มีผลเริ่ม 1 มกราคม 2567 โดยร่วมงานกับ KTC มายาวนานถึง 26 ปี โดยเชื่อมั่นว่า ภายใต้ทีมบริหารชุดใหม่นี้ จะสามารถส่งต่อและสานต่อหน้าที่และภารกิจสำคัญของเคทีซีให้สำเร็จได้อย่างราบรื่นต่อเนื่อง พร้อมคุมคุณภาพสินเชื่อ ปัจจุบันมีหนี้ไม่ก่อรายได้ (NPL) 2% ยังอยู่ในระดับทรงตัว และปีหน้าอาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังควบคุมไว้ให้ต่ำกว่าอุตสาหกรรม

KTC
KTC

ทำกำไรนิวไฮต่อเนื่องทุกปี

ขณะที่แนวโน้มการใช้จ่ายปลายปีนี้ ยังมั่นใจว่า มีการเติบโตดีต่อเนื่องในกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อ แม้จะเกิดเหตุการณ์ที่พารากอน แต่ไม่มีผลกระทบมากนัก และนักท่องเที่ยวยังเดินทางเข้ามา ประกอบกับไตรมาส 4 ของปี เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวที่มียอดการจับใช้จ่ายสอยผ่านบัตรเครดิตสูงอยู่แล้ว

ส่วนนโยบายภาครัฐที่จะมีการแจกเงินดิจิทัล ในปี 2567 มองว่า มีทั้งข้อดีและข้อเสีย สำหรับ ข้อดี คือ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้แรงมาก ข้อเสีย คือ ต้องระวังการทุกจริต ซึ่งภาครัฐเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี ดังนั้น ประเด็นนี้ยังเป็นโจทย์ภาครัฐ จะทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดโมเมนตัมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้จริง

ด้านนางพิทยา วรปัญญาสกุล ว่าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KTC กล่าวถึงทิศทางธุรกิจเคทีซีในปี 2567 และก้าวต่อไปว่า เรายังคงเป้าหมายทำกำไรให้เติบโตถึง 10,000 ล้านบาท โดยมุ่งทำกำไรนิวไฮต่อเนื่องทุกปี รวมถึงในปีนี้ด้วย

KTC
KTC

ปรับตัวภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

ทั้งนี้ จากปี 2565 มีกำไรสุทธิ อยู่ที่ 7,079 ล้านบาท ขณะที่ครึ่งปีแรก 2566 มีกำไรสุทธิ 3,678 ล้านบาท เติบโต 1% จากครึ่งปีแรก 2565 อยู่ที่ 3,641 ล้านบาท ส่วนปี 2567 ยังมีความไม่แน่นอนใจเรื่องเศรษฐกิจ แต่เรามีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมมาโดยตลอด KTC เชื่อมั่นว่า 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อเคทีซีพี่เบิ้ม ยังมีโอกาสการเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและพร้อมรุกตลาดในปีหน้า

"ในปีหน้ามั่นใจว่า เรามีความสามารถในการปรับตัวภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป รักษาฐานพอร์ตที่มีอยู่และแสวงหาโอกาสใหม่ ต่อยอดธุรกิจเคทีซีบนฐานลูกค้าใหม่และบนแพลตฟอร์มพันธมิตรที่แข็งแรง ส่วนในช่วงปลายปีนี้ หากทางภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา จะส่งผลดีต่อเราด้วยเช่นกัน" นางพิทยา กล่าว

สำหรับธุรกิจบัตรเครดิต จะเน้นขยายฐานสมาชิกใหม่ ได้แก่ กลุ่มระดับบนที่มีการใช้จ่ายสูง และมีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน รวมถึงกลุ่มผู้ที่ต้องการสินเชื่อเป็นหลัก โดยยืนยันว่าจะไม่ชักจูงให้สมาชิกมีภาระหนี้ที่เกิดจำเป็น สอดคล้องกับแนวทางการให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.)

KTC
นายระเฑียร ศรีมงคล

ยอดการใช้จ่ายเติบโต 15%

ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมาย 2567 มียอดการใช้จ่ายเติบโต 15% จากเติบโต 13-14% ในปีนี้ และมียอดบัตรเครดิตใหม่ 230,000 บัตร จากฐานสมาชิกใหม่ 2.3 ล้านคน มีอัตราการใช้บัตร Ative สูงถึง 90%

ขณะที่ธุรกิจสินเชื่อบุคคล จะเติบโตได้จากฐานลูกค้าใหม่และพอร์ตปัจจุบัน และมีคุณภาพ เน้นการรับสมัครผ่านช่องทางสมัครสินเชื่อออนไลน์ ตั้งเป้าหมายปี 2567 มีพอร์ตสินเชื่อบุคคลเติบโต 5% มีจำนวนสมาชิกใหม่ บัตรกดเงินสด เคมีซี พราว เพิ่มขึ้น 100,000 ราย จากปัจจุบัน 700,000 ราย

ส่วนสินเชื่อเคทีซีพี่เบิ้ม รถแลกเงิน จากความร่วมมือในการขยายฐานสมาชิกกับกรุงไทย ผ่านสาขาธนาคารกว่า 900 แห่งเป็นหลัก และเน้นการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ ให้วงเงินใหญ่สูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติสินเชื่อภายใน 1 ชั่วโมง พร้อมรับเงินสดทันที และขยายหลักประกันต่าง ๆ ให้ลูกค้าเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น ตั้งเป้าหมายปี 2567 สินเชื่อใหม่ 6,000 ล้านบาท

KTC
KTC

นอกจากนี้ จากการที่ ธปท. มีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายหลายรอบและสุดท้ายขึ้นมาที่ 2.5% ดังนั้นในส่วนของการบริหารต้นทุนทางการเงิน ในปี 2567 KTC จะยังคงรักษาระดับให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและความเสี่ยงที่ยอมรับได้

โดยในปี 2567 มีแผนจะระดมเงินกู้ยืมระยะยาวประมาณ 13,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของพอร์ตสินเชื่อ รวมถึงรองรับหุ้นกู้และเงินกู้ยืมระยะยาวที่จะครบกำหนดประมาณ 11,850 ล้านบาท ทำให้สัดส่วนเงินกู้ยืมระยะสั้นต่อเงินกู้ยืมระยะยาว (Original Term) อยู่ที่ประมาณ 20:80 และต้นทุนทางการเงินอยู่ที่ประมาณ 3.1% สูงขึ้นจากสิ้นปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.8% และมีกรอบอยู่ที่ไม่เกิน 3.1% ในปีหน้า

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น