"หมอธีระ วรธนารัตน์" เผยข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 เตือน "ภาวะลองโควิด" เช็กอาการผิดปกติที่พบบ่อย ทำให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้ลำบากมากขึ้น
"หมอธีระ" หรือ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการณ์โรคโควิด-19 เตือน "ภาวะลองโควิด" เช็กอาการผิดปกติที่พบบ่อย ทำให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้ลำบากมากขึ้น
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 179,478 คน ตายเพิ่ม 806 คน รวมแล้วติดไป 653,972,540 คน เสียชีวิตรวม 6,659,501 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และฝรั่งเศส
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 82.52 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.11
อัพเดต Paxlovid
Dryden-Peterson S และทีมงานจาก Brigham and Women's Hospital และ Harvard T.H. Chan School of Public Health ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดในวารสารทางการแพทย์ระดับสากล Annals of Internal Medicine วันนี้ 13 ธันวาคม 2565 ศึกษาในประชากรวัยผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยไม่ได้รักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 44,551 คน ตั้งแต่มกราคมถึงกรกฎาคม 2565 พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาต้านไวรัส Paxlovid (Nirmatrelvir/ritonavir) ช่วยลดความเสี่ยงที่จะป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ราว 40% และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ราว 70% แม้อัตราการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจะอยู่ในระดับต่ำราว 1% แต่การได้รับยาต้านไวรัสก็ลดความเสี่ยงลงไปได้อีก
อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศก็ต้องพิจารณาเรื่องอื่นๆ มาประกอบด้วย อาทิ สถานการณ์การติดเชื้อที่เป็นอยู่ งบประมาณ ความคุ้มค่า ชนิดของยาต้านไวรัสต่างๆ
- ตร. รู้ตัวคู่รักเล่นจ้ำจี้กลางร้านซักผ้าแล้ว สารภาพสิ้นทำไปเพราะขาดสติ
- ตำรวจเตรียมออกหมายเรียก "ใบเฟิร์น" 26 ธ.ค.นี้ แจงปมพักรีสอร์ตหรูรุกป่าสงวน
- โฉมหน้า คนไทยคนเดียว "ติดอันดับมหาเศรษฐีใจบุญแห่งเอเชีย" ปี 2022
อัพเดต Long COVID ในไอร์แลนด์
ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจ เปิดเผยโดย สส.Denis Naughten ประเทศไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2565
สาระสำคัญคือ ปัจจุบันคาดว่าจะมีประชากรวัยผู้ใหญ่ในไอร์แลนด์ราว 6% ที่กำลังประสบปัญหา Long COVID โดยในกลุ่มผู้ป่วย Long COVID ข้างต้นนั้น 67% มีอาการผิดปกติต่อเนื่องยาวนานกว่า 3 เดือน (เพศหญิง 69%, เพศชาย 60%)
ทั้งนี้ 84% รายงานว่าอาการผิดปกติที่มีนั้นทำให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้ลำบากมากขึ้น อาการผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า อาการหอบเหนื่อย ปัญหาด้านความจำ ปัญหาการนอนหลับ และอาการปวดกล้ามเนื้อ
ข้อมูลต่างๆจากทั่วโลกนั้นตอกย้ำให้เรารับรู้ว่า การติดเชื้อโควิด-19 นั้นไม่ได้จบชิลๆแล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงได้ ตายได้ สำคัญกว่านั้นคือ อาจเกิดอาการผิดปกติเรื้อรังระยะยาวได้ในทุกระบบของร่างกาย ทั้งสมอง ระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือด ระบบต่อมไร้ท่อ ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร ฯลฯ
การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงสถานที่เสี่ยง ไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนด เหนืออื่นใดการใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
ขอบคุณ Thira Woratanarat
ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews
ความเห็น 1
KIT
จะแยกยังไงระหว่าง ผลข้างเคียงระยะยาวจากวัคซีน กับ ภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อ.....อย่าทำอะไรที่ผิดกับตัวเองและความจริงเลย....ทั้ง 2 อย่างเกิดจาก autoimmune ทั้งนั้น มิหนำซ้ำ ถ้าเทียบกันตอนนี้ คนที่มีอาการคือคนรับวัคซีนทั้งนั้น....เวรกรรมใครก็รับกันไป ไม่รับชาตินี้ก็รอชาติหน้า สารภาพความผิดมา อย่างน้อยลดเวรกรรมไม่ได้ แต่ก็รับกรรมได้อย่างสบายใจนะ
13 ธ.ค. 2565 เวลา 16.37 น.
ดูทั้งหมด