โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

‘Duni ‘ยักษ์กระดาษเช็ดปากสวีเดน เดินหน้าขยายลงทุน ‘ดูนิ ประเทศไทย’ รวม 1,000 ล้าน

The Bangkok Insight

อัพเดต 17 พ.ค. 2566 เวลา 08.34 น. • เผยแพร่ 17 พ.ค. 2566 เวลา 08.34 น. • The Bangkok Insight
‘Duni ‘ยักษ์กระดาษเช็ดปากสวีเดน เดินหน้าขยายลงทุน ‘ดูนิ ประเทศไทย’ รวม 1,000 ล้าน

"ดูนิ ประเทศไทย " เดินขยายขยายลงทุนไทยรวม 1,000 ล้านบาท ปักหมุดฐานผลิตเอเชีย รองรับตลาด HoReCa เติบโตต่อเนื่อง

นายประวิทย์ เตชะวิจิตร์ กรรมการผู้จัดการ (CEO) บริษัทดูนิ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตกระดาษเช็ดปากชั้นนำจากประเทศสวีเดน เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมด้านอาหาร หรือ ตลาด HoReCa (Hotels Restaurants & Catering)ในประเทศไทยมีขนาดใหญ่มาก

ทั้งนี้ อ้างอิงจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าจำนวนโรงแรม 24,400 แห่งทั่วประเทศ ในจำนวนนี้เป็นโรงแรมสี่ดาวขึ้นไป ประมาณ 3,660 แห่ง หรือคิดเป็น 15%

นอกจากนี้ ยังมีความน่าสนใจในกลุ่มธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร (Restaurant) ที่ทาง TTB Analytics รายงานไว้เป็นจำนวน ถึง 32,300 แห่ง โดยเป็นร้านเจาะตลาดระดับกลางและระดับบน

ขณะที่ธุรกิจจัดเลี้ยง (Catering) มีข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย และการประเมินของบริษัท คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าตลาดที่ 850 ล้านบาทเช่นกัน ทำให้มุมมองในการขยายตลาดและลงทุนในไทยมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

เมื่อพิจารณาจากศักยภาพของตลาด HoReCa ในไทยที่มีการบริโภคภายในประเทศสูงเหมาะกับการใช้เป็นฐานของธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคสะดวกในการส่งออก ซึ่งประเทศไทยมีสนธิสัญญา FTA Free Trade Agreement กับหลายประเทศทำให้มีข้อได้เปรียบในเรื่องภาษีของผู้ซื้อที่ต้องการนำเข้า อีกทั้งแรงงานในไทยมีคุณภาพสูงและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ยังไม่สูงนัก

ดังนั้น บริษัทจึงตัดสินใจลงทุนพัฒนาพื้นที่โรงงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้นในปีนี้ เพื่อให้เป็นฐานผลิตป้อนตลาดในไทยและเอเชีย เนื่องจากเล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่ขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ของกลุ่มชนชั้นกลางในแต่ละประเทศที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในการรับประทานอาหารที่มีความพิถีพิถันมากขึ้น

ในส่วนของแผนการลงทุนในประเทศไทย ดูนิ ประเทศไทย มีการลงทุนขั้นต้นในปี 2559 มูลค่า 720 ล้านบาท และเตรียมขยายพื้นที่ และกำลังผลิตอีก 300 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 เฟส ในส่วนเฟสแรก ดำเนินการในปี 2566 มูลค่าการลงทุน 190 ล้านบาท และ เฟสที่สอง ในปี 2567 อีก 110 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท

จากการขยายกำลังการผลิตดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ สามารถผลิตสินค้าที่มีความหลากหลาย สอดรับกับความต้องการของตลาดในอนาคต รวมถึงเพิ่มกำลังการผลิตจากปัจจุบัน 4,000 ตันต่อปี และเพิ่มเป็น 6,000-8,000 ตันในปี 2567-2568 ตามลำดับ

การเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและจำหน่ายให้ทั้งในไทยและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียในครั้งนี้เป็นไปตามบิสิเนส โมเดล ( Business Model) ที่ทำสำเร็จมาแล้วในยุโรป

อีกหนึ่งแผนงานที่ ดูนิ ไทยแลนด์ ให้ความสำคัญคือ การตลาด การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่าย และสร้างแบรนด์ ซึ่ง ดูนิ มีสินค้าสำหรับหลากหลายกลุ่มตลาด แบ่งได้เป็น 3 คอนเซ็ปต์หลัก และนับเป็นแบรนด์ โพสิชันที่ชัดเจน ดังนี้

  • แบรนด์ Go การใช้งานแบบสะดวกราคาไม่สูง เช่น napkins ที่ใช้ในร้านอาหารแบบทานสบาย ๆ สไตล์คาเฟ่
  • แบรนด์ Joy เน้นความสวยงาม สนุกสนานสร้างอารมณ์และบรรยายกาศที่ดีของงานเลี้ยงในกลุ่มครอบครัวและเพื่อนฝูง
  • แบรนด์ Wow เน้นความหรูหรา ให้ความรู้สึก Luxury เหมาะกับ Fine Dining และร้านที่ให้ความสำคัญกับบรรยากาศร้าน และดีไซน์

สำหรับทิศทางธุรกิจและกลยุทธ์การตลาด HoReCa ในไทย และภูมิภาคเอเชีย รวมถึงเป้าหมายในอนาคตนั้น ได้ให้ความสำคัญกับตลาด B2B (Business to Business) ในกลุ่มร้านอาหาร เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบัน ดูนิ ประเทศไทย มีตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ และกำลังอยู่ในระหว่างแต่งตั้งตัวแทนเจาะกลุ่มเฉพาะอีกจำนวนหนึ่ง

พร้อมกันนี้ในส่วนของกลุ่มสินค้าแพคเล็ก จะมีการนำเข้าจำหน่ายในช่องทางโมเดิร์นเทรด เพื่อทำตลาดในส่วนของ B2C (Business to Consumer) ด้านช่องทางจัดจำหน่ายในต่างประเทศจะใช้เครือข่ายของ ดูนิ เอบี ซึ่งเป็นบริษัทแม่ พร้อมกับแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในเมืองหลักทั่วภูมิภาคเอเชีย

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ให้ได้ในปี 2573 ซึ่งในปี 2566 ทางบริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอน (Carbon) ได้เป็นผลสำเร็จ

พร้อมตั้งเป้าหมายในปี 2568 สินค้ากระดาษของดูนิ จะสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และผลิตตามการควบคุมของ FSC (Forest Stewardship Council)

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น