ดอกคาโมมายล์ เป็นพืชในวงค์เดียวกับ ดาวเรือง ดาวกระจาย มีสองสายพันธุ์คือ เยอรมันคาโมมายล์ และโรมันคาโมมายล์ แต่คาโมมายล์สายพันธุ์เยอรมันจะเป็นที่รู้จักและนิยมใช้มากกว่าส่วนที่ใช้คือดอกซึ่งมีลักษณะเป็นดอกช่อที่มีดอกย่อยรอบนอกมีกลีบสีขาวขนาดใหญ่ ดอกย่อยตรงกลางขนาดเล็กมีกลีบดอกสีเหลืองใช้ในอุตสาหกรรมยา อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และน้ำหอม
ดอกคาโมมายล์ใช้เป็นสมุนไพรมานานนับพันปี ตั่งแต่ยุคอียิปต์โบราณ กรีกและโรมัน เป็นสมุนไพร ที่นิยมมากในทวีปยุโรป
“ตำลึง” สมุนไพรฤทธิ์เย็น โภชนาการสูง แหล่งสารฟลาโวนอยด์ช่วยต้านมะเร็ง
อาหารเพื่อคุณผู้ชาย กระตุ้นระบบการไหลเวียนเลือด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
โดยมีสรรพคุณมากมายได้แก่ ทําให้สงบ คลายกังกล ช่วยให้หลับ ลดอาการระคาย เคืองทางเดินอาหาร ขับลม ลดอาการปวดเกร็งท้องลดการปวดประจําเดือน ต้านการอักเสบในช่องปาก คอ ผิวหนัง และช่วยสมานแผล
ดอกคาโมมายล์ ประกอบด้วยสารหลายกลุ่มคือสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ นอกจากนี้พบสารอื่นๆ ได้แก่กรดฟีโนลิก (phenolic acids) และ GABA (gamma aminobutyric acid) จากรายงานการวิจัยพบว่าดอกคาโมมายล์มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่างได้แก่ฤทธิÍต้านการอักเสบ ป้องกันการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ คลายวิตกกังวล ต้านออกซิเดชัน และต้านเชื้อจุลชีพ
การดื่มชาชงจากดอกคาโมมายล์ ช่วยขับลม บรรเทาอาการอักเสบและแผลในทางเดินอาหาร คลายกังวล และนอนหลับดีขึ้น โดยใช้ดอกประมาณ 3 กรัม ชงด้วยน้าร้อนประมาณ 150 ซีซี แช่ประมาณ 5-10 นาทีแล้วกรองกากออก ดื่มวันละ3-4 ครั้ง นอกจากนี้การสูดดมไอระเหยจากการแช่ดอกคาโมมายล์ด้วยน้าร้อน หรือการกลั่วคอและบ้วนปาก ด้วยชาคาโมมายล์วันละหลายๆ รอบจะช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุผิวในช่องจมูก ปากและลําคอได้ น้ำมัน หอมระเหยจากดอกคาโมมายล์ยังใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางต่างๆ รวมถึงใช้ในสุคนธบําบัด (Aromatherapy)
ซึ่งตามข้อมูลแล้ว ผลข้างเคียงจากการใช้ดอกคาโมมายล์พบได้น้อย แต่อาจพบได้ในผู้ที่แพ้ดอกคาโมมายล์หรือพืชในตระกูลเดียวกัน (Asteraceae) ซึ่งจะมีอาการผิวหนังอักเสบ จาม น้ำมูกไหล ลิ้นและริมฝีปากบวมได้เช่นกัน
วิธีกินแอปเปิลให้ได้ประโยชน์สูงสุด สารพฤกษเคมี ช่วยต้านอนุมูลอิสระด้วย
จริงหรือไม่? คาโมมายล์ช่วยการนอนหลับ
ทางการแพทย์ระบุไว้ว่า มีส่วนจริง เพราะดอกคาโมมายล์มีสารอะพิจีนีน มีฤทธิ์ช่วยคลายวิตกกังวล ช่วยทำให้สมองผ่อนคลาย ส่งผลให้การนอนหลับดีขึ้น
ใช้คาโมมายล์อย่างไรให้ปลอดภัย
- โดยทั่วไปมีการใช้คาโมมายสในรูปแบบซา ซึ่งสามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย
- ระมัดระวังการบริโภคคาโมมายล์พร้อมกับยาบางชนิด เช่น ยาวาร์ฟาริน หรือยาไซโคลสปอริน
- ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม หากบริโภคมากเกินไปหรือถี่เกินไป อาจมีอาการง่วงซึม หรืออาเจียนได้
- หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภค
การใช้คาโมมายล์หรือสารสกัดจากคามมายล์เพื่อช่วยลดอาการนอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ทุกครั้ง โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัวและใช้ยาประจำ
ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โภชนาการผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย วิตามิน-พลังงาน เพิ่มคุณภาพชีวิต
เคล็ดลับอาหารต้านมะเร็งกระเพาะอาหาร กินหลากหลาย เติมเครื่องเทศ ลดปิ้งย่าง
ความเห็น 0