กรณีการสูญหายของวัสดุกัมมันตรังสี ชนิด ‘ซีเซียม-137’ ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาทางเจ้าหน้าที่พบว่าวัสดุกัมมันตรังสีดังกล่าวได้ถูกนำมาหลอมละลายที่โรงหลอมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในอำเภอกบินทร์บุรี ปราจีนบุรี ซึ่งต่างทำให้ประชาชนวิตกกังวลถึงการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีเซียม-137 จะส่งผลต่อสุขภาพ
เรามาย้อนดูว่าจุดกำเนิดของ "ซีเซียม" มาจากที่ไหนและใครเป็นคนค้นพบ ซึ่งต้องย้อนกลับไปเมื่อปี 1860 'โรแบร์ท บุนเซิน'(Robert Bunsen) และ 'กุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ'(Gustav Kirchhoff) ทั้งคู่ได้ใช้สเปกโตรสโป(Spectroscope) เครื่องมือที่พวกเขาประดิษฐ์ขึ้นมาขึ้นมาจนค้นพบโลหะอัลคาไล 2 ชนิด ได้แก่ซีเซียม (cesium) และรูบิเดียม (rubidium) การค้นพบนี้เองกลายเป็นการเปิดศักราชใหม่ ในวิธีการค้นหาธาตุองค์ประกอบต่างๆ
.
ทีนี้มารู้จักเขาทั้งสองคนผู้ที่ค้นพบซีเซียมและรูบิเดียม คนแรกคือ'โรแบร์ท บุนเซิน' เป็นลูกชายของศาสตราจารย์ด้านภาษาสมัยใหม่ที่มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน (Göttingen)ของประเทศเยอรมนี โดยเขาเรียนจบปริญญาเอกจากมาหวิทยาลัยดังกล่าวในปี 1830
.
ก่อนจะได้รับทุนให้เข้าศึกษาและทำงานในโรงงานต่าง ๆ รวมถึงสถานที่ที่มีความน่าสนใจทางธรณีวิทยา ซึ่งรวมไปถึงห้องทดลองที่มีชื่อเสียงในกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศสของ 'โจเซ็ฟ หลุยส์ แก-ลูว์ชัก' (Joseph Louis Gay-Lussac)
.
อย่างไรก็ชีวิตในเส้นทางอาชีพของเขาใช่ว่าจะสวยหรู ขณะที่ที่เขาทำการวิจัยเกี่ยวกับเคมีอินทรีย์ โรแบร์ท ต้องสูญเสียตาขวาไปเพราะสาร 'คาโคดลิ ไซยาไนด์'(cacodyl cyanide) เกิดระเบิดขึ้นขณะทำการทดลอง
.
อีกทั้งตลอดชีวิตการทำงาน เขายังให้ความสนใจกับเรื่องธรณีวิทยาอย่างลึกซึ้ง ครั้งหนึ่งเขาได้ทำการวัดอุณหภูมิของน้ำในท่อน้ำพุร้อนของเกรทไกเซอร์ (Great Geyser) ของประเทศไอซ์แลนด์อย่างกล้าหาญก่อนที่มันจะปะทุ
.
ถัดมาอีกคนสำคัญคือ 'กุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ' เขาเป็นนักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ ชาวปรัสเซีย เกิดในครอบครัวที่มีคุณพ่อเป็นทนายความ ซึ่งให้ความสำคัญกับด้านการศึกษาทำให้เด็กน้อยกุสทัฟได้ศึกษาศาสตร์ที่หลากหลายแต่เขาให้ความสนใจกับเรื่องฟิสิกส์มาตั้งแต่ยังวัยรุ่น กระทั่งจบที่มหาวิทยาลัยเคอนิชส์แบร์ค จากนั้นมีส่วนร่วมกับงานสัมนาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์มากมายที่เป็นประโยชน์ในการต่อยอดศาสตร์ต่าง ๆ
.
ในส่วนชีวิตของกุสทัฟ มาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญเมื่อได้เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบรสเลาในประเทศโปแลนด์ ที่นี่เองทำให้เขาได้พบกับ'โรแบร์ท บุนเซิน' ซึ่งกำลังวิจัยเรื่องวงจรไฟฟ้าและรังสีความร้อน ซึ่งโรแบร์ทได้ชวนกุสทัฟให้ย้ายไปทำงานที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก ที่ประเทศเยอรมนีด้วยกัน
.
จนมาในปี 1860 ขณะที่ทั้งคู่กำลังทดลองสเปกตรัมของน้ำแร่สปาที่ตกค้าง ในเมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ได้ค้นพบชุดเส้นของสเปกตรัมที่มีการปล่อยสีที่ไม่สอดคล้องกับองค์ประกอบที่พวกเขารู้จัก จึงตั้งชื่อธาตุนี้ว่า 'cesium' ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า 'caesius' แปลว่าท้องฟ้าสีฟ้า ตามเส้นสีน้ำเงินที่พวกเขาเห็นในสเปกตรัมนั่นเอง จากนั้นในปี 1961 ทั้งคู่ธาตุรูบิเดียมด้วยวิธีเดียวกัน
.
เพจ:ข่าวเวิร์คพอยท์ https://www.facebook.com/NewsWorkpoint
.
อ้างอิงที่มา
https://www.sciencehistory.org/historical-profile/robert-bunsen-and-gustav-kirchhoff
https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Bunsen