โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

หาวบ่อยเกิดจากอะไร ถือว่าผิดปกติหรือไม่

HonestDocs

อัพเดต 31 ต.ค. 2563 เวลา 20.06 น. • เผยแพร่ 31 ต.ค. 2563 เวลา 20.06 น. • HonestDocs
หาวบ่อยเกิดจากอะไร ถือว่าผิดปกติหรือไม่
หาวบ่อย แล้วปวดหัว เวียนหัว หูอื้อ น้ำตาลไหล หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่ทั่วท้อง อ่อนเพลีย เกิดจากอะไร อันตรายไหม? อาการหาวบ่อย แบบไหนถึงจำเป็นต้องไปพบแพทย์?

การหาวคือ การแสดงออกเมื่อรู้สึกง่วงนอน หรือเหนื่อยล้าจนอยากพักผ่อน แต่หลายครั้งที่คุณอาจสังเกตว่า ตนเองมีอาการหาวบ่อยผิดปกติทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้สึกง่วง หรืออ่อนเพลียมากขนาดนั้น

เรามาดูความหมายของการหาวและสาเหตุว่า "ตัวการที่ทำให้เกิดอาการหาวบ่อยคืออะไร"

การหาวคืออะไร?

การหาว (Yawn) คือ กลไกการหายใจของร่างกายผ่านการอ้าปาก และสูดหายใจเข้าลึกๆ เพื่อเติมออกซิเจนเข้าไปในปอด การหาวถือเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายอย่างหนึ่งเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้า พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือรู้สึกอ่อนเพลีย

การหาวมีหลายแบบ บางคนหาวแค่หายใจเข้าสั้นๆ บางคนหาวเป็นเวลานานหลายวินาที บางคนหาวโดยมีน้ำตาไหลออกมาด้วยหลังจากหาวเสร็จ บางคนหาวแล้วต้องยกแขนยืดกล้ามเนื้อไปด้วย

ผู้ที่มีอาการหาวมากกว่า 1 ครั้งต่อ 1 นาที จัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีอาการหาวบ่อย (Excessive yawning) ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากร่างกายอ่อนล้า ง่วงนอน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพด้านอื่นๆ

สาเหตุของอาการหาวบ่อย

ยังไม่มีผลการศึกษาที่สามารถหาสาเหตุได้แน่ชัดว่า อาการหาวบ่อยนั้นเกิดจากอะไร แต่ปัจจัยที่อาจมีส่วนทำให้เกิดอาการหาวบ่อย ได้แก่

1. ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ

ผู้ที่มีปัญหานอนหลับยาก นอนดึก นอนหลับไม่สนิทจนร่างกายยังไม่หายอ่อนล้า มักมีอาการหาวบ่อยกว่าปกติ หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการนอนหลับ

อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยเกี่ยวกับการนอนหลับหลายรายที่ไม่รู้ตัวว่า ตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน เช่น ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA)

ดังนั้นหากไม่ทราบว่า ตนเองมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับหรือไม่ ให้สังเกตว่า มีอาการต่อไปนี้หรือไม่

  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงาน หรือการเรียนได้
  • มีการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัวช้า 
  • เหม่อลอย
  • อ่อนเพลีย รู้สึกง่วงตลอดเวลา
  • ปวดเมื่อย หรือรู้สึกกล้ามเนื้ออ่อนล้า

2. เป็นโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวล หรือมีอาการวิตกกังวล (Anxiety) เป็นอีกสาเหตุที่มักทำให้เกิดอาการหาวบ่อยมากกว่าปกติ

เพราะความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลกระทบไปถึงระบบต่างๆ ของร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของหัวใจ ระบบทางเดินหายใจ และระดับพลังงานที่ร่างกายจะดึงออกมาใช้ระหว่างวัน

เมื่อระบบของร่างกายไม่สามารถทำงานได้เต็มที่จะนำมาซึ่งอาการหายใจไม่สะดวก หรือหายใจได้ไม่เต็มปอด ทำให้มีอาการหาวบ่อยกว่าปกตินั่นเอง

ผู้ป่วยโรคนี้รวมถึงผู้ที่มีภาวะวิตกกังวล หรือเครียดจัด ควรลงปรึกษาจิตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ หรือขอรับการทำจิตบำบัดอย่างเหมาะสมต่อไป

3. โรคซึมเศร้า

อาการง่วงนอน อ่อนเพลีย เป็นอีกอาการที่เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (Depression) อีกทั้งเป็นผลกระทบจากการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) ด้วย ซึ่งอาการนี้สามารถแก้ไขได้โดยปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยา

4. โรคหัวใจ

อาการหาวบ่อยเป็นสัญญาณของการไหลเวียนเลือดภายในหัวใจที่ผิดปกติ และอาการหัวใจวาย (Heart attack) ได้

นอกเหนือจากอาการหาวบ่อยแล้ว ยังมีอาการร่วมอื่นๆ ที่สามารถสังเกตได้ว่า หัวใจเกิดความผิดปกติ เช่น

  • รู้สึกแน่น หรือเจ็บหน้าอก
  • หายใจถี่กว่าปกติ หายใจไม่ทั่วท้อง
  • เวียนศีรษะ
  • คลื่นไส้อาเจียน

5. โรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มักมีอาการหาวบ่อยอยู่เป็นประจำ โดยหนึ่งในปัจจัยของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิรอบตัวผู้ป่วยที่ร้อน หรือหนาวเฉียบพลัน จนส่งผลต่อสมองของผู้ป่วยได้

6. โรคลมบ้าหมู

ผู้ป่วยโรคลมบ้าหมู (Epilepsy) อาจมีอาการหาวบ่อยในช่วงก่อน ระหว่าง หรือหลังจากเกิดอาการชักซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติที่สมองกลีบขมับ (Temporal Lobe) นอกจากนี้ยังอาจมีอาการหาวบ่อยในระหว่างเกิดอาการอ่อนเพลีย ซึ่งเป็นผลมาจากโรคลมบ้าหมู

7. โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการหาวบ่อยเป็นผลกระทบจากอาการอ่อนเพลียซึ่งเป็นหนึ่งในอาการของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis: MS) รวมถึงอาจเป็นสัญญาณของโรคเกี่ยวกับระบบประสาทอื่นๆ ได้ด้วย

อีกทั้งโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งยังเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ตามปกติ จึงทำให้เกิดอาการหาวบ่อยได้โดยไม่ได้ตั้งใจ

การวินิจฉัยอาการหาวบ่อย

เนื่องจากอาการหาวบ่อยมักเกี่ยวข้องกับระบบประสาท รวมถึงการทำงานของสมองด้วย

หลังจากซักประวัติสุขภาพในเบื้องต้นรวมถึงพฤติกรรมการนอนหลับของคุณแล้ว แพทย์อาจให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram: EEG) ซึ่งจะช่วยให้เห็นความผิดปกติเกี่ยวกับคลื่นไฟฟ้าในสมอง รวมถึงสามารถวินิจฉัยโรคลมบ้าหมูได้ด้วย

นอกจากนี้แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging) ซึ่งจะทำให้แพทย์ได้เห็นโครงสร้างการทำงานของระบบต่างๆ ว่า มีความผิดปกติในส่วนใด

การรักษาอาการหาวบ่อย

การรักษาอาการหาวบ่อยจะรักษาไปตามสาเหตุ เช่น

  • หากอาการหาวบ่อยเป็นผลมาจากการใช้ยาบางชนิด แพทย์ก็จะพิจารณาปรับเปลี่ยนยาให้ แต่หากเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ทางแพทย์ก็อาจแนะนำให้คุณไปรับคำปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ ต่อไป
  • หากอาการหาวบ่อยเกิดจากพฤติกรรม แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนใหม่ อาจเป็นการปรับช่วงเวลาเข้านอนใหม่ ออกกำลังกายเพื่อลดความเครียด หรืองดกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงก่อนนอนเพื่อให้หลับง่ายขึ้น เช่น ออกกำลังกาย เล่นโทรศัพท์มือถือ

อาการหาวบ่อยมีปัจจัยทำให้เกิดได้หลายอย่าง ทั้งภาวะสุขภาพ ภาวะทางจิต รวมทั้งโรคทางจิตเวช ซึ่งในส่วนนี้จะต้องให้แพทย์เป็นผู้ให้คำแนะนำในการรักษา แต่หากอาการหาวบ่อยเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น นอนดึก เครียด วิตกกังวลมากเกินไป 

แนะนำให้ปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตเพื่อให้ร่างกายไม่อ่อนเพลียเกินไป และสามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำในทุกๆ วันได้เต็มที่ รวมทั้งควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อให้ร่างกายสดชื่นและตื่นตัว โดยไม่มีอาการง่วงนอนเข้ามาเป็นอุปสรรค

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจการนอนหลับ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @hdcoth หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0