โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

'บทเพลงของขั้วโลก 30 ปี' นักวิทย์แปลงข้อมูลดาวเทียม เป็นเสียงดนตรียาว 6 นาที

Environman

เผยแพร่ 25 เม.ย. เวลา 01.00 น.

ฟังเพลงที่แต่งมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น (ลิ้งก์อยู่ด้านล่าง)

ผลงานนี้มีชื่อว่า ‘No.1 Polar Energy Budget’ โดย ฮิโรตะ นากาอิ นักธรณีวิทยาและนักดนตรีชาวญี่ปุ่น ที่ใช้ข้อมูลของอาร์กติก (ขั้วโลกเหนือ) และแอนตาร์กติก (ขั้วโลกใต้) ซึ่งรวบรวมมาจากดาวเทียมหลายดวง แล้วเปลี่ยนให้กลายเป็นเสียงดนตรีที่มีความยาว 6 นาที เพื่อแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

“ผมมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดไม่เพียงแต่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวบไปถึงระบบนิเวศที่สร้างขึ้นอย่างประณีตของโลกใบนี้ พร้อมกับเรื่องราวทั้งหมด 4.5 พันล้านปีที่อยู่เบื้องหลังสิ่งเหล่านั้น” นากาอิ กล่าว “ผมหวังว่าจะดึงความสนใจไปที่ความซับซ้อนและลำดับอันงดงามของกลไกโลก”

บทเพลงนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร iScience โดยบอกเล่าถึงข้อมูลที่รวบรวมตั้งแต่ปี 1982 ถึง 2022 จาก 4 แห่งที่อยู่ในสองขั้วของโลกนั่นคือ สถานีสังเกตการณ์บนแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ศูนย์บริการด้านการสื่อสารผ่านดาวทีมในหมู่เกาะสวาลบาร์ด และสถานีวิจัยแอนตาร์กติกาอีก 2 แห่ง

ทางนากาอิได้นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้กับโปรแกรม Sonification ซึ่วได้แปลข้อมูลด้านรังสีดวงอาทิตย์ รังสีอินฟราเรดจากชั้นบรรยากาศ อุณหภูมิพื้นผิว ความหนาของเมฆ และการตกตะกอน มาเปลี่ยนเป็นระดับเสียงตนตรีที่แตกต่างกันตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป

เขาเสริมว่าสิ่งเหล่านี้ได้เป็นกลไกการแลกเปลี่ยนพลังงานที่ซับซ้อนของโลก ซึ่งสามารถสร้างผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลกได้ และที่สำคัญพวกมันมีความอ่อนไหวอย่างยิ่ง

“ในขณะที่ความสนใจถูกดึงไปที่ภาวะโลกร้อน กลไกการแลกเปลี่ยนพลังงานที่ซับซ้อนก็อยู่เบื้องหลังสิ่งนี้” นากาอิอธิบาย “เมื่อความสมดุลนั้นถูกรบกวนโดยการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก ความวุ่นวายก็เกิดขึ้น”

ผลงานดนตรีนี้เผยแพร่ในการแสดงสดเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคมปี 2023 ที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และก็ได้เผยแพร่บน YouTube ซึ่งสามารถดูได้ที่ลิ้งก์ด้านล่าง แนวคิดการเปลี่ยนข้อมูลเป็นเสียงนั้นถูกใช้มาอย่างยาวนานในวงการวิทยาศาสตร์ ทาง NASA เองก็ได้ใช้เทคนิคนี้ในด้านข้อมูลที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ รวมถึงกาแล็กซี เนบิวลา และสภาพอากาศด้วยเช่นกัน

นากาอิหวังว่างานของเขาจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่น ๆ เปลี่ยนข้อมูลสภาพอากาศที่มักจะมาจากเครื่องมือเฉพาะทาง ซึ่งเข้าถึงผู้คนทั่วไปได้ยาก ให้เป็นงานศิลปะที่ทุกคนสามารถดูและรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้

“ด้วยการเสนอและสาธิตวิธีปฏิบัติในการสร้างดนตรีจากข้อมูล ผมหวังว่าจะสร้างความตระหนักรู้ถึงทรัพยากรที่ยังไม่ได้ใช้ของข้อมูลวิทยาศาสตร์โลก ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจอันไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับศิลปิน” เขากล่าว

“ผมเชื่อว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำ (ข้อมูล) เข้าสู่กลุ่มผู้ที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ ให้สามารถจัดการข้อมูลธรณีศาสตร์ได้อย่างอิสระเพื่อจุดประสงค์ใหม่ทั้งหมด”

รับชมและรับฟังได้ที่ > https://youtu.be/Tulsx2wt3qU

ที่มา

https://www.cell.com/iscience/fulltext/S2589-0042(24)00844-7

https://www.eurekalert.org/news-releases/1040992

https://www.nationalgeographic.com/…/climate-change…

Photo : Mario Hoppmann

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0