โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

"ห้องน้ำสาธารณะ" แหล่งรวมเชื้อโรค ไขข้อสงสัยใช้แล้วเสี่ยงป่วยหรือเปล่า

PPTV HD 36

อัพเดต 10 ส.ค. 2565 เวลา 13.56 น. • เผยแพร่ 10 ส.ค. 2565 เวลา 23.00 น.
ห้องน้ำสาธารณะแหล่งรวมแบคทีเรียและไวรัส ซึ่งหากร่างกายเรามีภูมิคุ้มกันก็ไม่น่าเป็นกังวล พร้อมแนะวิธีป้องกัน

ถ้าพูดถึงห้องน้ำสาธารณะแล้ว เราต้องยอมรับเลยว่าในแต่ละวันก็มีคนใช้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งถ้าห้องน้ำนั้นไม่ได้รับการดูแลทำความสะอาดอย่างดีอาจจะมีความเสี่ยงในการที่จะได้รับเชื้อแบคทีเรียมาจากห้องน้ำได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และนั่นอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้

การทดลองสุดเซอร์ไพรส์ที่เรา “ไม่เคยรู้”

แจ็ค กิลเบิร์ต นักจุลชีวินวิทยา จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติอิลลินอยด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญที่เคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับปริมาณและชนิดของแบคทีเรียในห้องน้ำสาธารณะยืนยันว่า

3 ความเชื่อผิด ๆ "การล้างจมูก" เผยประโยชน์และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง

ชำระ "โควิด - ฝุ่นพิษ - ภูมิแพ้" ล้างจมูกถูกวิธีช่วยล้างสิ่งสกปรก

ห้องน้ำที่สภาพแวดล้อมเย็น แห้งและสะอาดสะอ้าน ทำให้แบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เป็นเวลานานๆ ผิดกับห้องน้ำที่มีอากาศชื้นและอุ่น รวมทั้งมีเศษอาหารสกปรกตกอยู่ตามพื้นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเหตุให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีและมีชีวิตได้นานกว่า

ทำความรู้จัก “โรคชิคุนกุนยา” ไวรัสพาหะจาก "ยุงลาย"

ความเสี่ยงเกิดโรค… ที่เกิดจากห้องน้ำสาธารณะ

ห้องน้ำสาธารณะถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคอย่างดี โดยเฉพาะเชื้อโรคหลักๆ มีอยู่ 2 กลุ่มคือ

  • เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างเช่น อาการตกขาวเพราะติดเชื้อในช่องคลอด หนองใน เริม
  • เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร อย่างเช่น ท้องร่วง ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ

เพราะฉะนั้นทางที่ดีก่อนเข้าห้องน้ำเราควรเตรียมพร้อม ด้วยการทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องสัมผัสร่วมกัน เพื่อความปลอดภัยและยังช่วยลดความเสี่ยงติดโรคต่างๆ ตามมาได้

ถ้าภูมิคุ้มกันแข็งแรง… ก็สู้กับแบคทีเรียได้

ถึงจะมีหลากหลายงานวิจัยที่ระบุว่า แบคทีเรียที่เกิดขึ้นในบริเวณห้องน้ำ โดยเฉพาะห้องน้ำสาธารณะนั้นจะมีหลากหลายสายพันธุ์ บางส่วนจะเป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในตัวคน และมักพบตามพื้นที่ต่างๆ ในห้องน้ำที่ต้องใช้การสัมผัส เช่น ประตู ที่นั่ง ก๊อกน้ำ ปุ่มชักโครก แต่ถ้าภูมิคุ้มกันของเราไม่ได้อ่อนแอ หรือในร่างกายไม่ได้มีแผลเปิดที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถติดโรคจากคนอื่นที่เราไม่รู้จักได้ง่ายขนาดนั้น

ล้างมือทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ

อย่างที่เคยมีการรณรงค์ให้ล้างมือเป็นประจำ โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของโรคต่างๆ เพราะการล้างมือที่ถูกวิธี (เริ่มจากล้างตั้งแต่มือ แขน และอาจไล่ไปจนถึงข้อศอก และไม่ลืมที่จะทำความสะอาดหลังมือทั้งสองข้างด้วย เวลาถูฝ่ามือก็ไม่ลืมที่จะทำความสะอาดซอกเล็บ ข้อนิ้วและง่ามมือด้วยสบู่และล้างน้ำให้สะอาดทุกครั้ง)

อีกหนทางหนึ่งที่ช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายๆ เช่น แค่กดปุ่มชักโครก ก็อาจทำให้ติดเชื้อจากแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบชนิดเอได้ ถ้าไม่ล้างมือและยังใช้มือเดียวกันนั้นหยิบจับอาหารเข้าปาก แต่ทุกอย่างป้องกันและลดโอกาสเกิดโรคได้ง่าย ๆ เพียงแค่เพียงล้างมือทำความสะอาดบ่อย ๆ เท่านั้น

รู้จักไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A H1N1 ระบาดแล้วในไทย เช็กวิธีการป้องกัน

ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0