โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รอยร้าว ร้าวลึก ฟ้อง พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค บ้านป่า รอยต่อ

MATICHON ONLINE

อัพเดต 17 ส.ค. 2565 เวลา 07.03 น. • เผยแพร่ 17 ส.ค. 2565 เวลา 06.00 น.
p 3-17-865ขึ้นเว็บ

คอลัมน์หน้า 3 : รอยร้าว ร้าวลึก ฟ้อง พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค บ้านป่า รอยต่อ

ประหนึ่งว่าคำบัญชาให้มีการฟ้อง นายสมชัย ศรีสุทธิยากร และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค จะเป็นป้องกันตัว

ป้องกันตัวผ่านกระบวนการ “ปฏิเสธ”

โดยพื้นฐานแล้วก็คือ ปฏิเสธต่อ “การวิเคราะห์” ในลักษณะอันเป็น “การกล่าวหา” จากบุคคลทั้ง 2 ที่จะอยู่ในฐานะ“จำเลย”

คำถามก็คือ 2 คนนี้ “กล่าวหา” อะไร และอย่างไร

คำตอบก็คือ เป็นการกล่าวหาถึง“เงื่อนงำ” อันนำไปสู่สถานการณ์ “สภาล่ม” ซึ่งส่งผลสะเทือนเป็นอย่างสูงในทางการเมือง

คว่ำสูตร 500 หาร นำไปสู่สูตร 100 หาร

คำถามก็คือ อุบัติแห่งสูตร 500 หารซึ่งสวนความต้องการเดิมของร่าง พ.ร.ป.ที่ผ่านวาระหนึ่ง ผ่านวาระกรรมาธิการเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตรงนี้แหละที่ “สำคัญ” และ “ยอกย้อน” ซ่อนเงื่อน

ความยอกย้อนซ่อนเงื่อนซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวาระแรกกับวาระของคณะกรรมาธิการมิได้อยู่นอกเหนือความรับรู้ของสังคม

โดยเฉพาะ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร

ไม่ว่าจะมองจากการเป็น“กรรมาธิการ” ไม่ว่าจะมองจากการเป็นอดีต“กกต.” ไม่ว่าจะมองจากการเป็นประธาน “ยุทธศาสตร์” พรรคเสรีรวมไทย

ไม่ว่าจะมองจากการเคยเป็น“ผู้สมัคร” ของพรรคประชาธิปัตย์

การออกโรงของนายสมชัย ศรีสุทธิยากร เมื่อมองทะลุไปยังเงาของพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส

จึงมากด้วย“คำถาม”

กระนั้น คำถามที่ร้อนแรงและสร้างความหงุดหงิดให้ “บ้านป่ารอยต่อ” มากกว่ากลับเป็นของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค

นี่คือ ความละเอียดอ่อนและอ่อนไหวยิ่ง

ละเอียดอ่อนเพราะว่า 1 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เคยเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และอยู่ในฐานะที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคจึงถือได้ว่า คลุกอยู่ใน “วงใน” อย่างลึก

ยิ่งกว่านั้น เมื่อพ้นจากสมาชิกภาพแห่งพรรคพลังประชารัฐมาแล้วก็ยังดำรงอยู่ในสถานะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

ได้รับความวางใจจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ไม่เพียงแต่มอบหมายงานทางการเมืองให้อย่างต่อเนื่อง หากแต่ยังสร้างความเชื่อว่าเป็น“มือ” หนึ่งในการเดินทาง“การเมือง”

รูปธรรมสำคัญคือ พรรครวมไทยสร้างชาติ

การออกโรงวิพากษ์สถานการณ์“สภาล่ม” การตอบโต้ด้วยการฟ้องร้องจาก “บ้านป่ารอยต่อ” จึงดำเนินไปอย่างมีปฏิสัมพันธ์

เข้าทำนอง “หยิกเล็บ เจ็บเนื้อ”

การฟ้องร้องต่อ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค คือ ตัวอย่างสดๆร้อนๆ สะท้อนความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ “ภายใน” ของ “กลุ่ม 3 ป.”

ดำเนินไปในลักษณะ “สงครามตัวแทน”

เมื่อนำเอาปมและประเด็นแห่งความขัดแย้ง ความไม่พอใจจากทั้ง 2 ฝ่ายประมวลมาดำเนินการสังเคราะห์ก็จะประจักษ์

ประจักษ์ในสภาวะ “เบียดขบ” ในทาง “การเมือง”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0