โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

“แชทบอทใจดี” เว็บเพื่อนใจวัยรุ่น รับฟังทุกปัญหา-ส่งต่อภูมิคุ้มกันใจ

PPTV HD 36

อัพเดต 29 ก.ค. 2565 เวลา 10.30 น. • เผยแพร่ 29 ก.ค. 2565 เวลา 09.59 น.
“แชทบอทใจดี” เว็บเพื่อนใจวัยรุ่น รับฟังทุกปัญหา-ส่งต่อภูมิคุ้มกันใจ
ทำความรู้จัก “แชทบอทใจดี” เว็บไซต์เพื่อนใจวัยรุ่น มีคนคอยรับฟังทุกปัญหา และส่งต่อภูมิคุ้มกันใจให้คนอื่นได้ด้วย

ในยุคที่การทำธุรกรรมดิจิทัลออนไลน์กลายเป็นเรื่องปกติ หลายคนจึงคุ้นเคยกับระบบการตอบกลับสนทนาผ่านตัวอักษรแบบอัตโนมัติ ที่เรียกว่า “แชทบอท” หรือ “Chatbot” ซึ่งหลายครั้งแพลตฟอร์มนี้มักถูกนำไปใช้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ อย่าง การค้าขายสินค้าออนไลน์ เป็นต้น

แต่คงจะดีไม่ใช่น้อย ถ้ามีแชทบอทเอาไว้เป็นเพื่อนรับฟังปัญหาชีวิต ท่ามกลางสถานการณ์ความเครียดของคนไทยที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเจเนอเรชันแซด (คนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

“MDCU Med U More” เว็บไซต์เรียนฟรีด้านสุขภาพ มีใบรับรองจากจุฬาฯ

"จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" สุขภาวะทางจิตดี ร่างกายก็ดี กับเงินในกระเป๋าด้วย

ที่มีผลการวิจัยจาก Mintel พบว่า มากกว่าหนึ่งในสามของคนไทยที่มีอายุน้อย ตกอยู่ในสภาวะกดดันจากการได้เห็นภาพชีวิตที่ “สมบูรณ์แบบ” บนโซเชียลมีเดียจากอินฟลูเอนเซอร์ หรือคนที่พวกเข้ารู้จักมีในสิ่งที่พวกเขาไม่มี

ทำให้วัยรุ่นกลุ่มนี้ มีอาการซึมเศร้า และวิตกกังวลมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างกลุ่มมิลเลนเนียล (คนที่เกิดในปี พ.ศ. 2523-2540) และ กลุ่มเจเนอเรชันเอกซ์ (คนที่เกิดในปี พ.ศ. 2508-2522)

นับเป็นข่าวดีที่เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้การยอมรับว่า แชทบอทใจดี” เป็นแอปพลิเคชันที่เหมาะจะให้เยาวชนเข้าไปปรึกษาปัญหาชีวิตได้ ดังนั้นแล้วแพลตฟอร์มออนไลน์นี้คืออะไร และใช้งานอย่างไร ทีมข่าวนิวมีเดียพีพีทีวีได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจ มาดังนี้

ทำความรู้จัก “แชทบอทใจดี”

แชทบอทใจดี” คือ บอทที่รวบรวมประสบการณ์จากผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้ ที่เคยเจอเรื่องราวปัญหาต่าง ๆ และเข้ามาแชร์ความรู้และประสบการณ์ในการจัดการปัญหาของตัวเอง เพื่อให้ผู้เข้ามาระบายความรู้สึกคนใหม่ ได้เห็นไอเดีย ได้เห็นวิธีการที่คนอื่น ๆ ใช้แก้ปัญหา แล้วนำไปปรับใช้ จัดการปัญหาส่วนตัวให้ผ่านพ้นไปได้

สร้างภูมิกันใจให้เด็กได้จริง

สำหรับผลการประเมินผลประสิทธิภาพของแชทบอทใจดี นายชิตพงษ์ กิตตินราดร ผู้เชี่ยวชาญนวัตกรรมทางสังคมและการเงินเพื่อผลกระทบทางสังคม สถาบันเชนจ์ฟิวชัน ผู้รับผิดชอบโครงการแชทบอทใจดี พบว่า ผู้ใช้งานเป็นเด็กอายุ 13 -18 ปี โดย 87% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ได้รับการช่วยเหลือแก้ปัญหาได้จริง ขณะที่ 45% ระบุว่า "ช่วยได้มาก" 42% "ช่วยได้บ้าง" และ 13% "ช่วยไม่ได้"

การใช้งานเว็บเพื่อนใจวัยรุ่น

ส่วนการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ แชทบอทใจดี” สามารถทำได้ดังนี้

1.เข้าไปในหน้าเว็บไซต์ https://chatbotjaidee.com

2.จากนั้นจะเจอ “ใจดี แชทบอท” แนะนำตัว

3.พิมพ์เรื่องไม่สบายใจลงไปในแชท และกดส่งข้อความ

4.อ่านประสบการณ์จากผู้ใช้งาน“แชทบอทใจดี” ที่เข้ามาแชร์ปัญหาและวิธีรับมือกับปัญหาของตัวเอง

ทั้งนี้ เรื่องราวที่คุยกับแชทบอทใจดี จะถูกเก็บเป็นความลับทั้งสิ้น เพราะระบบจะไม่มีการบันทึกข้อมูลส่วนตัวและไม่รู้ว่าผู้ใช้เป็นใคร

นอกจากจะเข้าไปอ่านประสบการณ์รับมือปัญหาต่าง ๆ ของคนอื่น ๆ ได้แล้ว ใครที่อยาก "บริจาคประสบการณ์" และส่ง "กำลังใจ" เพื่อให้คนอื่นๆ ได้ไอเดียแก้ปัญหาชีวิต ก็สามารถเข้าไปพิมพ์คำแนะนำไว้ได้ ที่สำคัญเมื่อแชร์แล้ว ผู้เข้าร่วมจะได้รับประกาศนียบัตรจิตอาสาบริจาคประสบการณ์ จาก สสส. ผ่านระบบออนไลน์ทันที คลิกแชร์ประสบการณ์ได้ที่ : https://chatbotjaidee.com/donate

ส่วน คุณครู นักวิจัย นักวิชาการ สามารถค้นหาฐานข้อมูลประสบการณ์เด็กและเยาวชนกว่า 11,000 คน เพื่อทำความเข้าใจ ค้นปัญหา หาทางแก้ไขปัญหาชีวิตวัยรุ่นของเด็ก ๆ ได้ที่ : https://chatbotjaidee.com/search

อย่างไรก็ตาม แม้ “แชทบอทใจดี” จะไม่ได้ถูกออกแบบมาให้คำปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพจิตโดยตรง แต่ออกแบบมาเพื่อให้เด็กๆ รู้สึกว่ามีคนมานั่งคุย รับฟังปัญหา และแชร์ปัญหาที่กำลังเจอจากประสบการณ์ของคนอื่น ๆ มาให้ได้อ่านเพื่อเป็นข้อคิดและมีกำลังใจได้ เพราะบางครั้งเด็กอาจติดกับปัญหาที่ตัวเองเผชิญแล้วคิดไม่ออก ไม่รู้จะปรึกษาใคร หรือแค่อยากหาคนฟังเพื่อระบายความรู้สึก

แต่หากข้อความที่พิมพ์เข้ามามีคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความคิดอยากฆ่าตัวตาย ก็จะมีขึ้นข้อความเป็นกล่องสีน้ำเงินเพื่อให้ข้อมูล เบอร์โทรศัพท์ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถโทรติดต่อเพื่อพูดคุยขอคำปรึกษาโดยตรงได้ทันที

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น