โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รวม 10 รายชื่อวรรณคดี และความเป็นเลิศทางการประพันธ์ ประเภทต่างๆ

Campus Star

เผยแพร่ 26 มิ.ย. 2562 เวลา 10.22 น.
รวม 10 รายชื่อวรรณคดี และความเป็นเลิศทางการประพันธ์ ประเภทต่างๆ
แนะนำบทความ รวม 10 รายชื่อวรรณคดี และความเป็นเลิศทางการประพันธ์ ประเภทต่างๆ อาทิ “เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกลอนสุภาพ”

สวัสดีค่ะ ครูพี่โบว์มาตามคำสัญญาแล้วจ้า … บทความที่แล้วน้องๆ ได้รู้แล้วว่า “วรรณคดีกับวรรณกรรมมีความแตกต่างกันอย่างไร” และได้รู้ที่มาของวรรณคดีสโมสรด้วยแล้วนั้น วันนี้ครูพี่โบว์มี “ รายชื่อวรรณคดีและความเป็นเลิศทางการประพันธ์ ” มาฝากน้องๆ กันค่ะ

รวม 10 รายชื่อวรรณคดี และความเป็นเลิศทางการประพันธ์ ประเภทต่างๆ

หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีจากวรรณคดีสโมสร และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดหรือเป็นเลิศทางด้านการประพันธ์ประเภทต่างๆ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปมี 10 เล่ม ได้แก่

  1. “ลิลิตพระลอ” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของลิลิต”

  2. “สมุทรโฆษคำฉันท์” (นิพนธ์โดย พระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของคำฉันท์”

  3. “มหาชาติกลอนเทศน์” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกาพย์”

  4. “สามก๊ก” ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ผู้อำนวยการแปล ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของความเรียงเรื่องนิทาน”

  5. “เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกลอนสุภาพ”

  1. “บทละครเรื่อง อิเหนา” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของบทละครรำ”

  2. “พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของความเรียงอธิบาย”

  3. “หัวใจนักรบ” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของบทละครพูด”

  4. “พระนลคำหลวง” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกวีนิพนธ์”

  5. “มัทนะพาธา” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของบทละครพูดประเภทคำฉันท์”

นอกจากหนังสือทั้ง 10 รายชื่อที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “วรรณคดี” แล้วนั้น ยังมีหนังสืออีกหลายเรื่องที่ต่อมาก็ได้รับการยกย่องเป็นวรรณคดี เช่น “นิทานเบงคอลี” หรือนิยายเบงคลี ซึ่งเป็นผลงานแปลของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป, “สาวเครือฟ้า”, “พระอภัยมณี”, “นิราศนรินทร์” เป็นต้น

น้องๆ คงคุ้นหูกับชื่อวรรณคดีหลายเรื่องข้างต้น เพราะวรรณคดีเหล่านั้นล้วนเป็น “วรรณคดีมรดก” มรดกทางวัฒนธรรมที่กวีผู้สร้างสรรค์ผลงาน ได้เลือกสรรถ้อยคำให้เกิดความงามทางวรรณศิลป์ ก่อให้เกิดสุนทรียภาพ อีกทั้งยังสะท้อนวัฒนธรรม ประเพณี คติ ข้อปฏิบัติต่อสังคม และความเชื่อในแต่ละยุคแต่ละสมัยที่เราสามารถเรียนรู้และนำข้อคิดที่ได้จากเรื่องมาปรับประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน จึงได้มีการบรรจุวรรณคดีเหล่านั้นในหนังสือเรียนวรรณคดี รายวิชาภาษาไทย ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

บทความหน้า ครูพี่โบว์จะมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีแต่ละเรื่อง ส่วนจะเป็นเรื่องไหนบ้าง อย่าลืมติดตามกันนะคะ

https://seeme.me/ch/krubow/kExWGq

link seeme.me/ch/krubow/kExWGq

SEEME.ME : ครูพี่โบว์

บทความแนะนำ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น